รีวิว LG 29UM65 Ultrawide 21:9 IPS LED monitor ขนาด 29” ที่เหมาะสำหรับทำงานโดยไม่ต้องต่อจอภาพเพิ่ม

เมื่อสัก 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสได้ LG 29UM65 มาทดลองใช้ ซึงเป็น Ultrawide 21:9 IPS LED monitor ขนาด 29” โดยมันเหมาะในการใช้ทำงานเอกสารที่ต้องใช้การเปิดหลายๆ หน้าต่างในเวลาเดียวกันเป็นอย่างมาก ทั้งยังพ่วงมาพร้อมกับรองรับความบันเทิงได้อย่างดีเยี่ยม เรามาดูกันว่ามันมีอะไรน่าสนใจและตอบโจทย์ในการทำงานอย่างไร

LG IPS Monitor Ultra Wide

DSC_7744c

จากแผนภาพด้านล่าง จะเห็นได้ชัดเจนถึงขนาดของจอภาพ 21:9 ที่ได้พื้นที่แนวกว้างเพิ่มมากขึ้นกว่า 16:9 หรือ 16:10 อยู่ถึง 1 ใน 5 นั้นทำให้มันมีพื้นที่ในการทำงานในแนวนอนเยอะมากขึ้นจนสามารถที่จะเปิดหน้าต่างของโปรแกรมได้ถึง 2 หน้าต่าพร้อมๆ กันในแนวนอนได้

image

สำหรับความกว้างในการแสดงผลของสีนั้น ค่อยข้างใกล้เคียงกับ sRGB พอสมควร (เส้นสีแดง) โดยจากคำโฆษณานั้นรองรับ sRGB >99% แต่จากการทดสอบ อาจจะมีการ calibrate หรือการปรับตั้งจอภาพที่อาจจะมีปัญหา ทำให้ได้โทนสีเขียวหลุดหายไปพอสมควร ซึ่งจะกล่าวเหตุผลต่อไปตอนพูดถึงการปรับตั้งค่าจอภาพ

2014-10-26_163156

การปรับแต่งหน้าจอทำได้ผ่านปุ่มใต้โลโก้ ที่มีเพียงปุ่มเดียว โดยกดปุ่มลงไปแล้วโยกไป-มาตามเมนูต่างๆ

จากการใช้งาน อาจจะต้องปรับตัวเล็กน้อยเพราะค่อนข้างใช้ความเคยชินในการเริ่มต้นใช้มากพอสมควร เพราะบางครั้งต้องกดและโยกปุ่มไปพร้อมๆ กัน

DSC_7725 image

การปรับแต่งนั้นส่วนที่ขาดหายไปที่ส่วนตัวมองว่าจำเป็นอย่างมาก คือการปรับ color temperature ที่ไม่พบการปรับแต่งอุณหภูมิสีตามค่ามาตรฐาน Kelvin เช่น 5000K, 5500K, 6500K หรือ 9300K แต่เป็น Warm, Medium และ Cool  แทน ซึ่งจากการค้นหาข้อมูลจากคู่มือของ LG ในรุ่นอื่นๆ นั้น  ค่า Warm คือ 6500K ส่วนค่า Medium หรือ Cool นั้นไม่ค่อยมีค่าแน่นอนสักเท่าไหร่ ทำให้เมื่อนำไปใช้งานปรับแต่งเพื่องานที่ซีเรียสเรื่องสี นอกจากค่า 6500K แล้วอาจจะต้องมานั่งไล่ปรับตามค่า RGB ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ แต่ยุ่งยากกว่าพอสมควร ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุให้เมื่อทำการ calibrate หน้าจอเพื่อหาค่า ICC ออกมาแล้วมีบางโซนของการแสดงผลสีที่ต่ำกว่าความเป็นจริงที่สามารถทำได้ ซึ่งหากใครไม่ได้ซีเรียสในเรื่องนี้มากนัก ก็อาจจะไม่ถือเป็นข้อแย่แต่อย่างใด เพราะค่าที่ตั้งมาให้จากโรงงานก็ให้ค่าสีที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับจอ LG E2360V-PN ที่ผมใช้งานอยู่มานานปี ซึ่งจอที่นำมาเปรียบเทียบนี้ ได้รับการปรับแต่ง color temperature เป็น 6500K และทำการ calibrate จอภาพแล้วเช่นกัน

 image image

แน่นอน อาจจะมีหลายๆ คนที่ใช้งานแล้วมีซอฟต์แวร์บางตัวไม่รองรับกับขนาดจอภาพ 2560×1080 แบนี้ เราสามารถมาปรับแต่ง Ratio ให้เป็น Original ก็ได้ ซึ่งเราสามารถที่จะทำให้การแสดงผลนั้นจำกัดขอบเขต แนวตั้งแทนแนวนอน อาจจะมีพื้นที่ขอบสีดำด้านซ้าย-ขวาขึ้นมาในพื้นที่ที่ไม่มีการแสดงผล อย่างที่ผมใช้เล่นเกมอย่าง StarCraft II หรือ Diablo 3 ก็เล่นได้อย่างสบายๆ

DSC_7766

แน่นอนว่าหากความละเอียดไม่ตรงตามที่จอรองรับจะมีข้อความเตือนว่าใช้ความละเอียดที่ไม่ตรงอยู่มาให้เราเห็นด้วย

DSC_7762

การเชื่อมต่อสามารถเชื่อมต่อกับ port อย่าง DVI, HDMI 1.4 , DisplayPort 1.2  และช่องต่อ audio in-out แบบ stereo speakers มาให้พร้อม เพื่อรองรับการเชื่อมต่อลำโพงในตัวจอภาพ และหูฟังภายนอกได้ในคราวเดียว

DSC_7728

ในการใช้งานนั้นส่วนตัวใช้ DisplayPort ในการเชื่อมต่อแทน HDMI ทีให้มาในกล่อง เพราะเนื่องจากเครื่องที่ใช้งานนั้น การ์ดจอรองรับการส่งภาพออกผ่าน HDMI ได้เพียง Full HD แบบ 1960×1080 เท่านั้น หากต้องการได้รับภาพขนาด 2560×1080 แบบ Ultrawide 21:9 นี้ ต้องต่อจอภาพผ่าน DisplayPort ซึ่งการใช้งานก็ไม่ได้แตกต่างจาก HDMI เท่าไหร่ เพราะส่งได้ทั้งภาพและเสียงมาได้ทันทีสบายๆ ฉะนั้นหากใช้จอภาพตัวนี้อาจจะต้องตรวจสอบการ์ดจอของท่านให้ดีว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบใดจึงจะสามารถแสดงผลได้เต็มประสิทธิภาพ

DSC_7733 DSC_7736

สำหรับในส่วนของฐานจอภาพค่อนข้างแน่นหนาดีมาก และมีลำโพงขนาด 7 Watts ทั้งสองด้าน ให้มาพร้อมในตัว ซึ่งสามารถเล่นเสียงผ่านสาย DisplayPort หรือ HDMI ได้ทันที

ตัวจอยึดกับฐานจอด้วยน็อต 2 ตัวกัฐานจอที่ค่อนข้างแน่นอนมาก แต่เวลาประกอบจอครั้งแรกเมื่อใช้งาน ต้องค่อยๆ ขันน็อตและตรวจสอบให้เรียบร้อยเสียหน่อย เพราะจอภาพค่อนข้างหนักและอาจทำให้รูน็อตมีปัญหาได้หากขันไม่แน่นหนาพอ

DSC_7745

DSC_7752 DSC_7751 

ในด้านของความบันเทิง จริงๆ ส่วนตัวมองว่ามีประโยชน์ในส่วนของการแสดงผลสัดส่วนภาพที่เท่ากับ

โรงภาพยนตร์ หรือที่บรรจุในแผ่น Bluray ที่เดี๋ยวนี้มักเป็น 21:9 ทำให้การแสดงผลดูเต็มตา ครบพื้นที่ของจอภาพที่เรามีครับ อันนี้น่าจะเป็นที่ชื่นชอบสำหรับคนที่มีแผ่นหนัง Bluray เยอะๆ แล้วเอามาเปิดบนจอสัดส่วน 21:9 แบบนี้

DSC_7760

ความสามารถแบบ Dual Link-up คือความสามารถที่ทำให้จอภาพเราสามารถแสดงผลภาพจากอุปกรณ์ 2 ตัวมาแสดงผลบนจอภาพ 1 จอได้พร้อมๆ กัน โดยที่ผมใช้บ่อยๆ คือต่อจอภาพด้วย DisplayPort และ HDMI พร้อมๆ กัน ซึ่ง HDMI จะต่อจากมือถือที่เป็น port แบบ SlimPort อีกทีหนึ่ง

DSC_7767

ตัว Dual Link-up จะแบ่งครึ่งขอภาพด้านซ้ายและขวามาให้ ต่อเป็น PC อยู่ด้านซ้าย และ Android อยู่ด้านขวา ซึ่งเหมาะกับงานที่มีการนำเสนอควบคู่กันจากสองแหล่งการส่งภาพมาแสดงผล หรือจะนำมาประยุกต์ใช้กับการดูภาพยนต์ไปพร้อมๆ กับการทำงานก็ยังได้

โดยความสามารถแบบ Dual Link-up สามารถต่อเข้ากับจอภาพรุ่นนี้ได้ทั้งผ่าน DVI, HDMI และ DisplayPort ได้พร้อมกัน 2 อุปกรณ์ ซึ่งความการตั้ง Ratio ของทั้งสองฝั่งนั้นตั้งแยกได้อย่างอิสระ

DSC_7768

DSC_7772

จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น หากมองในมุมการทำงานในปัจจุบันนี้ เราต้องการพื้นที่ในการทำงานที่มากขึ้น ในชีวิตประจำวันในการทำงานเรามักเปิดโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาทำงานพร้อมๆ กันอยู่มากมายหลายตัว ซึ่งทำให้การทำงานบนจอภาพ Ultrawide 21:9 ตัวนี้ ตอบโจทย์การทำงานที่สามารถเปิดหน้าต่างของโปรแกรมได้พร้อมๆ กันโดยที่ไม่ต้องใช้การซ่อนลงมา taskbar เพื่อสลับไป-มาในระหว่างการทำงาน ซึ่ง LG 29UM65 นั้นโดดเด่นที่มีขนาดหน้าจอกว้างเพิ่มขึ้นจากหน้าจอ wide screen ขนาดมาตรฐาน 16:9 หรือ 16:10 โดยทั่วไปอีก 1 ใน 5 ทำให้เรามีหน้าจอที่สามารถทำงานได้มากขึ้นโดยไม่ต้องใช้จอภาพเพิ่มเติมแต่อย่างใด ซึ่งทำให้ชีวิตการทำงานสะดวกอย่างมาก

DSC_7716

สำหรับราคาขาย LG 29UM65 อยู่ที่ 17,900 บาท และทั้งนี้ LG IPS Monitor UltraWide มีอยู่ทั้งหมด 3 ขนาดที่วางจำหน่ายในไทย โดยอีก 2 ขนาดคือ หน้าจอ 34” ราคา 24,500 บาท และขนาดหน้าจอ 25” ราคา 9,900  บาท

ข้อมูลด้านเทคนิดอ่านได้ที่ LG 29UM65 IPS Monitor UM65 Series – LG Electronics TH

คัดลอกบทความไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม ส่ง notice ไม่พอ ต้องส่ง invoice ไปด้วย

หลังๆ ผมมีหลักคิดเรื่องการละเมิดเนื้้อหาบนอินเตอร์เน็ตที่รักษาผลประโยชน์ตัวเองเพิ่มขึ้น คือการละเมิดเนื้อหาที่ถูกนำไปทำซ้ำโดยไม่ถูกต้องตาม CC บน blog ตัวเอง หรือ Copyright บนเว็บที่จ้างเขียนบทความ โดยมีแนวคิดเพิ่มเติมไม่ใช่แค่แจ้ง notice ให้ลบออก หรือแก้ไขเท่านั้น แต่มีการเพิ่มเติมข้อเรียกร้องที่นำไปสู่การเสียประโยชน์จากการนำไปใช้แบบผิดวิธีตาม CC หรือละเมิด Copyright ที่ทำให้เสียประโยชน์ทางธุรกิจ ด้วยการส่ง invoice คิดเงินแนบไปพร้อม notice ด้วย

เหตุผลหลักๆ ที่มีการส่ง invoice เรียกเก็บเงิน เพราะเนื้อหาที่ระบุ CC นั้นต้องการ back link อย่างชัดเจน ซึ่งมีผลต่อ SEO ซึ่งน่าจะเป็นค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อในการนำบทความไปใช้ในขั้นต่ำสุด (ห้าม unfollow tag ด้วย) ส่วนของเนื้อหา Copyright นี่ก็ตรงๆ ตัวอยู่แล้ว โดยทั้ง 2 ส่วนนี้ โดยส่วนใหญ่คนนำไปใช้มักนำไปใช้งานเพื่อสร้างผลตอบแทนต่อตัวเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการแบ่งส่วนผลตอบแทนที่คาดว่าจะเกิดจากนำเนื้อหาของเราไปใช้ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ และน่าจะ win-win กับทุกฝ่าย

การแค่ทำลายบทความทิ้งไปเฉยๆ บนเว็บที่นำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาแบบ CC หรือ Copyright นั้นส่วนตัวมองว่าดูมักง่ายเกินไป เพราะการคิดแค่ว่าลบๆ แล้วก็จบๆ กันไป โดยไม่ได้มองบริบทในอดีตว่า ก่อนที่บทความที่ถูกนำไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้องนั้น ได้สร้างผลตอบแทนแกผู้นำไปใช้มากมายเท่าใดๆ แล้วนั้น ดูจะไม่ยุติธรรมต่อผู้ผลิตผลงานเท่าใดนัก

สั้นๆ กับ Windows 10 Technical Preview

Untitled

ลงใช้ประมาณชั่วโมงกว่าๆ ได้ประมาณนี้

  • เครื่องที่ติดตั้งเป็น Sony VAIO 11E ซึ่งเป็น APU AMD, RAM 4G และ SSD 128GB โดย ไม่ได้ติดตั้งผ่าน VM ลงแบบ clean install ทับไปแทนตัว Windows 8.1 และเลือกไม่เก็บไฟล์ระบบเก่าไว้
  • การติดตั้งเหมือน Windows 8 ทุกอย่าง โดยระยะเวลาติดตั้งก็พอๆ กับ Windows 8
  • เจอจอฟ้า 1 ครั้งหลังจาก boot เข้าระบบครั้งแรก เป็นเพราะ driver การ์ดจอของ ATI (error code มันแจ้งมาแบบนั้น)
  • ส่วนของ start menu นั้นโดยรวมแม้จะเป็น UI Metro แต่ความรู้สึกเหมือน start menu บน Windows 7 อย่างมาก ส่วนที่แตกต่างคือการเอา Tile ของ Start Screen มาใส่บริเวณ icon เรียกใช้งานพวก Computer-Network แทน แล้วขยายออกด้านขวามือยาวๆ ไปแทนการเรียก Tile จากหน้า Start screen แบบ fullscreen ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นการพัฒนาที่เหมาะสมกับ desktop computer ดีมาก เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกแปลกแยกเวลาเข้าหน้า start screen ผ่าน desktop mode
  • ปุ่ม shutdown หาง่ายกว่าเดิม และรู้สึกดีกว่า Windows 7 ด้วยซ้ำไป
  • Charm bar ไม่โผล่มาแม้จะลากเมาส์ไปสุดจอด้านขวาแล้ว แต่ใช้ Win + C ยังเรียกได้อยู่ คาดว่าเพราะบน desktop mode มันไม่มีประโยชน์ใดๆ เพราะที่ start menu ก็มีความสามาถพวกนี้ครบอยู่แล้ว
  • Task View ดูดีนะ แต่ยังไม่สุด คงต้องปรับอีกพอสมควร เพราะยังงงๆ อยู่ ไม่มี indicator ช่วยคนใช้งานเพียงพอว่าอยู่ตรงไหน ย้ายไป-มาไม่ได้
  • เรื่อง driver ไม่น่าเป็นปัญหา คิดว่าใช้ของ Windows 8 ได้ทันที
  • การ sync profile จาก account เดิม โดยเป็นการย้ายแบบอัพเกรดมาจากเครื่องเดิม สามารถทำได้เลย wallpaper หรือพวก app profile มาครบเกือบทั้งหมดในเวลาไม่นานนัก แต่มีปัญหาว่าถ้าใช้ account ที่ sync ร่วมกับเครื่องอื่น จบพบว่าเครื่องเก่า start screen ที่ตั้งไว้ถูกปรับตาม Windows 10 ที่เพิ่งลงไป เลยต้องกลับมาไล่ปรับใหม่อีกรอบ
  • ความเร็วในการตอบสนอง และใช้การใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้แตกต่างจาก Windows 8.1 เลย

สรุป ง่ายๆ มีแค่ start menu และ Task View ใหม่ที่น่าสนใจ อย่างอื่นนี่เล็กๆ น้อยไม่มีอะไรที่ดู wow เท่าไหร่ ถ้าไม่รีบอยากลองใช้ของพวกนี้ หรือต้องปรับแก้โปรแกรมให้รองรับ Windows 10 แนะนำให้รอ version beta หรือ RC น่าจะดีที่สุด