รวมสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาและทางแก้ไข (บางส่วน) ที่เจอหลังจากติดตั้ง Windows Phone 8 Update 3 (preview) ในรอบ 12 ชั่วโมง

  1. แยกเสียงเตือนระหว่าง Text/IM, voicemail, email และ remiders ออกจากกันแล้ว
  2. มีระบบ driving mode สำหรับ pair อุปกรณ์แล้วปรับให้ยกเลิกการรับสาย หรือ auto reply text ได้
  3. เพิ่มระบบ screen rotation lock มาใน Settings แล้ว
  4. ปุ่มปิด app ผ่าน app switcher
  5. การกด shift ในคีย์บอร์ดภาษาไทยได้รับการแก้ไขให้ unshift เองอัตโนมัติโดยไม่ต้องกด shift อีกครั้งแล้ว
  6. หลังอัพเดทตัวคีย์บอร์ดทับช่องสนธนาใน Line
    Q: เกิดจากการกะระยะในตัวคีย์บอร์ดกับตัว app ของ Line ผิดพลาดเอง แม้จะปิด Suggest text แล้วก็ตาม
    A: รอ Line แก้ไข เพราะ Skype, Whatsapp, Facebook chat หรือ IM+ Pro ไม่พบปัญหานี้
  7. เพิ่ม Facebook Account ใน Setting ของ Windows phone 8 update 8 แล้วขึ้น error code 0x85fbe196
    Q: เกิดจากตัว Facebook connect ใน Windos Phone 8 update 3 ตัวล่าสุดไม่รองรับ Login Approvals (2-Factor Authentication)
    A: การแก้ไขคือ ไปที่ Security ที่ facebook.com แล้วยกเลิก Login Approvals เสียก่อน แล้วจึงเปิดอีกครั้งหลังจากเพิ่ม Facebook Account และ sync เสร็จสิ้น
    อ้างอิงจาก http://support.microsoft.com/kb/2762064
  8. Connect facebook chat จาก People Hub ไม่ได้!
    Q: ปัญหานี้เกิดจากเปิด battery saver อยู่
    A: ทางแก้ไขคือ ให้ทำการ turn off ตัว battery saver ตามวิธีด้านล่าง
    – ไปที่ settings แล้วเลือก battery saver อยู่ ให้เข้าไปที่ advanced
    – ให้คลิ้กเลือกตัวเลือกอื่นๆ สักตัวแล้ว back กลับมาเพื่อบันทึกค่าใหม่ แล้วกลับไปเลือกเดิมอีกครั้ง
    – แล้วเลือก turn off ตัวเลือก battery saver
    – ทำการ reset เครื่อง 1 รอบ
    – ไปที่ People hub เลือก set chat status เป็น offline แล้ว back บันทึกออกมา แล้วกลับเข้าไปเลือก available อีกรอบ จะ online ได้

ส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้ลองเพราะไม่รองรับเช่น

  1. Tiles แบบ 6 columns (เหมือนยังไม่มีในอัพเดทนี้ หรือไม่ก็เพราะใช้ได้เฉพาะจอ 1080p ซึ่งยังไม่มีตัวไหนในตลาดมี)
  2. Screen reader บน Mobile Accessibility for Windows Phone 8
  3. Internet Sharing ที่ pair ผ่าน Bluetooth

SD Card slot inteface ของ Raspberry Pi ความเร็วสูงสุดที่รองรับเพียง 22MB/s

อยากทำให้ Raspberry Pi  มันอ่านเขียนเร็วขึ้น ก็เลยไปจัด Sandisk Ultra SDHC Class 10, 16GB speed 30MB/s (200x) กับ  Sandisk Extreme SDHC UDS-I Class 10, 16GB speed 80MB/s (533x) มาใช้งานบน Raspberry Pi ลองดูว่ามันจะเร็วขึ้นไหม

* Sandisk Ultra SDHC Class 10, 16GB ตอนนี้ราคาประมาณ 500 บาท ส่วน Sandisk Extreme SDHC UDS-I Class 10, 16GB ราคาตอนนี้ประมาณ 1,300 บาท ห่างกันพอสมครร

1233367_10151838452185275_2132138028_n

ผลสรุปคือว่ามันตันที่ SD Slot inteface ที่ทำได้ไม่เกิน 22MB/s อ่านได้ประมาณ 19-22MB/s เขียนได้ที่ 17-20MB/s ซื้อตัวแพงกว่ามาก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะทั้งสองตัวทำผลการทดสอบได้เกือบจะเท่ากันในทุกการทดสอบ ในบางการทดสอบ Sandisk Ultra ทำได้ดีกว่าบางครั้ง สรุปมันก็ขึ้นๆ ลงๆ ไม่ต้องไปซื้อแพงกว่ามาใช้หรอก มันได้ผลเท่ากันเลย เสียดายตัง ><“

command ref:
Write dd if=/dev/zero of=test.tmp bs=500K count=1024
Read hdparm -Tt /dev/mmcblk0

WP_20130922_20_53_53_Pro

รีวิวเรื่อยๆ กับ LG Optimus G Pro

วันนี้มาพูดถึง LG Optimus G Pro ที่ได้ลองใช้อยู่ประมาณเกือบๆ เดือนกันครับ แต่กว่าจะคลอดตัวรีวิวนี้ออกมาก็ใช้เวลาอีกเดือน (เพราะหน้าที่การงานนั้นเยอะมาก) วันนี้เรามาดูกันว่าเจ้า LG Optimus G Pro เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับรีวิวของทีมงานก็มีที่ รีวิว LG Optimus G Pro จอใหญ่ สเปคดี ฟีเจอร์เยอะ แบตอึด ที่รีวิวไปล่วงหน้าแล้ว

DSC_6106

LG Optimus G Pro ได้ชื่อว่าเป็ย “แฟ็บเล็ต” (Phablet) ตัวหนึ่งในตลาดระดับบน โดยเจ้าแฟ็บเล็ตเป็นชื่อเรียกอุปกรณ์ที่มีความสามารถแบบ “สมาร์ตโฟน” กับ “แท็บเล็ต” โดยมีขนาดหน้าจอระหว่าง 5 ถึง 7 นิ้ว

DSC_6073

DSC_6102

DSC_6104

วัสดุของ LG Optimus G Pro เป็นพลาสติกแบบมันวาว ฝาด้านหลังเป็นจะเห็นลายกราฟฟิคระยิบระยับเวลาสะท้อนกับแสงไฟแบบเดียวกับ LG Nexus 4 รุ่นที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ซึ่งงานประกอบค่อนข้างดีมาก รอยต่อต่างๆ ทำได้ดี ไม่มีอาการยวบให้เห็นในระหว่างการจับถือ เส้นสายการออกแบบค่อนข้างให้ความกระชับและดูดีมากเวลาจับถือ

ส่วนที่ติดใจและค่อนข้างรู้สึกไม่ค่อยชอบคือความมันวาวของมันมีปัญหาในการใช้งานไปนานๆ จะเป็นรอยนิ้วมือและดูเก่าลงไป ต้องคอยเช็ดทำความสะอาดให้มัมวาว ซึ่งค่อนข้างลำบาก ไปเสียหน่อย

เจ้าหูฟังที่แถมมาในกล่องนั้นมีชื่อเรียกว่า LG QuadBeat โดยคุณภาพเสียงไม่ธรรมดาให้ก็ไม่ธรรมดา ให้เสียงใสดี กลางเด่น และเบสกลางๆ ใส่สบายไม่รู้สักหนัก เหมาะกับคนต้องการพักผ่อนและไม่เหมาะกับคนเอาไปฟังเพลงที่เบสหนักๆ แต่ในความคุ้มค่าของของแถมนั้นมีคนบอกว่า “LG QuadBeat เป็นหูฟังแถมสมาร์ทโฟนที่ดีที่สุดในตอนนี้”

DSC_6074

ด้านล่างของตัวเครื่องใช้ micro USB เป็น connector ตามมาตรฐาน Open Mobile Terminal Platform (OMTP)

DSC_6077

ในส่วนของช่องต่อหูฟังเป็นแบบ 3.5mm ตามปรกติ ไม่มีแตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ แต่ส่วนที่ดูแปลกจากยี่ห้ออื่นคือ Infrared port (IR) เพื่อสามารถใช้งาน remote แบบเดียวกับที่ใช้ใน TV หรือ DVD Player ได้

DSC_6080

ปุ่มกดปลดล็อคเครื่องอยู่ในตำแหน่งนิ้วโป้งเวลาจับที่มือขวาพอดี

DSC_6081

ในการถอดฝากหลังมีร่องในการค่อยๆ แงะฝาหลังออกมา เพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่, เปลี่ยนซิมการ์ด และเพิ่มหน่วยความจำชนิด micro SD ได้

DSC_6116

DSC_6123

โดยเจ้า LG Optimus G Pro นี่เป็น มือถือที่ให้จอภาพระดับ Full HD (Resolution 1920 x 1080 pixel) ที่ขนาด 5.5 นิ้ว ทำให้มีความหนาแน่นของ pixel ถึง 400 PPI โดยตัว Panel จอภาพเป็น IPS แน่นอนว่าสมัยนี้หน้าจอสัมผัสต้องเป็น Capacitive touchscreen และมาพร้อมกับ Corning Gorilla Glass 2 แน่นอนตามความนิยมของตลาด ซึ่งมีมาให้ครบเลย

ถ้าให้พูดความรู้สึกต่อจอภาพของ LG แล้วนั้น ส่วนตัวไม่ผิดหวัง และสีสันที่ให้มานั้นค่อนข้างสบายตามาก สีมันไม่จัดจนรู้สึกรำคาญต่อการใช้งาน แม้จะเปิดแสงสว่างสุดก็ตามที มุมมองการแสดงผลค่อนข้างดี

ในส่วนของไฟแสดงผลที่ปุ่มนั้น ค่อนข้างชอบมาก เพราะมันเปลี่ยนสีสันได้หลากหลาย ปรับแต่งให้ใช้สีที่แตกต่างกันเพื่อแจ้งเตือนที่หลากหลายรูปแบบ ยี่ห้อื่นๆ ควรทำตามนะ แต่ติดที่ปุ่มเป็นแบบปุ่มจริงๆ เมื่อไม่ใช่แบบทัชก็ต้องทำให้ปุ่มนั้นแข็งเพื่อป้องกันการกดโดยไม่ต้องแต่ ใจก็มาซึ่งการกดลงที่ยากและลึกกว่าปรกติ เวลาใช้จะค่อนข้างรู้สึกรำคาญ แต่ส่วนตัวชอบแบบทัชมากกว่า เพราะง่ายในการใช้งาน และน่าจะไม่มีปัญหาปุ่มพังเมื่อใช้งานไปนานๆ

DSC_6128

ในด้านของ UI ไม่มีอะไรแตกต่างจาก LG Optimus รุ่นเก่าๆ นัก

Screenshot_2013-08-13-09-21-09 Screenshot_2013-08-13-09-50-44

Screenshot_2013-08-13-00-29-05 Screenshot_2013-08-13-00-29-13

การตอบสนองของตัว UI ค่อนข้างดี เร็ว และไม่กระตุกเลย

Screenshot_2013-08-13-09-21-34 Screenshot_2013-08-13-09-21-48

ในส่วนของ Miracast ที่เป็นฟังค์ชันในการ Stream และจอเข้า TV มีมาในตัวเครื่องและ Settings

Screenshot_2013-08-13-09-22-28 Screenshot_2013-08-13-09-22-32

สำหรับใครที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ remote อยู่มากมาย LG Optimus G Pro มีความสามารถในการทำตัวเป็นรีโมทมาให้ และรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องเล่นมัลติมีเดียมากมาย ทั้งเก่าและใหม่ แม้แต่ TV อายะ 20 ปีก็ยังใช้งานได้ โดยทดสอบลองกับทีวีและเครื่องเล่น Blu ray ที่บ้านแล้วทั้ง Phillips, Samsung และ LG

Screenshot_2013-08-13-09-23-08 Screenshot_2013-08-13-09-23-14

Screenshot_2013-08-13-09-23-22  Screenshot_2013-08-13-09-23-34

ในส่วนของ app ที่มากับเครืองนั้น ที่ชอบมาก และรู้สึกว่ามีประโยชน์เมื่อใช้กับจอภาพขนาดใหญ่ๆ คือ QSlide 2.0 ที่สามารถใช้กับ app ที่รองรับกับ QSlide เพื่อทำงานหลายๆ หน้าต่างในการใช้งานหน้าจอเดียวแบบบน PC ตามปรกติ

Screenshot_2013-08-13-09-45-29 Screenshot_2013-08-13-09-45-39

สุดท้ายก็ปิดท้ายด้วยคะแนนการ Bechmark ครับ ซึ่งจากคะแนนแล้ว ดูจะน้อยกว่าที่คาด แต่ส่วนตัวไม่ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะทดสอบแบบเปิด app ที่ทำงานเบื้องหล้งเยอะมาก และตัวที่ขายจริงก็ทำคะแนนได้ดีกว่าที่ผม Bechmark ไว้ในตอนทดสอบอยู่พอสมควรครับ

Screenshot_2013-08-13-00-31-10 Screenshot_2013-08-13-00-31-31

Screenshot_2013-08-13-00-29-50 Screenshot_2013-08-13-00-30-01

Screenshot_2013-08-13-00-30-07 Screenshot_2013-08-13-00-30-42

สำหรับในด้านของการใช้งานกล้อง ส่วนที่เป็นความสามารถของ app ที่น่าสนใจสำหรับผู้รีวิวคือ duo screen ที่สามารถถ่ายภาพและวิดีโอได้พร้อมกันแล้วใส่ลงในตัวภาพและวิดีโอได้ทันที

CAM00018

สำหรับตัวการถ่ายรูปนั้น ส่วนตัวคิดว่าใช้งานได้ดี และไม่หนีกับคู่แข่งมากนักจนรู้สึกเด่นอะไรครับ

CAM00001

Normal mode VS HDR mode

CAM00027 CAM00028

CAM00036

CAM00037

IMG_20130802_233624

Normal mode VS HDR mode

CAM00019 CAM00020

สุดท้ายโดยรวมถือเป็นมือถือที่เด่นในเรื่องของจอภาพใหม่ แสดงผลได้ที่สบายตา หูฟังที่แถมมาให้ค่อนข้างดี app พื้นฐานที่ใส่มาให้ในเครื่องค่อนข้างดี ซึ่งเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่ชอบความยุ่งยากในการต้องหา app มาใช้งานเพิ่มเติม อีกทั้งในปัจจุบันราคาของตัวเครื่องค่อนข้างดีและเหมาะสมกับการซื้อหามาใช้อย่างมาก

Techspec Optimus G Pro (E988)

  • CPU Qualcomm Snapdragon 600 (1.7GHz Quad-Core Processor)
  • GPU Adreno 320
  • RAM 2 GB
  • Storage 16 GB (User memory 10.5 GB)
  • Display 5.5 inch Full HD (1920 x 1080) IPS Display Capacitive touchscreen with Corning Gorilla Glass 2
  • Network 2G Quadband (GSM 850/900/1800/1900), 3G 900/2100 MHz (HSDPA, 42 Mbps)
  • WiFi Wi-Fi 802.11 a/b/g/n, Wi-Fi direct, DLNA technology
  • Bluetooth 4.0
  • NFC
  • Accelerometer sensor
  • Proximity sensor
  • Infrared port
  • Back camera 13MP (Image stabilization, Face detection, Auto focus, VR panorama, Flash LED)
  • Front camera 2.1MP
  • Connector microUSB USB 2.0
  • Expandable Memory  microSD, up to 64 GB
  • Earphone 3.5mm headset
  • OS Android v4.1.2 (Jelly Bean)
  • Battery 3,140 mAh
  • Weight 174 g
  • Size 150.2 x 76.1 x 9.4 mm

ความสามารถใหม่บางส่วนและลอง Windows 8.1 RTM จนได้เรื่อง ใจไม่พร้อมอย่างเพิ่งลอง update จาก RTM !!

เมื่อวานได้ดาวน์โหลดตัว Windows 8.1 RTM ที่เป็น ISO มาจาก MSDN ซึ่งเพิ่งเปิดให้ดาวน์โหลดได้ไม่ถึงวัน ก็เลย “ลองของ” สักหน่อย

ไม่ยากอะไร บน Windows 8 Pro ก็แค่ mount ISO แล้ว double click setup.exe แล้วก็กรอก CD-Key ของ Windows 8 Pro ที่ใช้อยู่ตอนนั้น แล้วกด Accept/OK!!!

2013-09-12_161943

Next แล้วเลือก keep personal files แล้วก็กด Next เสร็จแล้วก็นั่งรอ Restart อยู่ 3-4 รอบ …..

แหม่… มันช่างสะดวกอีกจริงๆ จิบน้ำ 10-15 นาที แล้วก็โผล่มาให้ Setup โน้นนี่ เหมือนตอนลงใหม่เลยวุ้ยยยย อืมๆๆ ดีๆ คงต้องตั้งค่าใหม่แหละมั้ง

ตูม!!!!

Untitled

เหลืออยู่ประมาณนี้!!!

ตอนนั้นช็อคมาก พื้นหลังก็เปลี่ยน ไม่มี Lenovo System update ด้วย App/Program หายหมด!!!

ชิบหายแล้ว ><”

ทุกอย่างหายหมดจริงๆ ครับ!!!

พอเข้ามาใน drive C: ทุกอย่างที่เป็น Windows 8 Pro เก่ามันไปอยู่ใน Windows.old ทั้งหมด!!!

image

แถม Program Files ที่เป็น 64bit ไม่มีด้วย

image

เอาวะ เออ อย่างน้อยๆ Account Profile ของ Windows ยังอยู่ครบ AppData ค่า settings ส่วนใหญ่ยังมีอยู่

ดีนะที่ data file อยู่ที่ driver D: เลยไม่มีความเสียหายอะไรเท่าไหร่ นอกจาก App/Program ต้องมาไล่ลงใหม่

image

ก็เลยต้องมานั่งลงโปรแกรมใหม่หมดเครื่อง กว่าจะครบก็ปาไปเกือบวัน งานการไม่ต้องทำ เสียเวลานั่งลงใหม่ ><”

ไหนๆ ก็ไหนๆ พาทัวร์สักหน่อย หลังจากเล่าถึงนรกมาสักพัก

2013-09-13_143106

ส่วนที่เปลี่ยนแปลงคือหน้า Windows 8 UI ที่เปลี่ยนแปลงไปพอสมควร ขนาดของ Tiles มีเพิ่มมาเป็น 4 ขนาด ก็ดีนะ ไม่ใหญ่เกินไป อันไหนไม่มีข้อมูลบน Tiles ก็จัดให้มันเล็กๆ อันไหนข้อมูลมีเยอะก็ใช้อันใหญ่ ดูมีประโยชน์มากขึ้น แถมหา App/Program ได้ง่ายขึ้น

ส่วนแรกที่หลายคนอยากรู้ Start Button!!!

ไม่มีอะไรมาก ถ้ากดจากหน้า Desktop ก็เข้าหน้า Start Screen

image

และกดจากหน้า Start Screen จะเข้าหน้า Desktop

image

คลิ้กขวาที่ Start Button มีเมนูและความสามารถเข้าถึงได้เยอะขึ้น

image

สิ่งที่หลายคนรอคอยมาแล้ว!!! ตัวเลือกในการข้ามหน้า Start Screen เข้าสู่ Desktop mode ได้ทันทีหลัง login เข้าเครื่อง!!

image

ส่วนของการค้นหาเปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่ Sidebar แทนแล้ว ดูดีขึ้น (น่าจะทำตั้งแต่แรกแล้วนะ)

image

ปุ่ม all App เปลี่ยนที่อยู่ใหม่ หาง่ายขึ้น ใช้ง่ายขึ้น และเข้าถึง all App ได้ง่ายขึ้น

กดที่ซ้ายมือล่าง ตัว Start Screen จะเลื่อนขึ้นแล้ว all App จะเลื่อนตามขึ้นมา

image10

พอคลิ้กที่จุดเดียวกัน all App จะเลื่อนลง และ Start Screen จะเลื่อตามลงมา ดูดี และเหมาะสมดีมาก

image

หน้าตา PC Settings ดูดีขึ้น มีฟังค์ชั่นให้ตั้งค่าเพิ่มมากขึ้น

image

รองรับการเข้าระบบด้วย Fingerprint ได้ทันทีจากหน้า PC Settings

image

การตั้งค่า devices ต่างๆ มีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้นและจัดการได้เกือบทั้งหมดที่เป็นพื้นฐาน (ยังมีบางส่วนที่กลับไป Control Panel แต่หลักๆ ถ้าไม่ใช่ Power user ก็ไม่ต้องเข้าไปใน Control Panel เลย)

image

ระบบ Windows 8.1 ติดตั้ง SkyDrive มาให้พร้อมและรองรับทั้งบน Windows 8 UI และ Desktop mode โดยไม่ต้องติดตั้ง Program ที่โหลดมาต่างหากจาก SkyDrive เพิ่มเติมแล้ว

image

image

การส่วนของ Recovery แยกต่างหากออกมาอย่างชัดเจน เข้าถึงง่ายมากขึ้น

image

ส่วนของการเชื่อมต่อ Wireless และ Mobile Network มีปุ่มเปิดปิดมาให้พร้อมเลย (แต่ Bluetooth แยกไปต่างหากอยู่)

image

ใน File Explorer ส่วนของ Libraries ถูกปิดมาเป็นค่าเริ่มต้น ต้องไปเปิดที่ Navigation pane เพิ่มเติม แต่แน่นอนว่าไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่ เพราะส่วนหลักๆ ถูกย้ายมาอยู่ This PC แล้ว

image

ยังมีความสามารถอีกมากที่เปลี่ยนแปลงไปใน Windows 8.1 RTM ถ้ามีเวลาจะมาเล่าให้ฟังอีกครับ …..

image

Windows Experience Index หายไป (จริงๆ มันหายไปตั้งแต่ 8.1 Preview แล้ว)

2013-09-13_163434

ทิ้งท้าย ผมยังไม่พบ Option ให้เพิ่ม account ของ Google เพื่อ sync ตัว Contact และ Calendar ใน Windows 8.1 ที่สนับสนุน CardDav และ CalDav แต่อย่างใด สำหรับ Mail ใน Windows 8.1 นั้นมี option ให้เพิ่ม account ของ Google แต่ใช้งานผ่าน IMAP/SMTP แทน Microsoft Exchange ActiveSync (EAS)

image

แสดงความคิดเห็นหรือทำผลสำรวจก็อาจโดนฟ้องร้องได้

จากข่าว Owner of America’s ‘dirtiest’ hotel loses TripAdvisor lawsuit เป็นข่าวมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนที่แล้ว (28 สิงหาคม 2556) พอดีว่าเพื่อนเพิ่งส่งมาให้ออกความคิดเห็น แน่นอนว่าถ้าออกความคิดเห็นในส่วนนี้เพียงส่วนเดียวก็ดูจะจำกัดกรอบเกินไป เลยขอให้ความเห็นโดยทั่วไปและพยายามครอบคลุมในส่วนที่ตัวเองก็ได้ทำอยู่ในชุมชนและเป็นสื่อที่เสนอความคิดเห็นอยู่ใน blog ตัวเองเช่นกัน

จากข่าวต้นเรื่องนั้นขอสรุปสั้นๆ ว่า

เว็บ TripAdvisor ซึ่งเป็นเว็บไซต์ท่องเที่ยวชั้นแนวหน้าของโลก ได้ออกแบบสำรวจโรงแรมที่สกปรกที่สุดในสหรัฐอเมริกา จนอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงแรม Grand Resort Hotel and Convention Center ในพิเจน ฟอร์จ (เทนเนสซี) ต้องถูกปิดตัวลงเนื่องอาจได้รับผลกระทบจากการทำแบบสำรวจนั้น เพราะโรงแรมดังกล่าวได้อันดับหนึ่งในผลสำรวจ ซึ่งทำให้โรงแรมดังกล่าวออกมาฟ้องร้องต่อ TripAdvisor ในจำนวนเงินกว่า 10 ล้านเหรียญ ด้วยคำร้องกล่าวโทษว่า เว็บข้างต้นเป็นผู้ชี้นำและเป็นสาเหตุให้จำนวนผู้เข้าพักลดลงจนต้องปิดตัวในที่สุด

สุดท้ายศาลมีความเห็นแย้งต่อคำร้องนั้นด้วยเหตุผลว่า เว็บไซต์ TripAdvisor นั้นได้รับการปกป้องตามบทบัญญัติว่าด้วยรีวิวที่ผู้อ่านเป็นผู้สร้างขึ้น (that website operators get broad protection from lawsuits over reader-generated reviews.) และเนื้อหาสาระที่ได้ลงไปในรีวิวที่ผู้อ่านสร้างขึ้นนั้น เป็นเนื้อหาไม่ได้แสดงว่าในความเป็นจริงแล้วตัวโรงแรมนั้นสกปรกที่สุดในสหรัฐอเมริกาแต่อย่างใด

แน่นอนว่าระบบกฎหมายของอเมริกาเป็นระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) ที่ยึดโยงแนวคิดและให้ความสำคัญกับจารีตประเพณี โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่างๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้น ซึ่งก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาดในคดีถัดไป ส่วนระบบกฎหมายของไทยเป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ที่ยึดหลักแนวคิดให้ตรงตามตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ และคำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานในการอ้างอิง ดังนั้นวิธีคิดของการตัดสินของ TripAdvisor ในประเทศสหรัฐอเมริกาอาจจะใช้แนวคิดที่แตกต่างกันในประเทศไทย เพราะคำตัดสินในสหรัฐอเมริกายึดโยงกับคำตัดสินในคดีความเก่าๆ ที่ใกล้เคียงกัน มากกว่าตัวบทกฎหมายในขณะนั้น

ซึ่งจากข่าวข้างต้นถ้านำมาเปรียบเทียบกับตัวบทกฎหมายของประเทศไทยได้ในบทการหมิ่นประมาท ซึ่งจะมีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้

โดยฐานละเมิดตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 423 คือ ผู้กระทำได้กล่าว หรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความที่ขัดต่อความเป็นจริง เป็นผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ

สำหรับในด้านประมวลกฎหมายอาญา อยู่ 2 มาตรา

มาตรา 326 คือ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

แน่นอนว่าในมาตรา 329 ได้ระบุเรื่องว่า “ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต” ไว้อย่างน่าสนใจเพราะเป็นข้อยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทในประมวลกฎหมายอาญา

โดยการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเป็นลักษณะการแสดงความคิดเห็นที่ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง หรือเจตนาทำลายความเชื่อถือของผู้อื่น

มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

แน่นอนว่าโดยทั่วไปแล้วนั้นถ้าเกิดเป็นการนำเสนอความคิดเห็นต่างๆ ในเว็บไซต์ต่างๆ และมีคดีความฟ้องร้องกันเกิดขึ้นมักจะฟ้องร้องบนฐานความผิดในมาตราที่ 328 หรือ “หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา” เพราะเป็นความผิดที่ครอบคลุมการทำงานของอินเทอร์เน็ตได้ชัดเจนที่สุด เพราะรูปแบบของอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นรูปแบบที่ว่าด้วยการโฆษณาเผยแพร่ซึ่งทำให้กระจายภาพ เสียง และตัวอักษรได้ไปได้ทั่วโลกผ่านสื่อต่างๆ ข้างต้น และแน่นอนว่าโทษก็ยังหนักที่สุดด้วย

ซึ่งโดยเนื้อหาสาระจากข่าวข้างต้นนั้น ในคดีความในประเทศไทยก็มีตัวอย่างเช่น ไทยคลินิกดอทคอมเปิดใจหลังถูกยื่นฟ้องหมิ่นประมาททางเน็ต โดยคุณวันฉัตร ผดุงรัตน์ เจ้าของเว็บไซต์พันธ์ทิพย์ดอทคอม (www.pantip.com) ได้ให้ความเห็นกับกรณีนี้ว่า

สื่ออินเทอร์เน็ตมีความแตกต่างจากหนังสือพิมพ์ เพราะทุกบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์นั้น เป็นบทความของเจ้าหน้าที่ในสังกัด ซึ่งบรรณาธิการต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่เว็บบอร์ดเป็นสถานที่ที่ใครก็เข้ามาเขียนได้ตลอดเวลาแม้กระทั่งตอนที่ผู้ดูแลเว็บไซต์กำลังนอนหลับ

สำหรับความเห็นส่วนตัวแล้วนั้น ส่วนที่ต้องตีความและนำไปสู่การฟ้องร้องได้หรือไม่ได้นั้น อยู่ที่วิธีการนำเสนอความคิดเห็น และพิสูจน์ว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายมาตราที่ 329 หรือไม่เสียก่อน เมื่อสามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ก็ไม่สมควรเป็นความผิดต่อการที่ผู้นั้นแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นออกไป และแน่นอนในชั้นการฟ้องร้องฝ่ายโจทย์หรือผู้กล่าวหาต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า การแสดงความคิดเห็นที่ตนได้รับผลกระทบเหล่านั้น กระทำโดยไม่สุจริต ได้รับผลกระทบหรือมีเบื้องหน้าเบื้อหลังที่นำไปสู่ความไม่สุจริตต่อการแสดงความคิดเห็น มิใช่ตัวจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้แก้ต่างต่อข้อกล่าวหาเพียงฝ่ายเดียว เผื่อไม่ให้เกิดการใช้ศาลเตี้ย หรือใช้สื่อในการตัดสินไปก่อนที่จะได้รับคำตัดสินอันเป็นที่สุดของศาล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ถูกกล่าวหาที่จะได้ความเป็นธรรมต่อสังคมโดยรวมด้วย

โดยจากคดีข้างต้น (TripAdvisor) ก็อาจจะเข้าข่ายมาตร 328 “หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา” ในเบื้องต้น แต่แน่นอนว่าผู้ให้บริการอาจจะเข้าข่ายตาม “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550“ แล้วนั้นมีความผิดร่วมกับจำเลยเช่นกัน

มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ โดยมีบทลงโทษคือจำคุกไม่เกิน 5 ปี โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

แต่แน่นอนว่าในขณะนี้ยังไม่มีตัวบทที่ช่วยให้ผู้ให้บริการพ้นผิดจากเหตุการณ์นี้ได้ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเป็นผู้ให้บริการเว็บบอร์ด และชุมชนที่มีคนมากหน้าหลายตาเข้ามาในเว็บอยู่มากมายในการเสนอความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งมุมของผู้ให้บริการแล้วนั้น จะมีช่องทางในการติดต่อซึ่งเป็น “หลักการแจ้งเตือนและเอาออก (Notice and Takedown)” ที่สากลนั้นทำกันเป็นปรกติเพื่อป้องกันให้ผู้บริสุทธิ์ได้รับการคุ้มครอง เพราะฉะนั้นส่วนตัวค่อนข้างเห็นด้วยในตัวปัญหาบางประการซึ่งได้กล่าวไว้ใน คู่มือพลเมืองเน็ต: เข้าใจเน็ต และใช้เน็ตให้ปลอดภัย ที่ว่า

ปัญหาหลักของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ที่ควรถูกแก้ไข คือ

  • ต้องมีการยกเว้นสำหรับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายถึงกระบวนการเจาะระบบ หรือการส่งต่อโปรแกรมเหล่านี้ที่ผู้ใช้ไม่ควรตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูก ดำเนินคดี
  • ความผิดที่ซ้ำซ้อนกับความผิดในกฎหมายอื่น ไม่ควรมีอยู่ใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ อีก การกำหนดความผิดที่ซ้ำซ้อนสร้างความสับสนให้ประชาชนโดยไม่จำเป็น หลายกรณีใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ กลายเป็นการเพิ่มโทษให้กับความผิดเดิมที่มีอยู่แล้วอย่างไม่มีเหตุผล
  • ผู้ให้บริการหรือตัวกลางอื่นๆ ต้องมีหน้าที่ที่ชัดเจน และปลอดภัยจากการรับผิดหากทำตามหน้าที่ได้ครบถ้วน

การให้บริการในอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ บริการที่ให้บริการคนจำนวนมาก เช่น อินสตาแกรม ยูทูบ เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ มีจำนวนผู้ดูแลน้อยกว่าจำนวนผู้ใช้ที่มีหลายหมื่นจนถึงหลายล้านเท่า ตัวอย่างเช่น อินสตาแกรมนั้นมีพนักงานเพียง13 คนแต่มีผู้ใช้ถึง 50 ล้านคน จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะสอดส่องข้อมูลทุกอย่างที่ผู้ใช้โพสต์ลงในระบบตลอด เวลา กฎหมายคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศได้คำนึงถึงข้อจำกัดข้อนี้ และได้คิดหลักวิธีดูแลเนื้อหาอย่างเข้าใจในข้อจำกัดนี้ หลักการนี้เรียกว่า หลักการแจ้งเตือนและเอาออก (Notice and Takedown)

หลักการแจ้งเตือนและเอาออก คือ การกำหนดให้ผู้ให้บริการมีภาระต้องหยุดการเผยแพร่เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย หลังจากที่ได้รับการแจ้งจากเจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่ได้กำหนดไว้ หากหยุดเผยแพร่ได้ภายในกำหนด จะถือว่า ไม่มีความผิด แต่หากเกินกำหนด ก็อาจเป็นความผิด

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปัจจุบันไม่มีข้อกำหนดเหล่านี้ จึงทำให้ผู้ให้บริการตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดี จากเนื้อหามากมายที่ถูกสร้างขึ้นผ่านตนเองอยู่ตลอดเวลา ผู้ให้บริการหลายรายจึงต้องหาทางลดความเสี่ยงจากความไม่มีหลักเกณฑ์ที่ ชัดเจนเช่นนี้ โดยการลดช่องทางในการให้ผู้ใช้ผลิตเนื้อหา หรือทำให้การผลิตเนื้อหาเป็นไปอย่างยากลำบาก และมีข้อจำกัดมากขึ้น หรือปิดช่องทางผลิตเนื้อหาโดยผู้ใช้ไปเลย

การปล่อยให้อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่และศาลทำให้ผู้ให้บริการหลาย รายถูกดำเนินคดี หลายครั้งที่ผู้ให้บริการเป็นเพียงบุคคลธรรมดาที่ทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะ ดำเนินการต่อสู้คดีในชั้นศาลได้ ทำให้ต้องเลิกให้บริการไปโดยปริยายเมื่อถูกดำเนินคดี

ซึ่งตามรูปแบบนี้บทกฎหมายของประเทศไทยแล้วคดีความของ TripAdvisor อาจจะกลายเป็นเว็บ TripAdvisor ถูกตัดสินให้ได้รับความผิดร่วมกับผู้แสดงความคิดเห็นอื่นๆ ร่วมด้วยก็เป็นได้เพราะตัวเนื้อหาสาระในชุดคำถามและความคิดเห็นในหัวข้อดังกล่าวนั้นมีความสุ่มเสี่ยงต่อความผิดฐานหมิ่นประมาทอย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งนั้นเท่ากันปิดกั้นและทำให้การเสนอความคิดเห็นที่หลากหลายนั้นถูกจำกัดอยู่ในวงจำกัดและไม่เป็นธรรมไปในทันที