Service Provider ที่ไม่ Service

วันนี้หงุดหงิดมาก ช่วงเย็นเพราะต้องเอา Lenovo IdeaTab A3000 ไปเคลมที่ Service Provider ของ Lenovo ที่ Fortune เหตุผลที่ไปที่นี่เพราะเปิดหลังเวลาแน่นอน เนื่องจากเป็น Lenovo Shop ฉะนั้นอย่างน้อยๆ 2 ทุ่มก็คงเปิดแน่ๆ

แน่นอนก่อนไปต้องเช็คแล้วว่าเป็น Service Provider แน่นอน ต้องทำการบ้านสักหน่อย เปิด http://mobilesupport.lenovo.com/us/en/service-provider ตรวจสอบ เป็นไปตามข้อมูล (รูปภาพ) ผมจึงเข้าไป แน่นอนว่าสภาพบ้านเมืองแบบนี้ ผมเลยต้องขึ้น BTS ไปลงหมอชิตแล้วต่อ MRT ย้อนกลับมาที่พระรามเก้า เพราะถ้านั่งลงอโศกคนจะเยอะมาก อาจไม่ทัน 2 ทุ่ม พอถึง Lenovo Shop ซึ่งมีอยู่ในรายชื่อ Service Provider ก็บอกเจ้าหน้าที่ว่ามาเคลม Tablet พอดีจอภาพมีปัญหา คือผมดูในเว็บนะครับว่าเค้าบอกเลยว่า Support Product “Tablet” ผมไม่ได้มาอ้างอิงผิดๆ แน่ๆ สรุปเจ้าหน้าที่แจ้งว่าถ้าไม่ใช่สินค้าที่ซื้อกับทางร้าน คงไม่รับเคลม เพราะไม่อยากรับผิดชอบ และอาจจะเคลมช้า เดี่ยวโวยวายกับ Shop ผมก็แบบ หงุดหงิดมาก แต่พยายามนิ่งๆ ผมก็ “เหรอๆๆ” ผมก็บอกว่า ช้าไม่เป็นไร ไม่ได้รีบอะไร แต่ก็ยังได้รับคำตอบว่าไม่รับเคลมนะ ต้องไปเคลมที่ ศ. IBM อารีย์ แทน ผมก็ อืมมมม คิดในใจว่า “นี่ตูอ้อมโลก มาเคลมได้คำตอบแค่นี้เนี่ยนะ” ผมก็เลยหยิบ Tablet แล้วเดินออกมา คือไม่ได้อะไร เค้าไม่เคลมผมก็ไม่ง้อ เดี่ยวคงไปเคลม ศ. IBM อารีย์ แทน ทำตามคำแนะนำ และผมบอกเลยว่าต่อไปจะพยายามไม่ซื้อของ Lenovo อีก! คือไม่ไหวแล้วจริงๆ ThinkPad T420 ผมก็เคลมมาฝาด้านหลังประกอบไม่ดีต้องแปะกาว (ไม่เชื่อมาดูได้) ของแฟนผม ThinkPad T410 ไปเคลมก็มีปัญหากลับมา (รูปหลักฐานยังมีอยู่ ตอนนี้เคลมใหม่กลับมาดีดังเดิมแล้ว) นี่เจออีกกับเคลม Tablet ที่ซื้อมาแล้วโดน Service Provider ไม่รับเคลมเพราะไม่ได้ซื้อกับ Shop นั้น

คือให้เทียบกับ Apple ที่ผมซื้อ iPod มา 3-4 เครื่อง ผมเคลม iStudio สาขาไหนเค้าก็ยินดีรับเคลม หรือหูฟัง Sony ผมซื้อที่อื่น ไปเคลมที่ Shop เค้าก็ยินดีรับเคลม แม้ไม่ได้ซื้อของของเค้า มันก็แปลกดีแฮะ ยี่ห้อที่เชิญชวนคนอื่นซื้อไปมากมาย กลับมีบริการหลังการขายและ Shop ที่มีข้อกำหนดและคุณภาพลดลง (เมื่อก่อนดีกว่านี้มาก)

2014-01-17_002545

VAT 10% และ VAT 7%

เรื่อง VAT 10% เนี่ยในความเป็นจริงบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 80 ของประเทศไทยเราประกาศให้ใช้ VAT 10% เป็นมาตราฐานนะครับ และเหตุที่มัน 7% เพราะพระราชกฤษฎีกาลด VAT มาอยู่ที่ 7% และทำกันมานานจนชินชาต่างหาก (กลัวฐานเสียงบ่น) และในความเป็นจริงมันต้องมีการต่ออายุ และช่วงเวลาเริ่มมีดราม่าว่าจะปล่อย VAT 10% มักจะเป็นช่วงก่อนที่จะสิ้นสุดระยะเวลาการใช้พระราชกฤษฎีกาลด VAT  ซึ่งจะอยู่ในช่วงสิ้นเดือนกันยายน ซึ่งหากไม่ออกพระราชกฤษฎีกาลด VAT ก็จะทำให้กลับไปใช้ VAT 10% ตามเดิม หากไม่มีการต่ออายุ

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คิดรวมๆ กัน 7% ประกอบด้วย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” รวมกับ “ภาษีธุรกิจเฉพาะของราชการส่วนท้องถิ่น”

โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ตอนนี้เราคิดที่ 6.3% และข้อกำหนดว่าด้วยภาษีธุรกิจเฉพาะของราชการส่วนท้องถิ่นจะคิดจากอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ ฉะนั้นคือ 0.7% จึงรวมทั้งสองส่วนเป็น 6.3 + 0.7 = 7%

ข้อมูลอ้างอิง
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๔๙) พ.ศ. ๒๕๕๕
(มีผล ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗)
http://www.rd.go.th/publish/46840.0.html

หมวด ๔ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วน ๔ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
http://www.rd.go.th/publish/5206.0.html

การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นอัตราร้อยละ ๗
http://www.rd.go.th/publish/35772.0.html

แบรนด์ ThinkPad กำลังหลงทาง! Adaptive Keyboard ปี 2014 เป็นการปรับเปลี่ยนที่ “ห่วยแตก” ที่สุด

เป็น blog เรื่องใหม่ใน Lenovo Blogs รับปี 2014 ที่ทำให้เหล่าผู้ใช้งานและแฟนๆ ThinkPad ต้องส่ายหน้าอีกครั้ง หลังจากส่ายหน้ารับไม่ได้มา 2 ปีติด และนี่คือปีที่ 3 กับ Adaptive Keyboard ตัวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปพร้อมกับ ThinkPad X1 Carbon รุ่นปี 2014 โดยส่วนตัว ThinkPad X1 Carbon ไม่มีอะไรน่าสนใจมากนัก นอกจากจอภาพ 14 นิ้ว ความละเอียด 2560 x 1440 pixel แบบ IPS ในราคาสุดโหดที่เริ่มต้น $1,299

New_ThinkPad_X1_Carbon_Adaptive_Keyboard

ประเด็นที่น่าสนใจ และสร้างความผิดหวังให้กับผมคือ Adaptive Keyboard นั่นเอง การออกแบบใหม่ที่ไร้ซึ่งจุดมุ่งหมายเพื่อใช้งานจริงได้อย่างสะดวกสบาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานที่แบรนด์ ThinkPad วางไว้ ไม่ได้รับความสะดวกอย่างที่สุด เรามาดูกันว่าทำไมถึงกล่าวขนาดนี้ (เท่าที่จะสามารถหาภาพและสังเกตได้)

  1. การตัดปุ่ม function keys F ออกไปทั้งหมด สร้างความไม่สะดวกอย่างมากกับกลุ่มผู้ใช้งาน ThinkPad ที่ต้องทำงานหลากหลาย Operating System และ applictaion เก่า-ใหม่มากมาย ซึ่งยังคงใช้งาน function keys F อยู่มากมาย
  2. การตัดปุ่ม Fn key ออกและใช้ adaptive key ไปแทนที่ function keys F แทน ดูเหมือนสะดวก แต่นั่นทำให้การตั้งค่าต่างๆ บน ThinkPad เมื่อใช้กับ Operating System อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Windows นั้นมีปัญหา เพราะ Operating System อื่นๆ ก็ใช้ Fn key ร่วมกับปุ่มอื่นๆ มีปัญหา
  3. การตัด CapsLock ออกและแทนที่ด้วย Home/End keys ทำให้ความต่อเนื่องในการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ สลับกับโน๊ตบุ๊ค หรือคีย์บอร์ดอื่นๆ ทำได้ยากจนสร้างความสับสน
  4. ยังคงถอดเอาปุ่ม TrackPoint ออกไป สร้างความไม่สะดวกอย่างที่สุด
  5. การเอา Backspace key กับ Delete key มาไว้ใกล้กัน ดูเหมือนดี แต่ใช้งานไม่สะดวกอย่างมาก ทำให้กดพลาด และใช้สลับกันได้ง่าย
  6. การย้ายปุ่ม ~/` มาอยู่ตรงบริเวณระหว่าง Alt – Ctrl ด้านขวา, การปรับขนาดปุ่ม dash (-) และปุ่มเครื่องหมายเท่ากับ (=) ให้เล็กกว่าปุ่มอื่นๆ สร้างความปวดหัว ใช้งานยากให้กับ programmer และผู้ใช้งานที่เป็น system administrator อย่างมาก

สุดท้ายการปรับเปลี่ยนครั้งนนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนที่ “ห่วยแตก” ที่สุดนับตั้งแต่เปลี่ยนรูปแบบคีย์บอร์ดมาหลังปี 2012 ที่เปิดตัว ThinkPad X1 AccuType keyboard และผมเชื่อว่า ThinkPad กำลังหลงทาง และผมจะไม่ซื้อแน่นอน! (10 เหตุผลที่ผมจะไม่ซื้อ ThinkPad เครื่องต่อไป)

อ่านความหลังของคีย์บอร์ดที่ผมเชื่อว่าคนใช้ ThinkPad จะบอกกับทุกคนว่า มันคือ “คีย์บอร์ดที่ดีที่สุดในโลกของโน็ตบุ๊ค” ได้ที่ กว่าจะมาเป็น ThinkPad X1 AccuType keyboard! (ThinkPad Keyboard V.2012)

lenovo-x1-carbon-20141_2040_verge_super_wide

lenovo-x1-carbon-20142_2040_verge_super_wide lenovo-x1-carbon-20147_2040_verge_super_wide

lenovo-x1-carbon-20149_2040_verge_super_wide lenovo-x1-carbon-201410_2040_verge_super_wide

รูปจาก

– Products – Lenovo Blogs – Lightweight and Virtually Indestructible: Introducing the New ThinkPad X1 Carbon

– The Verge – With the X1 Carbon, Lenovo refines its best ultrabook

ปลั๊กไฟใครว่าไม่สำคัญ

ส่วนตัวแล้วเรื่องปลั๊กไฟนั้นผมเคยเขียนไปหลายรอบใน facebook แต่วันนี้ขอสรุปสักหน่อย ถือเป็นโน็ตส่วนตัวแล้วกัน คือส่วนตัวใช้ปลั๊กไฟยี่ห้อ BELKIN และ Wonpro เป็นหลัก อย่างในตู้ rack ที่วาง Server ที่ต้องทำงาน และเสียบใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ผมก็ไว้ใจ Wonpro ซึ่งจากที่ใช้งานมาก็ไม่มีปัญหาใดๆ สำหรับในการใช้งานส่วนแล้ว ทั้ง 2 ยี่ห้อที่ระบุมาข้างต้น ก็ทำงานได้ดีมาก ผมซื้อทั้ง 2 ยี่ห้อนี้มารวมๆ กันกว่างานสิบตัว ตัวที่อายุใช้งานยาวนานที่สุดก็เกือบๆ 15 ปีแล้ว และที่แนะนำคนอื่นๆ ไปใช้งานก็ยังไม่เจอว่ามีปัญหาแต่อย่างใด ส่วนคนรอบๆ ตัวก็มีแนะนำยี่ห้อที่ทนทาน และมีชื่อเสียงในวงการไม่แพ้กัน ก็คือ Huntkey และ Zircon ซึ่งจากที่สอบถามมาหลายๆ คนก็ใช้งานได้ราบรื่นดี และดีไม่แพ้ BELKIN และ Wonpro ที่ผมใช้อยู่เลย ส่วนยี่ห้อ T นั้น ผมไหม้คาตามา 3 รอบ ไม่รู้ดวงซวยหรือโชคดี ที่ไหม้คาตา สามารถชักปลั๊ก และเบรกเกอร์ ตัดทันพอดี ><“

ส่วนตัวแล้วนั้น แนะนำว่าปลั๊กไฟแม้จะดูเหมือนเรื่องเล็ก แต่ผมแนะนำว่าให้ซื้อของดี และดูชื่อเสียงจากคนที่ใช้งานเสียหน่อยครับ เพราะ เครื่องเสียง ทีวี คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ราคาแพงๆ ตัวเป็นหมื่น-แสน ใช้ปลั๊กไฟห่วยๆ คุณภาพแย่ แม้ราคาจะถูกหรือแพง ถ้าเสียบใช้งานแล้วไม่รู้มันจะไหม้หรือเปล่า ไฟจะเดินเรียบไหม ทำให้อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงมีปัญหา เกิดสัญญาณรบกวน ผมก็มองดูจะไม่ลงทุนเกินไปครับ แนะนำของดีๆ กัดฟันซื้อของดีไปเลยครับ ซื้อครั้งเดียวใช้ยาวๆ หลักสิบปีครับ อย่าง ยี่ห้อ T ก็ไม่ได้ราคาถูกไปกว่าพวก 3-4 ยี่ห้อที่แนะนำเลย ราคาถูกกว่าหลัก 10 – 50 บาท ในบางรุ่นด้วยซ้ำครับ

ข้อควรทราบนิดนึงเกี่ยวกับ BELKIN ก็คือ มันใช้กับปลั๊กแบบ Type F, Type C (Euro) หรือ Type E/F หรือเรียกว่าพวกปลั๊กหัวกลวมๆ คือเสียบเข้าไปแล้วจะหลวมๆ หน่อย (แต่ตัวรุ่นท็อปไม่แน่ใจว่าจะเป็นไหม) แต่ถ้าใช้กับ Wonpro จะไม่เป็นเลย หลังๆ เลยเน้น Wonpro เป็นหลักเพราะเรื่องนี้แหละ

P1090790  P1090793

WP_20140106_10_41_19_Pro WP_20140106_12_00_11_Pro

WP_20140105_14_37_49_Pro

แก้ไขปัญหา “Same Origin Restriction” ของ @font-face ใน Firefox และ IE9

ถ้า developer ใช้ Chrome และ Safari จะไม่มีปัญหาการโหลด @font-face จาก sub-domain หรือ domain ต่างกัน ทำให้เราสามารถใช้ผ่าน CDN จากเว็บผู้ผลิตหรือให้บริการ font-face ได้เช่น http://www.google.com/fonts หรือ http://fontawesome.io เป็นต้น

แต่ถ้าใช้ Firefox (รุ่นใหม่ๆ) และ IE9เป็นต้นมา จะมีปัญหา เนื่องจากข้อกำหนด Same Origin Restriction ตามเอกสาร CSS Fonts Module Level 3 (W3C Candidate Recommendation 3 October 2013) – Font fetching requirements ทำให้อาจเกิดปัญหาการโหลดตัว @font-face เข้ามาในเว็บได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการโหลดไม่ขึ้น หรือโหลดช้าจนทำให้การใช้งานเว็บไม่สะดวกได้ และคาดว่าในอนาคต Chrome และ Safari จะทำตามข้อกำหนดเช่นกัน

ตัวอย่างใน Firefox 26.0 ทีเกิดปัญหาโหลด icon จาก @font-face ไม่ได้ ทำให้ไม่แสดงผล icon ได้ถูกต้อง
(ถ้าเป็น IE9-10 จะไม่แสดงผลเลย)

2014-01-03_134524

ซึ่งใน developer console ของ Firefox จะมีการแจ้ง Error ว่า “bad URI  or cross-site access not allowed” ขึ้นมาด้วย

แต่เมื่อเปิดกับ Chrome และ Safari จะทำงานได้ปรกติ

2014-01-03_134645

ทางแก้ไขคือ ทำ Cross-Origin Resource Sharing ให้กับนามสกุลไฟล์ที่ใช้ในการทำ @font-face ต่างๆ ที่จะโหลดข้าม domain ซึ่งไฟล์ที่ใช้ทำ font-face จะมีนามสกุลต่อไปนี้ .ttf, .eot, .otf และ .woff

การแก้ไข

1. เปิดการใช้งาน mod_headers ใน Aapche เสียก่อน (ใครใช้ NginxX หาเอาอีกทีนะ)

2. แก้ไขไฟล์ .htaccess ใน root directory ของเว็บ แล้วเพิ่ม Type และ FilesMatch เพื่อเปิด Access-Control-Allow-Origin สำหรับไฟล์นามสกุลดังกล่าว โดยลักษณะการตั้งค่าตามด้านล่าง

AddType application/vnd.ms-fontobject    .eot
AddType application/x-font-opentype      .otf
AddType image/svg+xml                    .svg
AddType application/x-font-ttf           .ttf
AddType application/font-woff            .woff

<FilesMatch "\.(ttf|otf|eot|woff)$">
    <IfModule mod_headers.c>
        Header set Access-Control-Allow-Origin "*"
    </IfModule>
</FilesMatch>

เพียงเท่านี้ก็แก้ไขปํญหาทั้งหมดได้แล้ว ;)