Just north of 100 people were intimately involved in refashioning the ThinkPad line for the modern era, with varying research studies taking place in the United States, China, Germany, France, India, Mexico, Russia, Brazil and Japan. Instead of just plopping a few paid participants down and asking them to fill out a form detailing their ideal laptop, the company “shadowed” individuals to see how they actually used a machine. Only a small segment of each group were genuine ThinkPad loyalists — the rest were early adopters of consumer technology, as well as those ardently opposed to selecting a ThinkPad as their primary machine. After all, one’s biggest opponent often provides the most truthful revelations.
กล่าวโดย Jason Parrish, manager of Lenovo’s ThinkPad strategy and planning
สำหรับตัวกล้องนั้น ThinkPad Tablet 2 มีมาให้ทั้งกล้องหน้าและหลัง โดยกล้องหลังให้มา 8MP พร้อม ไฟแฟลชแบบ LED รองรับการถ่ายวิดีโอ HD 720p และสำหรับกล้องหน้ามีความละเอียด 2.0MP ซึ่งสำหรับภาพถ่ายนั้น ไม่ได้ลองถ่ายมาดูครับ เพราะเวลาไม่พอที่จะได้ลอง
ตัวจุดเชื่อมต่อต่างๆ ให้มาค่อนข้างครบ ตัวแรกคือ full-size USB 2.0 พอร์ต ที่อยู่ด้านข้างเครื่อง ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ USB พอร์ต ปรกติบนโน้ตบุ๊กหรือเดสก์ท็อปเลย สามารถต่อ HDD เข้าไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ได้ แต่วันที่ลองยังไม่ได้ลองต่อเมาส์และคีย์บอร์ดลอง แต่คิดว่าได้ เหมือนกัน
ส่วนต่อมาคือ micro-USB 2.0 ซึ่งทำหน้าที่แค่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่เท่านั้น เหตุผลที่ใช้ micro-USB เพราะหาพอร์ตในการมาชาร์จไฟได้ง่ายตามมาตรฐาน European Union
เมื่อเป็นแท็บเล็ตสำหรับทำงานย่อมต้องมี dock connector มาให้แน่ๆ ซึ่ง ThinkPad Tablet 2 ก็มีมาให้เลย ทำให้สามารถต่อได้เพิ่มมากขึ้นทั้ง USB พอร์ต ที่ได้มากขึ้น หรือต่อเมาส์และคีย์บอร์ดได้อย่างง่ายๆ รวมไปถึงมี Folio Case with Keyboard ทำตลาดมาพร้อมด้วย
เมื่อสัก 5-6 ปีก่อน คนทั่วไปเริ่มรู้จักและคุ้นเคยกับ Web Feed โดยใช้พวก RSS format ที่พัฒนามาตั้งแต่ 1995 หรือ ATOM format ที่พัฒนามาตั้งแต่ 2005 ซึ่งเป็นรูปแบบบริการที่นำเอาข้อมูลเว็บออกมาเป็น format ที่ให้ตัวโปรแกรมอ่านหรือคัดกรอง โดยสามารถนำเนื้อหาเหล่านั้นไปรวมกันในบริการหรือซอฟต์แวร์ที่จะทำหน้าที่ดึงตัวข้อมูลนั้นๆ มาแสดงผลแบบรวมศูนย์ที่เดียว ซึ่งถูกใช้งานในหมู่คนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เชิงลึกหรือพวก Geek เป็นหลัก และเริ่มระบาดเข้าสู่กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปอยู่บ้างในช่วงปี 2005 เป็นต้นมา
แน่นอนว่าตัว Web Feed นั้นเป็นการนำลักษณะการใช้งานของ XML ซึ่งมีมาตรฐานอย่าง RSS และ ATOM ซึ่งทำงานคล้ายๆ กับ Web Services ที่ดูแสนยุ่งยาก (พวก SOAP Web Services) โดยเจ้า Web Services นั้นเอง ตัวนักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างต้องศึกษาโดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการเชื่อมต่อระบบแบบไม่จำกัดแพลตฟอร์ม ซึ่งแนวคิดนี้ถูกนำมาปรับใช้งานให้รูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้นเพื่อหวังว่าจะสามารถนำพาตัวเนื้อหาที่อยู่มากมายของบริการตัวเองส่งตรงถึงคนหมู่มากมายได้ง่ายที่สุด เพราะด้วยความที่ Web Feed มีรูปแบบไม่ซับซ้อน สร้างได้ง่ายพอๆ กับการสร้าง HTML จึงถูกนำไปเป็นกรณีศึกษาในการสร้าง Web Services แบบง่ายๆ และปูทางไปสู่การสร้างระบบที่ซับซ้อนต่อไป และโดยส่วนตัวแล้วนั้น มันเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบาย REST Web Services ที่มองว่าเข้าใจได้ง่ายที่สุดแล้ว เพราะ format นั้นคล้ายกันพอสมควร
แต่จนแล้วจนรอด ผ่านมาหลายปี มาตรฐาน Web Feed ก็อยู่ในมุมของมันเงียบๆ ทั้ง RSS 2.0 และ ATOM 1.0 ไม่ได้เด่นดังอะไรมากมาย Web Browser ต่างๆ ที่เคยใส่คุณสมบัติของการอ่านหรือเรียกใช้ Web Feed ก็เริ่มถอดออกจากหน้า User Interface ที่เรียกหาได้ง่าย และย้ายไปใส่ไว้ในมุมหนึ่งของตัวซอฟต์แวร์ อาจเพราะมันเข้าใจยาก คนใช้งานยังมีพฤติกรรมไม่เปลี่ยนแปลงมาก และการมาของ Social Networking เองก็ทำให้การเสพข่าวสารนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่าน News Feed ของ Social Networking เองเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดจาก Twitter, Facebook และ Google+ จึงเป็นสิ่งที่ผมบอกว่า “Web Feed ไม่เคยตาย เพราะจริงๆ มันไม่เคยเกิดในกลุ่มคนหมู่มากต่างหาก” เพราะระหว่างที่ Web Feed ยังคงอยู่ในระดับที่ผู้ใช้ทั่วไปนั้นสัมผัสมันได้ง่ายๆ บน Web Browser ก่อนหน้านี้นั้น ผู้ใช้งานต้องพบกับรูปแบบของ Web Feed ที่หลากหลาย นักพัฒนาเว็บนำ Web Feed ไปใช้งานในรูปแบบที่ผิดมาตรฐานบนความไม่เข้าใจตัว Web Feed อยู่เยอะ รวมไปถึงตัว Web Feed เองเริ่มมีมาตรฐานมากขึ้นเพื่อรองรับตัว Media และรูปแบบการนำไปใช้ที่เริ่มหลากหลายด้วย (จากแค่เป็นตัวกระจายข้อมูลแบบตัวอักษรอย่างเดียว ก็เอาไปรองรับ Photo Gallery หรือระบบ Video) ทำให้ตัว Parser ตัว Web Feed ต้องรับภาระมาตรฐานที่หลากหลาย และข้อผิดพลาดจากความไม่เข้าใจที่ดีพอของนักพัฒนาเองก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานนั้นแย่ลง ซึ่งจากที่เจอสำหรับตัว Web Feed ที่คนไทยนั้นพัฒนาและนำมาให้บริการก็คือ การใช้ TIS-620 ใน Web Feed แบบที่รูปแบบไฟล์เป็น Unicode (มาตรฐานแนะนำ UTF-8) การไม่ใช้ CDATA ในส่วนเนื้อหาของ Summary ที่เป็น HTML จนทำให้ตัว Parser นั้นทำงานไม่ได้เป็นต้น สิ่งเหล่านี้รวมๆ กัน ทำให้การนำไปใช้นั้นเริ่มยุ่งยากสำหรับคนที่เริ่มต้นใช้งานมากเลยทีเดียว