เรื่องมากก็ตายรัง

การเป็นคนที่เรื่องมากในการเลือก Notebook เครื่องหลัก ทำให้ตัวเลือกถูกบังคับให้ใช้ ThinkPad แน่ๆ แล้ว เพราะตัวเลือกอื่นในตลาดยังหามาจอบโจทย์ตัวเองได้ยากมาก เพราะความต้องการภาคบังคับมันคือ

  • มีช่องใส่ HDD 2.5″ ได้ 2 ช่อง (bay หรือเอา optical drive ออกแล้วใส่ HDD ตัวที่สองได้ เพื่อทำ SSD+HDD)
  • รองรับ WWAN ใส่ SIM ได้ทันทีเพื่อ online ผ่าน 3G/4G จาก Notebook ได้
  • จอภาพ anti-glare ขั้นต่ำ 14 นิ้ว
  • port VGA และ Gigabit ethernet
  • มี Trackpoint

ตัวเลือกเพิ่มเติมของเครื่องรุ่นต่อไป

  • จอภาพต้อง Full HD 1080p แบบ IPS
  • ใส่ RAM ได้ไม่ต่ำกว่า 16GB และเพิ่มได้ทะลุ 32GB

ส่วนคีย์บอร์ดนี่มันภาคบังคับอยู่แล้ว แต่ก็อย่างที่รู้ๆ กัน แต่เอาเหอะ ถือว่าทำใจมาได้ปีสองปีแหละช่างมัน ><“

คาดว่าตัวเลือกในปีหน้าคงเป็น T450 และสั่งประกอบแบบ CTO จาก US เอาแล้วกัน เพราะคาดว่า Lenovo ประเทศไทยคงไม่เอา Full HD แบบ IPS มาขายแน่ๆ T_T

สรุป Microsoft Cloud Day

ช่วงเช้านิดหน่อยๆ พอจำได้ ช่วงบ่ายเป็นแยกเข้าพวกเทคนิค ไม่ได้โน๊ตไว้ ค่อนข้างเยอะ ><” (ข้ออ้างในการไม่เขียนรอบบ่าย)

การใช้งาน Cloud computing นับตั้งแต่ปี 2011 จนถึง 2016 จะเพิ่มขึ้น 5 เท่า คนจะมีการใช้ devices ประมาณ 3.3 เครื่องต่อคนในปี 2014 (pc, phone และ tablet) โดย Services ของ Microsoft ในตอนนี้ ทำงานบน Cloud อยู่มากมาย รองรับคนมหาศาล

เทรนในอนาคตเราจะออกแบบ App ให้ทำงานร่วมกับ Cloud มากขึ้น เพราะการมองแค่ทำงานเพียงเครื่องๆ เดียว จะไม่เพียงต่อการทำงานร่วมกับ ข้อมูลจำนวนมาก การพัฒนา App ที่รองรับข้อมูลมากๆ จะมองภาพรวมเป็น data center ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านจาก Standalone OS ไปสู่ Cloud OS นั้นเอง

– 93% บริษัทใน fortune 1000 ใช้ Active Directory
– บริษัททั่วโลกกว่า 46% ใช้ฐานข้อมูล SQL Server
– ซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำ BI มากที่สุดในโลกคือ Microsoft Excel
– Big Data ไม่ได้เกี่ยวกับขนาดของข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวกับว่าชนิดของข้อมูลที่ใช้ประมวลผล
– ในช่วงปีนี้เป็นต้นไปเราจะเห็นคำว่า Cloud OS มากขึ้น ซึ่งเป็น Microsoft’s Cloud OS Vision และบอกว่ามันจะมาเร็วกว่าที่พวกเราคิด ปีหน้าจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
– ระบบที่ออกแบบในช่วงปีหน้าจะมีความชัดเจนในการเลือกใช้ระหว่าง On-promise, public cloud และ hybrid cloud มากขึ้น และ IT จะใช้มันอย่างคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่จ่ายลงไป
– ภายในปี 2016 25% ของ external app ที่ผลิตออกมา มีแนวโน้มเป็นแอพที่เกี่ยวกับ mobility, cloud, analytics & social
– ภายในปี 2017 90% ขององค์กรขนาดใหญ่จะมี 2-3 mobile operating system ไว้รองรับการทำงาน
– ภายในปี 2020 นี้ 45% ของค่าใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมดจะเป็นการลงทุนในระบบ Cloud
– ภายในปี 2020 80% ของ บริษัทชั้นนำ 2,000 รายทั่วโลกจะใช้งานไอทีแบบ onsite ในสัดส่วน 50%

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่จัดเก็บภาษีในการซื้อแอพบนมือถือ

อย่างแรกคือ ของซื้อ-ของขาย ซึ่งมีธุรกรรมจัดเก็บผลประโยชน์อย่างชัดเจนโดยทั่วไปยังไงก็ต้องจัดเก็บภาษีครับ ตัวอย่างข้อกำหนด และการตั้งค่าเกี่ยวกับภาษีที่มีอยู่ในระบบซื้อขายแอพในแต่ละบริษัทผู้ให้บริการอยู่มานานแล้ว ซึ่งได้แก่

จะเห็นได้ว่า อย่าง Google Play ก็มีอ้างอิงว่าประเทศใดบ้างที่จัดเก็บภาษีโหลดแอพ อย่างชัดเจน (ของผู้ให้บริการซื้อขายแอพอื่นๆ ไม่มีระบุไม่ใช่ว่าไม่มี แต่อาจจะเพื่อง่ายต่อการทำให้เอกสารล่าสุดเสมอ) ส่วนตัวมองว่าอย่ามโนไปเองว่าเราเป็นประเทศแรกที่จัดเก็บ ยังมีอีกนับสิบประเทศที่นำหน้าไปก่อนเราแล้ว ทั้ง Google, Apple และ Microsoft ต่างมีข้อกำหนดเรื่องนี้รองรับไว้อยู่นานแล้ว

ส่วนประเด็นว่าผู้บริหารประเทศจะใช้ภาษียังไง ถูกใจเราหรือไม่ และได้ประโยชน์อย่างไร อย่าเอามาปนกันเวลารัฐเรียกเก็บภาษีกลุ่มสินค้าใหม่ๆ เพราะสรรพากรมีหน้าที่เก็บภาษีให้ได้มากที่สุดบนความเป็นไปได้ (เก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม) การบ่นว่ารัฐบาลโกงแล้วไม่เสียภาษีไม่ใช่การบอกว่าเราทำถูกต้องครับ

แพคนละยี่ห้อ ทำอะไรก็ผิด

  • มิตรสหาย A: “ปีหน้า Windows XP เลิก support แล้ว แม่งแพคนใช้หว่ะ”
  • มิตรสหาย B: “Windows XP ต่อ extended support หลายรอบ นี่จะปีที่ 13 แล้วนะ แพตรงไหน เมิงไม่เปลี่ยนเอง เออ เมื่อเช้าเห็นว่า Galaxy Nexus ก็แพคนใช้นี่หว่า คิดไง”
  • มิตรสหาย A: “ตามนโยบาย Google คือ support 18 เดือน ให้กับ Galaxy Nexus นะ ไม่แพหรอก”
  • มิตรสหาย B: “เออ… กูเข้าใจแหละ” #ตบไหล่แล้วเดินออกมา

เกิดเป็น Microsoft ทำอะไรก็ผิด…. #คิดซิคิด