ประโยชน์ของไฟล์ Digital Camera RAW File (เท่าที่คิดออก)

Digital Camera RAW File หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไฟล์ RAW ในกล้อง Digital SLR นั้นถือเป็นการบันทึกข้อมูล "ดิบ" ที่ได้จาก Sensor ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลที่มีขนาดข้อมูล Color depth หรือ Bit depth ที่ระบบสี 12 bpp (bits per pixel) หรือ ระบบสี 14 bpp (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 12bits เท่ากับ 4,096 เฉดและ 14bits เท่ากับ 16,384 เฉด) โดยที่จำนวน bit ของระบบสีนั้นขึ้นอยู่กับกล้องว่าใช้ Sensor แบบใด (แพงหรือถูกด้วย) และเมื่อเทียบกับ 1 pixel เท่ากับระบบสี 8 bpp ของ JPEG ก็จะเห็นได้ว่าความแตกต่างกันมีเยอะมาก (ไล่เฉดสี 1 สีได้ 256 เฉด)

แต่เมื่อเอามาคิดในระบบการแสดงผลของสีในธรรมชาติโดยเทียบจาก JPEG นั้นใน 1 pixel ของระบบสี กับ 1 pixel ของระบบการแสดงผลของสีนั้นประกอบไปด้วยแม่สีของแสง (spectrum primaries) ที่มี 3 สี (3 channel) คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) หรือเรียกย่อๆ ว่า สี RGB ครับ ซึ่ง 1 pixel มี 3 สีมาผสมกันให้เกิดสีต่าง ๆ ในธรรมชาติที่มีความหลากหลาย นั้นหมายความว่า 256 (R) x 256 (G) x 256 (B) ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 16,777,216 เฉดสี หรือ 8 bpp ในระบบ RGB นั้นจะได้จำนวนสี RGB คิดเป็นบิตที่ 8 bpp x 3 color (RGB) ก็คือ 24bits นั้นเองครับ

แล้วถ้าลองมาคิดต่อในแบบ RAW ก็จะได้

RAW 12bits

4096 x 4096 x 4096 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 68,719,476,736 เฉดสี

( 12 x 3 = 36bits )

RAW 14bits

16384 x 16384 x 16384 ให้จำนวนการไล่เฉดสี RGB ได้ทั้งหมด 4,398,046,511,104 เฉดสี

(14 x 3 = 42bits)

จากตัวอย่างข้างต้นทำให้เราเห็นความแตกต่างของจำนวนข้อมูลอย่างชัดเจนจนทำให้คุณภาพของข้อมูลภาพนั้นแตกต่างกันด้วยเช่นกัน (มองที่คุณภาพของไฟล์ภาพ ไม่ใช่ความสวยงามของภาพ) ซึ่งจะเห็นผลตอนเราจำเป็นต้องนำมาแต่งภาพที่ต้องการความสมบูรณ์ของข้อมูลมาก ๆ

อีกอย่าง JPEG เป็น lossy compression ทำให้ข้อมูลที่ได้มีการสูญเสียจากการนำไปประมวลผลจากตัวกล้องเอง เพื่อให้ได้ภาพที่ปรุงแต่งตามการตั้งค่าของผู้ผลิตหรือตัวผู้ใช้เอง แล้วทำการบีบอัดรูปภาพให้ได้เล็กลง ซึ่งจะเอากลับมาปรับแต่งต่อยากมาก ๆ เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่น้อยกว่าหลายเท่าตัวนั้นเอง แต่การถ่าย RAW ไฟล์ก็ต้องแลกกับจำนวนการถ่ายช็อตที่ต้องการความต่อเนื่องได้ลดลง เพราะด้วยจำนวนข้อมูลที่ใหญ่มากของ RAW ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างกล้องกับ Memory เพิ่มมากขึ้น แต่ก็พอจะแก้ไขด้วยการใช้ Memory ที่มีความเร็วสูงๆ ได้เช่นกันครับ

อีกข้อดีของการใช้ไฟล์ RAW คือระบบการประมวลใน Computer มีความสามารถในการคำนวนและทำงานได้ดีกว่า Processor ในกล้อง ประกอบกับการปรับแต่งที่เหมาะสมกับสิ่งที่อยากได้ให้ได้มากที่สุดโดยผู้ใช้เอง ซึ่งถ้าอยากเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ เช่น White Balance ที่ปรับได้ดั่งใจ เปลี่ยนแปลงโดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพไป หรือ Exposure Value ที่ให้เราดึงค่ากลับมาได้อีก +-1 Stop เป็นอย่างน้อย ๆ (เช่นภาพด้านล่าง)

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการถ่ายรูป DSLR แล้วใช้ RAW น่าจะเหมาะกับคนที่นำภาพมาปรับแต่งต่อในภายหลัง และในสถานะการณ์ที่เราไม่มีเวลามาใส่ใจกับ White Balance และ Exposure Value มากนัก (ในกรณีที่เราต้องถ่าย under ลงไปอีกหน่อยเพื่อให้ภาพไม่เบลอก็จำเป็น ไม่งั้นไม่ได้ภาพก็น่าเสียดาย)

แต่ไม่ใช่ว่าการถ่ายแบบ RAW จะช่วยได้ทั้งหมด เพียงแต่ทำให้เราสามารถนำไฟล์ภาพที่ได้ถ่ายนั้นเอามาปรับแต่งได้มากกว่าเดิมจากที่ JPEG ทำได้เท่านั้น ซึ่งหลายทั้งมวลนั้นเป็นเรื่องของคนถ่ายรูปเป็นหลัก ที่ต้องทำคุณภาพของรูปภาพนั้นดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เสียก่อน

คิดซะว่าถ่าย RAW ก็เหมือนถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์มนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่าดีหน่อยตรงที่ถ่ายแล้วเห็นเลย แต่ไฟล์รูปเราก็ต้องเอามาทำการล้าง แล้วก็มาตกแต่งในห้องมืด (ทำผ่าน GIMP) แล้วค่อยอัดภาพทีหลัง (แปลงด้วย RAW Converter เป็น JPEG) อะไรแบบนั้นครับ จะไม่รวดเร็วแบบ JPEG ที่ถ่ายแล้วใช้ได้เลยอะไรแบบนั้น (อาจจะแต่งบางตามสมควร)

แต่อย่านำมาสับสนกับการแสดงผลในจอภาพนะครับ เพราะจอภาพในปัจจุบันนั้นแสดงผลที่ 32bits (RGB) ซึ่งจะเป็น 16,777,216 สี ที่ 24bits ส่วนอีก 8 bits ที่เหลือเป็นเรื่องของการโปรงแสงของสี (degree of transparency) ครับ โดยภาพที่ตามนุษย์เห็นนั้นสามารถไล่เฉดสีได้จะอยู่ที่ประมาณ 16-24bits ครับ ไม่แน่ใจข้อมูลจำคราวๆ ครับ

ปล. ถ่ายเบลอ ถ่ายหลุดโฟกัส อย่างงี้ต่อให้ถ่าย RAW ก็ไม่ได้ช่วยอะไร อันนี้มันอยู่ที่คนถ่ายล้วนๆ แล้วหล่ะครับ

16592172

16592369 

ผิดพลาดหรือต้องการเพิ่มเติมก็เสนอความคิดเห็นได้เลยนะครับ ศึกษามาเดือนกว่าๆ เลยเอามาสรุป ๆ ไว้

เก็บกล้องยังไงดี ?

เป็นคำถามที่ผมต้องหาคำตอบเองนับตั้งแต่ซื้อกล้อง DSLR Nikon D80 มา เพราะส่วนใหญ่มีแนวคิดเก็บกล้องไม่เหมือนกัน บางคนก็ไม่อะไรมาก ใส่กระเป๋า แล้วเอามาใช้สัปดาห์ละครั้ง ตามแต่ว่าจะถ่ายมากถ่ายน้อย บางคนก็เอาใส่กล่อง หรือตู้ควบคุมความชื้นอย่างดี ซึ่งกล่องควมคุมความชื้นราคาก็ 3-4,000 ส่วนตู้ก็เกือบหมื่น ถึงราคาหลักหมื่น ราคาระดับนี้ดูมาก แต่ถ้าดูจากราคากล้องรวมถึงเลนส์ที่เราจะซื้อในอนาคตที่ราคาหลักหมื่นทั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ได้ดูแพงเกินไป แต่ในช่วงแรก และระยะกลางๆ การเก็บด้วยวิธีควบคุมความชื้นแบบบ้านๆ ที่ใช้งบราคาไม่แพงมากก็ช่วยให้เราประหยัดลงไปได้เยอะครับ

เหตุที่ต้องควบคุมความชื้น เพราะ …..

2009-05-01_230745 

รา และฝ้าขึ้นเลนส์และ CCD/CMOS (Image sensor) ในกล้องครับ

(ในภาพ Nikon ED Nikkor 80-200 F2.8 D ที่ยืมมาจากพี่ @hongsyok แล้วพี่เค้าเก็บไว้นานมากแล้ว เลยเอามาเช็ด แล้วเจอพอดี เลยถ่ายรูปเก็บไว้สักหน่อย)

ผมเลยต้องจัดกล่องสูญญากาศมาครับ เป็นของ Super Lock จริงๆ ผมมี Lock & Lock อีกตัวนึงแล้ว แต่เอาไว้ใส่อย่างอื่นด้วย และ Super Lock ราคาถูกกว่าและหาซื้อง่ายกว่า ตาม BigC มีขายทุกสาขา ซื้อเอาขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้นั้นแหละครับ

IMAG0827

IMAG0828

แล้วก็จัดซิริก้าเจลอย่างดีมา ในภาพด้านล่างผมซื้อแบบ 1 กิโลกรัมครับ (ถุงละครึ่งกิโลกรัม) ราคาก็ 200 บาทด้วย (ไม่รวมค่าส่ง) วิธีการดูว่าซิลิก้าเจลเริ่มดูดความชื้นไม่ไว้ก็คือ มันจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินสวยๆ แบบในรูปด้านล่างเป็นสีม่วงครับ เมื่อม่วงมากๆ ก็ได้เวลาเอาไปอบให้ความชื้นละเหยออกมา หรือเททิ่งเปลี่ยนใส่อันใหม่เลยก็ได้

P1100592

P1100594_1

แล้วก็ซื้อ Hygrometer ที่ดีๆ หน่อย เอามาวัดความชื้นในกล่องไว้ จะได้รู้ว่ามากหรือน้อยเกินไป

โดยที่ระดับความชื้นที่กำลังดีคือ 40-50% ถ้าน้อยกว่า 40% จะทำให้พวกยางต่างๆ กรอบและแตกได้ ส่วนมากกว่า 50% อาจทำให้ราเจริญเติบโตได้ง่าย

P1100587 

แต่ปรกติถ้าเราปิดฝาออกมาความชื้นในอากาศจะมากกว่าด้านในจะไหลเข้าไปอยู่แล้ว ซึ่งต้องให้เวลาซิลิก้าเจลมันดูดความชื้นสัก 6 – 18 ชั่วโมงครับ ความชื้นจะค่อยๆ ลดลงอยู่ในระดับเหมาะสม ซึ่งราและฝ้ามันไม่ขึ้นง่ายขนาด 18 ชั่วโมงแล้วแตกระแหงครับ แต่ใช้เวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์หน่อย แต่การทำให้สภาพของอากาศไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตก็ช่วยป้องกันได้ครับ

การเก็บแบบนี้เหมาะกับห้องและสถานที่ที่มีความชื้นสูงครับ เช่นในห้องแอร์ บ้านพักที่มีต้นไม้เยอะ ๆ หรือบ้านไม้ครับ ยิ่งผมอยู่แมนชั่นที่มีสภาพปิดทำให้ผมเปิดแอร์นอน ตื่นเช้ามาจะมีความชื้นสูงมาก (เคยเอา Hygrometer วัด จะได้อยู่ที่ 60-70%) เลยจำเป็นต้องเก็บแบบนี้ครับ

การลงทุนเก็บแบบนี้นั้นโดยรวมไม่สูงมากครับ

  • Super Lock ราคาประมาณ 200 – 300 บาท
  • ซิลิก้าเจล ราคาถุงครึ่งกิโลกรัม 100 บาท
    มันจะหมดอายุภายใน 6 เดือนหลังจากเปิดถุงนะครับ ผมใช้ได้ประมาณ 1-2 เดือน ใช้แบบเปลี่ยนเลย ไม่เอามาอบอะไรทั้งสิ้นกลัวสารตกค้าง ในตู้ไมโครเวฟ
  • Hygrometer แบบดี ๆ หน่อย ก็ 300 – 400 ค่าความผิดพลาด < 5% (แบบตัวอย่างด้านบนกลมๆ ซื้อจาก Fotofile ราคา 400 บาท) และแบบถูก ๆ ก็มี 60 บาท หาได้ตามบ้านหม้อ (รูปด้านล่างสี่เหลี่ยมขาวๆ นั้นแแหละครับ) แต่ค่าความผิดพลาดจะอยู่ที่ 5%-10% ครับ

ราคารวมแล้วชุดนึงก็เก็บกล้องและเลนส์ได้พร้อม ๆ กันก็ประมาณ 500 – 1,000 บาท ซึ่งมันจะไปแพงที่ตัว Hygrometer นั้นแหละครับ ตัวกล่องถ้าเอาแบบดี ๆ อย่าง Lock & Lock ก็แพงกว่าของ Super Lock ประมาณเท่าตัวครับ (กล่องด้านล่างสูง ๆ นั้นแหละครับ) อันนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสมและกำลังทรัพท์ครับ

IMAG0863

ปล. ภาพที่ถ่ายนี่ ถ่ายด้วยกล้องหลากลายตัวครับ เก็บๆ รวมรวมมาเขียนใน blog ตอนนี้ครับ

ความเร็วของ SDHC Card ในการอ่านและเขียนข้อมูล

SDHC หรือ SD High-Capacity Cards นั้นเป็นชื่อเรียก SD Card ที่มีความจุตั้งแต่ 4GB ไปจนถึง 32GB (ณ.วันที่ตั้งกระทู้นี้) โดยที่พัฒนาด้วยกรอบที่มีเรื่องของความเร็วในการเขียนข้อมูล ที่การันตีความเร็วขั้นต่ำในการอ่านและเขียนข้อมูลไว้ (specify three data-writing speeds at guaranteed minimum data transfer rates)

โดยที่ SDHC นั้นมี speed classes ที่ Class 2, Class 4 และ Class 6 โดยมีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลขั้นต่ำ ที่ 2MB/s, 4MB/s และ 6MB/s ตามลำดับ ซึ่งความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลนั้น โดยทั่วไปวัดกันที่ X Speed ก็ได้ (เหมือนกับ X ใน CD/DVD นั้นแหละ)

Rating 	 	 Speed (MB/s) 	SDHC Class
6x 	 	 0.9 	 	 n/a
13x 	 	 2.0 	 	 2
26x 	 	 4.0 	 	 4
32x 	 	 4.8 	 	 4
40x 	 	 6.0 	 	 6
66x 		 10.0 	 	 6
100x 		 15.0 	 	 6
133x 		 20.0 	 	 6
150x 		 22.5 	 	 6
200x 		 30.0 	 	 6
266x 		 40.0 	 	 6
300x 		 45.0 	 	 6

ผมซื้อ SDHC Apacer 8GB Class 6 ที่ควรจะ R/W ที่ 6MB/s แต่ใช้จริง ๆ ก็ทำงานได้ที่ ~9-14MB/s ครับ ซึ่งก็ถือว่าปรกติ ส่วนว่า Class 4 ทำงานเร็วกว่า Class 6 ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อจะแปะไว้เป็น Class อะไรและด้านในได้ใช้ chip ด้านในดีกว่าหรือเปล่า ซึ่งผ่าน QC ขั้นต่ำ ส่วนถ้าทำได้มากกว่านั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติที่ทำได้เฉยๆ ไม่ใช่สาระสำคัญเท่าไหร่ (ปรกติผู้ผลิตมักทำเกินอยู่แล้ว)

ซึ่งความเร็วที่ได้จะมากจะน้อยมีปัจจัยอีกอย่างหนึ่งก็คือ Writer/Reader เพราะตัว SD Card มันไม่มี Controller ในตัวครับ ต้องอาศัยตัว Writer/Reader มาช่วย ถ้าตัว Writer/Reader มันอ่านเขียนช้าก็ทำให้ SD Card ทำงานไม่เต็มที่เช่นกัน

แต่ตอนนี้อยากได้ SanDisk Extreme III 30MB/s (Class 6, 200x) มากครับ สัก 4GB กำลังดี –_-‘

image image

อ้างอิงจาก http://www.sdcard.org/developers/tech/sdhc/ และ http://en.wikipedia.org/wiki/Secure_Digital_card

อาจารย์เฉลิมชัย VS เงิน

เคยดู "วู๊ดดี้ เกิดมาคุย" ตอนบุกไปหาอาจารย์เฉลิมชัยไหมครับ ผมชอบมากตอนวู้ดดี้ถาม

  • "อาจารย์อยู่แบบเรียบง่าย แต่จำเป็นต้องบินแบบเฟิร์สคราสมั้ย?"
  • "อ๋อ ไอ้นั่นมันแน่นอน"
  • "เพราะว่า?"
  • "ก็กูมีเงิน"
  • "เท่านั้นเอง??"
  • "เอ๊า ก็มีเงิน ก็ไปให้มันสบายสิไอ้วู๊ดดี้ มึงมีเงินมันจะนั่งเรือไปสิงคโปร์ นั่งไปต่อเกาะลังกา แล้วมึงก็ #$@$%@# มึงบ้าเหรอ มึงมีเงินนี่ ค่าเครื่องบินกี่ตังค์เอง"
  • "มันเป็นแสนเลยนะ!!"
  • "ก็เป็นแสนมันกระจอกสำหรับกูนี่ กูนั่งแล้วกูสบายตูดกูนี่"

แล้วอาจารย์แกก็สรุปว่า "เงินมันช่วยให้เราสุขสบายทางกายได้ มีเงินก็ทำให้ตัวเองสบายได้ แต่ไม่มีเงินก็ทำให้ตัวเองสุขสบายได้เหมือนกัน แต่นั่นมันความสุขทางใจ (ซึ่งไม่ต้องใช้เงิน)"

ฮาสุดๆเลยตอนนี้ แต่ก็ได้ข้อคิดอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งน่าจะเข้ากับเรื่องนี้ได้พอดี

จาก http://www.blognone.com/node/12191#comment-111196