แนะนำ DNS hosting เพราะจากที่ใช้มาต้องบอกว่า UI เรียบง่ายดี ถ้ารู้เรื่อง Domain Name System (DNS) zone file อยู่แล้วคงจะใช้งานไม่ยากมากนัก โดยรวมแล้วที่นี่ Update ตัว DNS รวดเร็วดี ใครอยากทดลองใช้ ก็มีแบบฟรีให้ โดยให้ 1 domain ใช้ได้ 10 records แต่ถ้ามากกว่านั้น ราคาต่อปีก็ไม่แพงจนเกินไป แต่ถ้าใช้ร่วมกับ google apps อาจไม่เพียงพอคงต้องจ่ายเพิ่มเป็นรายปี แต่ส่วนตัวใช้กับ domain อยู่ 17 ตัวก็เสียเดือนละ $2.55 แลกกับความง่ายและระบบ DNS แบบ Fully redundant, fault-tolerant, reliable name servers (ระหว่าง London, Dallas, New York และ Auckland) ทั้งหมด 4 ระบบ มีระบบ API สามารถเขียนระบบเชื่อมต่อทำ Dynamic DNS ได้ และ รองรับ pingability.com สำหรับทำ service monitor ต่างๆ ซึ่งถ้าใครต้องการใช้ DNS Server ที่เป็นระบบโดยไม่อยากทำเอง และแยกจาก Server บริการต่างหาก อย่างเช่น Web หรือ Mail ด้วย ส่วนตัวแล้วนั้น ดูจะถือว่าคุ้มค่ามากๆ
Month: March 2013
ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่จริงๆ แล้วปัดภาระออกจากตัวเองมากกว่า…
โซล่าเซลล์เป็นพลังงานสะอาด แต่ตัวแผงและแบตเตอรี่ที่ใช้เก็บไฟฟ้า เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงรีไซเคิลนะ
ถ้ากลับมามองที่ราคาชุดโซล่าเซลล์ขนาด 360 วัตต์ นั้นราคา 76,900 บาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้พอที่จ่ายให้ตู้เย็นเล็กหนึ่งตู้กับหลอดไฟอีกไม่กี่หลอด เผลอๆ ใช้เตารีดรีดผ้าได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ นี่ยังไม่รวมราคาชุด inverter DC to AC และการบำรุงรักษาอื่นๆ อีก คือถ้าไม่รวยจริงมีเงินก้อน กว่าจะคืนทุนใช้เวลาขั้นต่ำ 7-8 ปีกว่าจะคืนทุน ระหว่างนี้ก็ลุ้นกันไป ><”
และถ้าเอาโซล่าเซลล์มาผลิตไฟฟ้าสำหรับคนทั่วไปโดยภาครัฐเองนั้น คาดว่าราคาต่อยูนิตหน่วยละ 10 บาทขึ้นครับ เพราะมันไม่ใช่แค่แผงไปวงแล้วจะได้ไฟฟ้า มันต้องคิดเรื่องการเก็บไฟฟ้า การนำส่งไฟ ที่ดินที่ต้องเสียไปกับการวางแผงดังกล่าวด้วย (ใช้พื้นที่มหาศาลมาก) และอย่าลืมว่าแผงพวกนี้เมื่อหมดอายุจะเอาไปทำอะไรต่อเพราะตัวแผงมันเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม (อย่างทีบอกไปตอนต้น)
ไอ้ตอนเริ่มน่ะไม่มีใครคิดหรอก แต่ตอนจบเนี่ยดิ เจอแต่พวกตัวใครตัวมัน คือถ้าศึกษาให้ละเอียดแล้วก็อยากจะรู้ว่ามันจะมีใครยอมจ่ายไหมเนี่ยแหละ
พลังงานลมไม่ต้องพูดนะครับ มลพิษทางเสียงสูงมาก แถมการบำรุงรักษายากกว่าโซล่าเซลล์อีก แถมลมในบริเวณประเทศไทยก็ไม่ได้แรงถึงขนาดทำแบบนั้นได้ตลอด คือถ้าจะไปริมทะเล แน่ใจนะว่าจะทำ เพราะพื้นที่ริมทะเลประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวครับ เดี่ยวจะงานเข้าโดนชาวบ้านประท้วงกันเสียเปล่าๆ หรือจะเอาไปไว้ในที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าก็ไม่ใช่ เพราะเหมือนคุณเอางาน Big Mountain ไปกรอกหูพวกสัตว์ป่าตลอด 365 วันเลยทีเดียว (แล้วหาว่ารักษ์โลก โธ่….)
นั่งคิดกันครับว่าจะเอายังไง แต่ที่แน่ๆ โจทย์คนไทยเรา อยากได้แต่ไม่อยากจ่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่จริงๆ แล้วปัดภาระออกจากตัวเองมากกว่า…
ว่าด้วยเลือกตั้ง กทม. 2556
ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งครับ แต่ก็ติดตามมาโดยตลอด เพราะตัวเองอยู่ กทม. มา 5-6 ปีแล้ว
ซึ่งก็ขอแสดงความยินดีกับ "คุณชายสุขุมพันธุ์" ที่สามารถรักษาตำแหน่งผู้ว่าไว้ได้ ก็หวังว่าจะทำตามนโยบาย "เริ่มต้นได้ทันที" ของพรรคท่านนะครับ ซึ่งรอบนี้มีต้องบอกว่า คนจดโพยนโยบายต่างๆ ของท่านไว้เยอะ และคะแนนรอบนี้ด้านผู้ไม่สนับสนุนท่านก็มากอยู่ อีกอย่าง แนวการหาเสียงของพรรคท่านก็เน้นความกลัวเข้าว่า ก็ได้ผลดีอยู่นะ (แม้ผมจะไม่ชอบเท่าไหร่) เพราะฉะนั้น ก็อย่าเพิ่งดีใจจนคิดว่าทำแบบเดิมๆ เหมือน 4 ปีที่ผ่านมาได้ก็พอ เพราะครั้งหน้า ใครลงต่อจากท่านอาจแพ้เพราะท่านก็ได้ (เห็นใจคนมาสานงานต่อท่านบ้าง)
สำหรับผู้สมัครอิสระทั้ง สุหฤท โฆสิต และท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวมา จะเป็นแรงสนับสนุนให้การเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปมีคนผู้สมัครอิสระออกมาให้เราได้เลือกเพิ่มมากขึ้น และพร้อมสู้กับกลุ่มพรรคการเมืองใหญ่ ทั้งยังมีความหลากหลายมากขึ้นแน่ ซึ่งดูจากคะแนนของทั้งสุหฤทและโฆสิตแล้วนั้น ผมมองว่าก็ไม่ถือว่าแย่ เป็นพลังและคะแนนที่ให้กับตัวผู้สมัครเอง ซึ่งอยากให้แปรเปลี่ยนเป็นคะแนนกำลังใจและครั้งหน้าคงทำการบ้านเพิ่มเติมสำหรับการหาเสียงให้กว้างมากกว่านี้ ถ้าจะกลับมาใหม่อีกรอบ เพราะผมเชื่อว่าถ้ายังทำงานเพื่อสังคมต่อเนื่องเรื่อยๆ ผมว่าก็คงได้คะแนนเพิ่มมากขึ้นในครั้งต่อไปแน่ๆ ซึ่งแน่นอนว่ารอบนี้เงียบไปหน่อยสำหรับผู้สมัครอิสระ (เข้าใจว่าทุนไม่ได้มาก ซึ่งผมก็เข้าใจได้)
ข้อเสนอการออกรุ่นใหญ่ของ Ubuntu อาจทำให้ต้องใช้แต่ LTS สำหรับงานด้าน Server
จากข่าว “Ubuntu พิจารณาปรับแผนออกรุ่นใหญ่เฉพาะ LTS และออกรุ่นย่อยให้ถี่กว่าเดิม”
โดยส่วนตัวก็ถือว่าดีในมุนของผู้ใช้งานทั่วไปมากกว่างานระบบ Server ที่ผมทำงานอยู่นะ
คือส่วนตัวใช้ Long Term Support (LTS) สำหรับงานด้าน Server เป็นหลัก และนานๆ ครั้งจะใช้ Interim Release (IR) กับงาน Server เพราะ LTS นั้นช่วยให้เราสามารถรัน App ที่พัฒนาได้ครบรอบ Software Support ได้ 18 เดือนแน่ๆ ซึ่งอย่างน้อยๆ ก็ไม่ทำให้ระบบต้องแก้ไขเรื่องเข้ากันไม่ได้กับระบบ OS โดยรวม แต่ถ้าต่อไปเป็น Rolling Release แทน Interim Release ก็อาจจะใช้แต่ LTS ล้วนๆ แทน ซึ่งก็ไม่แน่นะ ผมอาจจะเปลี่ยนใจมาใช้ Debian แทนก็ได้ เพราะ Rolling Release สำหรับงาน Server ดูจะเสี่ยงเกินไปหน่อย ขนาด 18 – 24 เดือนเปลี่ยน System ทีคนทำระบบหลายๆ คนยังร้องเลย ><”
เมื่อ Linux OS Virtual Machinces บน Windows Azure ไม่มี SWAP Partition แก้ไขยังไง?
โดยปรกติแล้ว ถ้าเราลง Linux โดยทั่วไปจะมีการตั้ง SWAP Partition ไว้เป็นปรกติอยู่แล้ว อย่างเช่นตัวอย่างที่ผมเอามาโพสก็คือ Ubuntu Server 12.04.2 LTS มีการติดตั้ง SWAP ไว้อยู่
การตรวจสอบทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง shell ด้านล่าง ซึ่งจะได้รายการ SWAP ออกมาว่ามีอยู่หรือไม่
ford@ns1:~$ swapon –s
แต่ถ้าเป็นบน Cloud นั้น ตัว Image ของ Linux OS จะถูกปรับแต่งบางส่วนเพื่อไม่ให้สร้าง SWAP พวกนี้ ด้วยเหตุผลด้านพื้นที่ที่ต้องจองไว้และความไม่จำเป็นโดยทั่วไปของ Cloud อยู่แล้ว (ปรกติใช้ Cloud สำหรับ Compute ข้อมูลที่อาจจะไม่ได้ใช้หน่วยความจำเยอะ) เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ลง OS ต้องได้ใช้ SWAP เสมอไป แต่ถ้าอยากลงก็มีทางให้อยู่
แน่นอนว่า Cloud ที่ผมใช้อยู่นั้น อยู่บน Windows Azure สำหรับใครที่ใช้ Amazon EC2 ก็คงต้องหาวิธี ซึ่งก็มีวิธีเช่นกัน (How to add swap to Amazon EC2 instance Ununtu 12.04 LTS?)
ตอนนี้ผมลองทำบน Virtual Machines ผมปัจจุบัน 1 ตัว ซึ่งเป็น Ubuntu Server 12.04.2 LTS โดยใช้คำสั่งข้างต้น ก็จะไม่เจอ SWAP แต่อย่างใด
อยากสร้างเรามีวิธี โดยจากคู่มือ Creating and Uploading a Virtual Hard Disk that Contains the Linux Operating System นั้นได้อ้างอิงตัว Windows Azure Linux Agent User Guide อีกทีครับ
สรุปง่ายๆ คือ เข้าไปแก้ไข Windows Azure Linux Agent Configuration ซึ่งอยู่ที่ /etc/waagent.conf (sudo ตัวเองเป็น root ก่อนแก้ไข)
เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาจะตัวตั้งค่าอยู่พอสมควร ให้หาส่วนที่ขึ้นต้นด้วย ResourceDisk ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 5 ตัวครับ
ResourceDisk.Format=y
ResourceDisk.Filesystem=ext4
ResourceDisk.MountPoint=/mnt/resource
ResourceDisk.EnableSwap=n
ResourceDisk.SwapSizeMB=0
ผมจะปรับให้ใช้ SWAP ขนาด 2GB โดยปรับค่า 2 ตัวดังนี้
#เปิดการใช้ SWAP
ResourceDisk.EnableSwap=y# 2GB หน่วยเป็น MB
ResourceDisk.SwapSizeMB=2048
เมื่อปรับแต่งตัวตั้งค่าทั้ง 2 ตัวแล้ว ก็ Save ตัวไฟล์แล้วออกจากตัว editor เสร็จแล้วสั่ง Deprovision ด้วยคำสั่งด้านล่าง
azureuser@fordantitrust:~$ waagent –force –deprovision
azureuser@fordantitrust:~$ export HISTSIZE=0
เมื่อสั่งรันคำสั่งจบก็ exit ออกมา
แล้วไปที่ Windows Azure Portal สั่ง Restart ตัว Virtual Machines รอสัก 3-4 นาทีโดยประมาณ ระบบจะบูทกลับมาใหม่ แล้วพิมพ์คำสั่ง swapon –s อีกรอบ จะเจอไฟล์ SWAP ของระบบอยู่ที่ /mnt/resource/swapfile
เพียงเท่านี้ก็จบกระบวนการ การสร้าง SWAP บน Cloud แล้วครับ