ปลั๊กไฟใครว่าไม่สำคัญ

ส่วนตัวแล้วเรื่องปลั๊กไฟนั้นผมเคยเขียนไปหลายรอบใน facebook แต่วันนี้ขอสรุปสักหน่อย ถือเป็นโน็ตส่วนตัวแล้วกัน คือส่วนตัวใช้ปลั๊กไฟยี่ห้อ BELKIN และ Wonpro เป็นหลัก อย่างในตู้ rack ที่วาง Server ที่ต้องทำงาน และเสียบใช้ตลอด 24 ชั่วโมง ผมก็ไว้ใจ Wonpro ซึ่งจากที่ใช้งานมาก็ไม่มีปัญหาใดๆ สำหรับในการใช้งานส่วนแล้ว ทั้ง 2 ยี่ห้อที่ระบุมาข้างต้น ก็ทำงานได้ดีมาก ผมซื้อทั้ง 2 ยี่ห้อนี้มารวมๆ กันกว่างานสิบตัว ตัวที่อายุใช้งานยาวนานที่สุดก็เกือบๆ 15 ปีแล้ว และที่แนะนำคนอื่นๆ ไปใช้งานก็ยังไม่เจอว่ามีปัญหาแต่อย่างใด ส่วนคนรอบๆ ตัวก็มีแนะนำยี่ห้อที่ทนทาน และมีชื่อเสียงในวงการไม่แพ้กัน ก็คือ Huntkey และ Zircon ซึ่งจากที่สอบถามมาหลายๆ คนก็ใช้งานได้ราบรื่นดี และดีไม่แพ้ BELKIN และ Wonpro ที่ผมใช้อยู่เลย ส่วนยี่ห้อ T นั้น ผมไหม้คาตามา 3 รอบ ไม่รู้ดวงซวยหรือโชคดี ที่ไหม้คาตา สามารถชักปลั๊ก และเบรกเกอร์ ตัดทันพอดี ><“

ส่วนตัวแล้วนั้น แนะนำว่าปลั๊กไฟแม้จะดูเหมือนเรื่องเล็ก แต่ผมแนะนำว่าให้ซื้อของดี และดูชื่อเสียงจากคนที่ใช้งานเสียหน่อยครับ เพราะ เครื่องเสียง ทีวี คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ราคาแพงๆ ตัวเป็นหมื่น-แสน ใช้ปลั๊กไฟห่วยๆ คุณภาพแย่ แม้ราคาจะถูกหรือแพง ถ้าเสียบใช้งานแล้วไม่รู้มันจะไหม้หรือเปล่า ไฟจะเดินเรียบไหม ทำให้อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงมีปัญหา เกิดสัญญาณรบกวน ผมก็มองดูจะไม่ลงทุนเกินไปครับ แนะนำของดีๆ กัดฟันซื้อของดีไปเลยครับ ซื้อครั้งเดียวใช้ยาวๆ หลักสิบปีครับ อย่าง ยี่ห้อ T ก็ไม่ได้ราคาถูกไปกว่าพวก 3-4 ยี่ห้อที่แนะนำเลย ราคาถูกกว่าหลัก 10 – 50 บาท ในบางรุ่นด้วยซ้ำครับ

ข้อควรทราบนิดนึงเกี่ยวกับ BELKIN ก็คือ มันใช้กับปลั๊กแบบ Type F, Type C (Euro) หรือ Type E/F หรือเรียกว่าพวกปลั๊กหัวกลวมๆ คือเสียบเข้าไปแล้วจะหลวมๆ หน่อย (แต่ตัวรุ่นท็อปไม่แน่ใจว่าจะเป็นไหม) แต่ถ้าใช้กับ Wonpro จะไม่เป็นเลย หลังๆ เลยเน้น Wonpro เป็นหลักเพราะเรื่องนี้แหละ

P1090790  P1090793

WP_20140106_10_41_19_Pro WP_20140106_12_00_11_Pro

WP_20140105_14_37_49_Pro

แก้ไขปัญหา “Same Origin Restriction” ของ @font-face ใน Firefox และ IE9

ถ้า developer ใช้ Chrome และ Safari จะไม่มีปัญหาการโหลด @font-face จาก sub-domain หรือ domain ต่างกัน ทำให้เราสามารถใช้ผ่าน CDN จากเว็บผู้ผลิตหรือให้บริการ font-face ได้เช่น http://www.google.com/fonts หรือ http://fontawesome.io เป็นต้น

แต่ถ้าใช้ Firefox (รุ่นใหม่ๆ) และ IE9เป็นต้นมา จะมีปัญหา เนื่องจากข้อกำหนด Same Origin Restriction ตามเอกสาร CSS Fonts Module Level 3 (W3C Candidate Recommendation 3 October 2013) – Font fetching requirements ทำให้อาจเกิดปัญหาการโหลดตัว @font-face เข้ามาในเว็บได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการโหลดไม่ขึ้น หรือโหลดช้าจนทำให้การใช้งานเว็บไม่สะดวกได้ และคาดว่าในอนาคต Chrome และ Safari จะทำตามข้อกำหนดเช่นกัน

ตัวอย่างใน Firefox 26.0 ทีเกิดปัญหาโหลด icon จาก @font-face ไม่ได้ ทำให้ไม่แสดงผล icon ได้ถูกต้อง
(ถ้าเป็น IE9-10 จะไม่แสดงผลเลย)

2014-01-03_134524

ซึ่งใน developer console ของ Firefox จะมีการแจ้ง Error ว่า “bad URI  or cross-site access not allowed” ขึ้นมาด้วย

แต่เมื่อเปิดกับ Chrome และ Safari จะทำงานได้ปรกติ

2014-01-03_134645

ทางแก้ไขคือ ทำ Cross-Origin Resource Sharing ให้กับนามสกุลไฟล์ที่ใช้ในการทำ @font-face ต่างๆ ที่จะโหลดข้าม domain ซึ่งไฟล์ที่ใช้ทำ font-face จะมีนามสกุลต่อไปนี้ .ttf, .eot, .otf และ .woff

การแก้ไข

1. เปิดการใช้งาน mod_headers ใน Aapche เสียก่อน (ใครใช้ NginxX หาเอาอีกทีนะ)

2. แก้ไขไฟล์ .htaccess ใน root directory ของเว็บ แล้วเพิ่ม Type และ FilesMatch เพื่อเปิด Access-Control-Allow-Origin สำหรับไฟล์นามสกุลดังกล่าว โดยลักษณะการตั้งค่าตามด้านล่าง

AddType application/vnd.ms-fontobject    .eot
AddType application/x-font-opentype      .otf
AddType image/svg+xml                    .svg
AddType application/x-font-ttf           .ttf
AddType application/font-woff            .woff

<FilesMatch "\.(ttf|otf|eot|woff)$">
    <IfModule mod_headers.c>
        Header set Access-Control-Allow-Origin "*"
    </IfModule>
</FilesMatch>

เพียงเท่านี้ก็แก้ไขปํญหาทั้งหมดได้แล้ว ;)