Respect my tax, Respect my vote

Tax เป็นหน้าที่ และสิทธิ์ที่รัฐเรียกเก็บต่อประชาชนตามกฎหมาย
Vote เป็นหน้าที่ และสิทธิ์ที่รัฐกำหนดให้กับประชาชนตามกฎหมาย

เมื่อผมเสีย Tax ผมก็ขอเรียกร้อง Vote ก็แฟร์ๆ ดี แต่แน่นอนว่ามีกลุ่มคนบางกลุ่มคิดว่าตัวเองเสีย Tax อยู่คนเดียว หรือกลุ่มเดียว แล้วจะมาบอกว่าคนอื่นห้าม Vote คือพอดีว่าผมก็เสีย Tax และผมต้องการ Vote!!! ถ้าคุณจะประเคนสิทธิ์ในการโหวตให้คนอื่น ก็ใช้ไปคนเดียว หรือกลุ่มเดียว ยังมีคนอีกมากมายที่เค้าไม่ยอม (แน่นอนการขายเสียงมีความผิดตามกฎหมาย)

การเสีย Tax และ Vat มีในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีสรรพสามิต หรือที่เราๆ เจอกันมากสุดคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และยังมีอีกหลายประเภทที่ไม่ได้กล่าวถึง โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ถูกเก็บในรูปแบบที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ คุณเข้า 7-11 ก็ถือว่าจ่ายแล้ว ชาวนา ชาวไร่ คนงานก่อสร้างก็ต้องเสีย อย่าคิด อย่ามโนไปเองว่าเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วจะมาบอกว่าคนไม่อยู่ในระบบภาษีดังกล่าวจะไม่ได้เสียภาษี เป็นความเข้าใจที่อยู่บนข้อมูลผิดๆ อย่างร้ายแรงและดูถูกคนอื่นอย่างร้ายกาจ

ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับจำนำข้าว (รัฐบาลชุดนี้) หรือประกันราคาข้าว (รัฐบาลชุดที่แล้วที่ผมเลือกมาเอง) รวมไปถึงการอุดหนุนที่บิดเบือนสภาพตลาดที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง (ยาง, ข้าวโพด ฯลฯ) รวมไปถึงนโยบายรถคันแรก และการสร้างเขื่อนที่ทำการศึกษาไม่รอบด้าน แต่นั้นหมายความว่า วันและเวลาที่เมื่อเวลาที่ได้ใช้สิทธิ์ Vote จากการยุบสภา คุณก็ไปเลือกพรรคที่มีนโยบาย ยกเลิกบ้าๆ บอๆ หรือไม่สนับสนุนนโยบายด้านบนต่างหาก

ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยรู้สึกอยากไปเลือกตั้งเท่าครั้งนี้มาก่อน…

Windows Azure ตอนที่ 2 การคิดค่าบริการ

ใน Windows Azure นั้น การคิดเงินในการใช้งานโดยทั่วไปนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ที่จำเป็นต้องนำมาคิดค่าบริการเกือบจะในทุกๆ บริการ ได้แก่

  1. Compute (Hours/Minutes)
  2. Storage (GB/TB)
  3. Bandwidth (GB/TB)

Compute

เป็นการคิดค่าใช้ระบบในด้านการประมวลผล (Compute) และมีพื้นที่หน่วยความจำหลัก (Memory) มาให้พร้อมกันเป็นคู่ โดยคิดเป็นหน่วยชั่วโมง แต่ในบางบริการจะเป็นการคิดแบบหน่วยนาที (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2013) โดยบริการที่การคิดค่าบริการแบบนี้ได้แก่ Web Sites, Virtual Machines, Cloud Services, Biztalk Server, SQL Server และ SQL Reporting แต่มีบริการหนึ่งที่ทำงานด้านการประมวลผลและมีพื้นที่หน่วยความจำหลักเช่นกัน แต่เป็นลักษณะของโหนดประมวลผล (Compute Node) ที่ชื่อบริการว่า HDInsight อีกด้วย

โดยตัวเลือกของการประมวลผลของ CPU ได้ 3 รูปแบบ คือ

  1. Free Compute บน Virtual Cores ของ CPU ตัวหนึ่ง เป็นการให้ใช้งานฟรีในส่วนของ Web Sites เท่านั้น โดยให้ระยะเวลาในการประมวลผลเพียง 1 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น
  2. Shared Compute บน Virtual Cores ของ CPU ตัวหนึ่ง เป็นการให้ใช้งานในรูปแบบแชร์ทรัพยากร Core ใน CPU โดยให้ระยะเวลาในการประมวลผล 4 ชั่วโมงต่อวัน (หรือ 240 นาทีต่อวัน) โดยคิดระยะเวลาการใช้งานเป็นชั่วโมงหรือนาที โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการ
  3. Reserved Compute บน Virtual Cores ของ CPU ตัวหนึ่ง เป็นการให้ใช้งานในรูปแบบในการจองและเป็นผู้ใช้งานทรัพยากร Core ของ CPU แต่เพียงผู้เดียวโดยคิดระยะเวลาการใช้งานเป็นชั่วโมงหรือนาที โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการ

เมื่อเราเลือกรูปแบบการนำการประมวลผลได้แล้ว จะมีส่วนที่เรียกว่าประเภทของสัญญาอนุญาต (license) ที่เพิ่มเติมเข้ามาด้วยในบางรูปแบบ เช่น

  1. OS แบบ Windows หรือ Linux
  2. BizTalk Server แบบ Standard หรือ Enterprise
  3. SQL Server แบบ Web, Standard หรือEnterprise

โดยการเลือกรูปแบบของสัญญาอนุญาตเหล่านี้จะมีราคาที่แตกต่างกันไปในแต่ละแบบ ซึ่งด้านล่างนี้คือตารางจำนวน Virtual Cores และจำนวน RAM ที่ได้รับในแต่ละแบบ โดยใช้อ้างอิงได้ทั้ง

  1. Virtual Machines ที่เป็น OS แบบ Windows หรือ Linux
  2. Virtual Machines ที่เป็น BizTalk Server แบบ Standard หรือ Enterprise
  3. Virtual Machines ที่เป็น SQL Server แบบ Web, Standard หรือ Enterprise
  4. Cloud Services ที่เขียนระบบเพื่อรองรับงาน Web roles และ Worker roles
COMPUTE INSTANCE NAME VIRTUAL CORES RAM
Standard Instances
Extra Small (A0)

Shared

768 MB

Standard Instances
Small (A1)

1

1.75 GB

Standard Instances
Medium (A2)

2

3.5 GB

Standard Instances
Large (A3)

4

7 GB

Standard Instances
Extra Large (A4)

8

14 GB

Memory Intensive Instances (A6)

4

28 GB

Memory Intensive Instances (A7)

8

56 GB

สำหรับในส่วนของ Web Sites นั้นจะอ้างอิงเพิ่มเติมในส่วนของการใช้งานแบบฟรี

FREE SHARED RESERVED
CPU 60 min
CPU/day
240 min
CPU/day
Dedicated CPU
Custom
domain name
No Yes Yes
Sites 10 100 100
Storage 1 GB 1 GB 10 GB
Storage transactions Free Free Free
Relational database

20 MB, MySQL or SQL Databases

Outbound data transfer 165MB/day Bandwidth
rates
Bandwidth
rates
Inbound data transfer Free Free Free

Dedicated CPU

SIZE CPU CORES RAM
Small 1 1.75 GB
Medium 2 3.5 GB
Large 4 7 GB

สำหรับการคิดราคาใน HDInsight (Microsoft’s Hadoop-based service) นั้นจะคิดราคาตามชนิดของโหนด โดยมีโหนดอยู่ 2 แบบคือ

  1. Head Node โดยเป็น Virtual Machines แบบ Extra Large (A4)
  2. Compute Node โดยเป็น Virtual Machines แบบ Large (A3)

ซึ่งการใช้งาน HDInsight นั้นจะต้องสร้างโหนดทั้งสองแบบนี้มาอย่างละหน่วยประมวลผลเพื่อใช้งานและคิดค่าบริการรวมของการเปิดใช้งานทั้ง 2 แบบลงไป

ในด้านของ Mobile Services นั้นจะมีเพียงแบบฟรีและแบบคิดราคาเป็นชั่วโมงการเปิดใช้งาน โดยส่วนที่สำคัญคือ scheduled jobs เป็นสำคัญ โดยทั้งสองแบบนั้นในบัญชีการใช้งานจะสามารถสร้าง Mobile Services ได้ 10 บริการ สำหรับการส่งข้อมูลออก และการเชื่อมต่อฐานข้อมูลนั้นจะคิดตามการคิดค่าบริการของ Bandwidth และ SQL Database

FREE RESERVED
CPU Shared 1 CPU Core
(max 10 Core/subscription)
Mobile Services supported 10 per subscription 10 per subscription
Scheduled jobs 1 scheduled job
700 executions/month
10 scheduled jobs
Inbound data transfer Unlimited Unlimited
Outbound data transfer 165MB/day Bandwidth
rates
SQL Database (required) SQL Database
rates
SQL Database
rates

ส่วนสุดท้ายในการการคิดราคาแบบประมวลผลคือ SQL Reporting ซึ่งจะคิดราคาเป็นหน่วยชั่วโมง โดยคิดราคาที่ 30 รายงาน (report) ต่อชั่วโมง เช่น ถ้ามีการรันรายงานที่ 40 รายงานจะคิดราคาที่ 2 ชั่วโมง เป็นต้น

ข้อมูลราคาล่าสุด

Storage

เป็นการคิดค่าบริการตามพื้นที่ที่จัดเก็บข้อมูลไว้ระบบประมวลแบบกลุ่มเมฆ โดยจะมี 3 รูปแบบ

  1. Storage ซึ่งเป็นบริการที่รวมการจัดเก็บข้อมูลแบบ Blobs, Tables และ Queues ไว้เป็นรูปแบบบริการเดียว
    โดยการคิดราคาจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ย่อยดังนี้
    Geo Redundant เป็นการคิดค่าบริการจัดเก็บไฟล์แบบสำรองต่างพื้นที่ IDC
    Locally Redundant เป็นการคิดค่าบริการจัดเก็บไฟล์แบบสำรองภายในพื้นที่ IDC
    Transactions เป็นการคิดราคาในการอ่านหรือเขียนข้อมูลจาก Blobs, Tables และ Queues
    โดยคิดเงิน 1 ล้านครั้งต่อหน่วยราคา (ราคาวันที่เขียนบทความคือ 1 ล้านครั้งต่อ 0.10 USD)
  2. Backup สำหรับคนที่ต้องการ Backup บน Windows Server Backup ของ Windows Server 2012 สามารถ Backup บน Storage ระบบประมวลแบบกลุ่มเมฆ ซึ่งจะไม่มีการคิดเงินในส่วนของ Bandwidth, Storage, Storage transactions และ Compute เพิ่มเติม แต่อย่างใด
  3. SQL Database โดยจะคิดราคาในรูปแบบขนาดที่จัดเก็บข้อมูลและจำนวนฐานข้อมูลที่ใช้งาน

ข้อมูลราคาล่าสุด

Bandwidth

มีรูปแบบการคิดราคา 2 แบบคือพื้นที่ที่ระบบอยู่ หรือเรียกว่า Regions และเครือข่ายการกระจายเนื้อหา หรือ Content Delivery Network

การรับและส่งข้อมูลเข้าพื้นที่ที่ระบบอยู่นั้น เป็นการคิดราคาของการเรียกข้อมูลออกมาหรือส่งข้อมูลกลับเข้าไปในเขต IDC ที่เราได้ตั้งค่าสำหรับติดต่อเข้ากับระบบประมวลผล (Compute) หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) โดยตรง ซึ่งจะแบ่งการคิดราคาเป็นโซน (zone) ทั้งหมด 2 โซน ได้แก่

  • Zone 1: East US, West US, North Central US, South Central US, North Europe และ Western Europe
  • Zone 2: East Asia และ Southeast Asia

โดย การคิดเงินนั้นในส่วนของ Zone ที่ 1 จะมีราคาถูกกว่า Zone ที่ 2 โดยการคิดราคาจะเริ่มต้นที่ 5GB เป็นต้นไป ถ้าใช้งานไม่ถึง 5GB จะไม่คิดเงินค่าใช้ข้อมูลแต่อย่างใด

สำหรับการคิดราคาของเครือข่ายการ กระจายเนื้อหา นั้นจะคิดราคาในด้านการเรียกใช้ข้อมูลตามการใช้งานจริงตั้งแต่เริ่มต้นส่ง ข้อมูล โดยไม่มีกรอบกำหนดเริ่มต้นที่ 5GB แต่ยังคงคิดราคาแบบ Zone เช่นเดียวกับแบบเขตในการรับ-ส่งข้อมูลเช่นเดียวกัน

โดยการคำนวณราคาใน ด้านของ Bandwidth นั้น จะมีการคิดราคาของ Transactions ในการเรียกใช้งานทั้งเรียกออกมาและส่งข้อมูลกลับเข้าไป โดยคิดเงิน 1 ล้านครั้งต่อหน่วยราคา (ราคาวันที่เขียนบทความคือ 1 ล้านครั้งต่อ 0.10 USD)

ข้อมูลราคาล่าสุด
Data Transfers

  • Regions
  • Content Delivery Network

สำหรับการคิดราคาในรูปแบบอื่นๆ

  • Connection Hours สำหรับใช้บริการ Virtual Network
  • Relay hours สำหรับใช้บริการ Service Bus
  • Messages สำหรับใช้บริการ Service Bus
  • GB Processed สำหรับใช้บริการ Media Services
  • Reserved Units สำหรับใช้บริการ Media Services
  • On-Demand Streaming Reserved Units สำหรับใช้บริการ Media Services

จะเป็นส่วนย่อยๆ ที่มีการคิดราคาโดยใช้พื้นฐานคล้ายๆ กับ Compute, Storage และ Bandwidth เป็นหลักทั้งหมด

ตัวอย่างการใช้บริการแบบ Windows Azure Virtual Machines

  • Compute: Small (A1)
    เป็น 1 Reserved Virtual Cores และ RAM ขนาด 1.75GB ติดตั้ง Linux Virtual Machines (Ubuntu Server 12.04 LTS)
  • Storage: 30GB ต่อเดือน
    เป็น Image สำเร็จรูปของ Linux Virtual Machines ติดตั้งแบบ Geo Redundant (IDC Southeast Asia ใน Singapore และ IDC East Asia ใน Hong Kong)
  • Bandwidth: 45GB ต่อเดือน
    เป็นราคาคาดการณ์การใช้งาน

ราคาที่คิดไว้คือ

  • Compute: ~$45 ต่อเดือน ($0.06 ต่อชั่วโมง)
    โดยคำนวณที่ 744 ชั่วโมง (ต่อเดือน)
  • Storage: $2.85 ต่อเดือน
    โดยคำนวณที่ 744 ชั่วโมง (ต่อเดือน) และ 1TB มีค่าเท่ากับ 1,024 GB
  • Storage Transactions: ~$1-$5 ต่อเดือน
    โดยขึ้นอยู่กับการอ่านเขียนตัวไฟล์ใน Storage มากน้อยแค่ไหน
  • Bandwidth: $4.80 ต่อเดือน
    โดยคำนวณที่ 744 ชั่วโมง (ต่อเดือน) และ 1TB มีค่าเท่ากับ 1,024 GB

รวมแล้วต่อเดือนจะมีค่าใช้บริการที่ $53.65 – $58.65 โดยประมาณ

คำแนะนำ: ขอให้อ้างอิงการคำนวณราคาระบบประมวลผลบนกลุ่มเมฆ Windows Azure ล่าสุดได้จากเว็บ windowsazure.com ทั้งหมดเพื่อความถูกต้องสูงสุด

ในตอนหน้าเราจะมาเริ่มการติดตั้งและใช้งาน Windows Azure Web Sites สำหรับ Drupal และ WordPress กัน

Service Provider ที่ไม่ Service

วันนี้หงุดหงิดมาก ช่วงเย็นเพราะต้องเอา Lenovo IdeaTab A3000 ไปเคลมที่ Service Provider ของ Lenovo ที่ Fortune เหตุผลที่ไปที่นี่เพราะเปิดหลังเวลาแน่นอน เนื่องจากเป็น Lenovo Shop ฉะนั้นอย่างน้อยๆ 2 ทุ่มก็คงเปิดแน่ๆ

แน่นอนก่อนไปต้องเช็คแล้วว่าเป็น Service Provider แน่นอน ต้องทำการบ้านสักหน่อย เปิด http://mobilesupport.lenovo.com/us/en/service-provider ตรวจสอบ เป็นไปตามข้อมูล (รูปภาพ) ผมจึงเข้าไป แน่นอนว่าสภาพบ้านเมืองแบบนี้ ผมเลยต้องขึ้น BTS ไปลงหมอชิตแล้วต่อ MRT ย้อนกลับมาที่พระรามเก้า เพราะถ้านั่งลงอโศกคนจะเยอะมาก อาจไม่ทัน 2 ทุ่ม พอถึง Lenovo Shop ซึ่งมีอยู่ในรายชื่อ Service Provider ก็บอกเจ้าหน้าที่ว่ามาเคลม Tablet พอดีจอภาพมีปัญหา คือผมดูในเว็บนะครับว่าเค้าบอกเลยว่า Support Product “Tablet” ผมไม่ได้มาอ้างอิงผิดๆ แน่ๆ สรุปเจ้าหน้าที่แจ้งว่าถ้าไม่ใช่สินค้าที่ซื้อกับทางร้าน คงไม่รับเคลม เพราะไม่อยากรับผิดชอบ และอาจจะเคลมช้า เดี่ยวโวยวายกับ Shop ผมก็แบบ หงุดหงิดมาก แต่พยายามนิ่งๆ ผมก็ “เหรอๆๆ” ผมก็บอกว่า ช้าไม่เป็นไร ไม่ได้รีบอะไร แต่ก็ยังได้รับคำตอบว่าไม่รับเคลมนะ ต้องไปเคลมที่ ศ. IBM อารีย์ แทน ผมก็ อืมมมม คิดในใจว่า “นี่ตูอ้อมโลก มาเคลมได้คำตอบแค่นี้เนี่ยนะ” ผมก็เลยหยิบ Tablet แล้วเดินออกมา คือไม่ได้อะไร เค้าไม่เคลมผมก็ไม่ง้อ เดี่ยวคงไปเคลม ศ. IBM อารีย์ แทน ทำตามคำแนะนำ และผมบอกเลยว่าต่อไปจะพยายามไม่ซื้อของ Lenovo อีก! คือไม่ไหวแล้วจริงๆ ThinkPad T420 ผมก็เคลมมาฝาด้านหลังประกอบไม่ดีต้องแปะกาว (ไม่เชื่อมาดูได้) ของแฟนผม ThinkPad T410 ไปเคลมก็มีปัญหากลับมา (รูปหลักฐานยังมีอยู่ ตอนนี้เคลมใหม่กลับมาดีดังเดิมแล้ว) นี่เจออีกกับเคลม Tablet ที่ซื้อมาแล้วโดน Service Provider ไม่รับเคลมเพราะไม่ได้ซื้อกับ Shop นั้น

คือให้เทียบกับ Apple ที่ผมซื้อ iPod มา 3-4 เครื่อง ผมเคลม iStudio สาขาไหนเค้าก็ยินดีรับเคลม หรือหูฟัง Sony ผมซื้อที่อื่น ไปเคลมที่ Shop เค้าก็ยินดีรับเคลม แม้ไม่ได้ซื้อของของเค้า มันก็แปลกดีแฮะ ยี่ห้อที่เชิญชวนคนอื่นซื้อไปมากมาย กลับมีบริการหลังการขายและ Shop ที่มีข้อกำหนดและคุณภาพลดลง (เมื่อก่อนดีกว่านี้มาก)

2014-01-17_002545

VAT 10% และ VAT 7%

เรื่อง VAT 10% เนี่ยในความเป็นจริงบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 80 ของประเทศไทยเราประกาศให้ใช้ VAT 10% เป็นมาตราฐานนะครับ และเหตุที่มัน 7% เพราะพระราชกฤษฎีกาลด VAT มาอยู่ที่ 7% และทำกันมานานจนชินชาต่างหาก (กลัวฐานเสียงบ่น) และในความเป็นจริงมันต้องมีการต่ออายุ และช่วงเวลาเริ่มมีดราม่าว่าจะปล่อย VAT 10% มักจะเป็นช่วงก่อนที่จะสิ้นสุดระยะเวลาการใช้พระราชกฤษฎีกาลด VAT  ซึ่งจะอยู่ในช่วงสิ้นเดือนกันยายน ซึ่งหากไม่ออกพระราชกฤษฎีกาลด VAT ก็จะทำให้กลับไปใช้ VAT 10% ตามเดิม หากไม่มีการต่ออายุ

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่คิดรวมๆ กัน 7% ประกอบด้วย “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” รวมกับ “ภาษีธุรกิจเฉพาะของราชการส่วนท้องถิ่น”

โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ตอนนี้เราคิดที่ 6.3% และข้อกำหนดว่าด้วยภาษีธุรกิจเฉพาะของราชการส่วนท้องถิ่นจะคิดจากอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ ฉะนั้นคือ 0.7% จึงรวมทั้งสองส่วนเป็น 6.3 + 0.7 = 7%

ข้อมูลอ้างอิง
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๔๙) พ.ศ. ๒๕๕๕
(มีผล ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗)
http://www.rd.go.th/publish/46840.0.html

หมวด ๔ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วน ๔ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
http://www.rd.go.th/publish/5206.0.html

การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นอัตราร้อยละ ๗
http://www.rd.go.th/publish/35772.0.html

แบรนด์ ThinkPad กำลังหลงทาง! Adaptive Keyboard ปี 2014 เป็นการปรับเปลี่ยนที่ “ห่วยแตก” ที่สุด

เป็น blog เรื่องใหม่ใน Lenovo Blogs รับปี 2014 ที่ทำให้เหล่าผู้ใช้งานและแฟนๆ ThinkPad ต้องส่ายหน้าอีกครั้ง หลังจากส่ายหน้ารับไม่ได้มา 2 ปีติด และนี่คือปีที่ 3 กับ Adaptive Keyboard ตัวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปพร้อมกับ ThinkPad X1 Carbon รุ่นปี 2014 โดยส่วนตัว ThinkPad X1 Carbon ไม่มีอะไรน่าสนใจมากนัก นอกจากจอภาพ 14 นิ้ว ความละเอียด 2560 x 1440 pixel แบบ IPS ในราคาสุดโหดที่เริ่มต้น $1,299

New_ThinkPad_X1_Carbon_Adaptive_Keyboard

ประเด็นที่น่าสนใจ และสร้างความผิดหวังให้กับผมคือ Adaptive Keyboard นั่นเอง การออกแบบใหม่ที่ไร้ซึ่งจุดมุ่งหมายเพื่อใช้งานจริงได้อย่างสะดวกสบาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานที่แบรนด์ ThinkPad วางไว้ ไม่ได้รับความสะดวกอย่างที่สุด เรามาดูกันว่าทำไมถึงกล่าวขนาดนี้ (เท่าที่จะสามารถหาภาพและสังเกตได้)

  1. การตัดปุ่ม function keys F ออกไปทั้งหมด สร้างความไม่สะดวกอย่างมากกับกลุ่มผู้ใช้งาน ThinkPad ที่ต้องทำงานหลากหลาย Operating System และ applictaion เก่า-ใหม่มากมาย ซึ่งยังคงใช้งาน function keys F อยู่มากมาย
  2. การตัดปุ่ม Fn key ออกและใช้ adaptive key ไปแทนที่ function keys F แทน ดูเหมือนสะดวก แต่นั่นทำให้การตั้งค่าต่างๆ บน ThinkPad เมื่อใช้กับ Operating System อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Windows นั้นมีปัญหา เพราะ Operating System อื่นๆ ก็ใช้ Fn key ร่วมกับปุ่มอื่นๆ มีปัญหา
  3. การตัด CapsLock ออกและแทนที่ด้วย Home/End keys ทำให้ความต่อเนื่องในการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ สลับกับโน๊ตบุ๊ค หรือคีย์บอร์ดอื่นๆ ทำได้ยากจนสร้างความสับสน
  4. ยังคงถอดเอาปุ่ม TrackPoint ออกไป สร้างความไม่สะดวกอย่างที่สุด
  5. การเอา Backspace key กับ Delete key มาไว้ใกล้กัน ดูเหมือนดี แต่ใช้งานไม่สะดวกอย่างมาก ทำให้กดพลาด และใช้สลับกันได้ง่าย
  6. การย้ายปุ่ม ~/` มาอยู่ตรงบริเวณระหว่าง Alt – Ctrl ด้านขวา, การปรับขนาดปุ่ม dash (-) และปุ่มเครื่องหมายเท่ากับ (=) ให้เล็กกว่าปุ่มอื่นๆ สร้างความปวดหัว ใช้งานยากให้กับ programmer และผู้ใช้งานที่เป็น system administrator อย่างมาก

สุดท้ายการปรับเปลี่ยนครั้งนนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนที่ “ห่วยแตก” ที่สุดนับตั้งแต่เปลี่ยนรูปแบบคีย์บอร์ดมาหลังปี 2012 ที่เปิดตัว ThinkPad X1 AccuType keyboard และผมเชื่อว่า ThinkPad กำลังหลงทาง และผมจะไม่ซื้อแน่นอน! (10 เหตุผลที่ผมจะไม่ซื้อ ThinkPad เครื่องต่อไป)

อ่านความหลังของคีย์บอร์ดที่ผมเชื่อว่าคนใช้ ThinkPad จะบอกกับทุกคนว่า มันคือ “คีย์บอร์ดที่ดีที่สุดในโลกของโน็ตบุ๊ค” ได้ที่ กว่าจะมาเป็น ThinkPad X1 AccuType keyboard! (ThinkPad Keyboard V.2012)

lenovo-x1-carbon-20141_2040_verge_super_wide

lenovo-x1-carbon-20142_2040_verge_super_wide lenovo-x1-carbon-20147_2040_verge_super_wide

lenovo-x1-carbon-20149_2040_verge_super_wide lenovo-x1-carbon-201410_2040_verge_super_wide

รูปจาก

– Products – Lenovo Blogs – Lightweight and Virtually Indestructible: Introducing the New ThinkPad X1 Carbon

– The Verge – With the X1 Carbon, Lenovo refines its best ultrabook