เพลง : กูเป็นนักศึกษา
ศิลปิน: พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
ทุกวัน ทุกวัน เห็นเขารีบออกไป แต่งตัวทันสมัย ขับรถซิ่ง
อือฮื้อ อาฮ้า เทวดาฟ้าดิน กุ๊กกิ๊ก ดุ๊กดิ๊ก สะดิ้งมาเต็มคัน
ชาวบ้านยืนมองแล้วอดใจไม่ไหว เอ่ยถามขึ้นทันใดว่าไอ้หนุ่มเอ้ย
มึงเป็นใคร ?
กูเป็นนักศึกษา นักล่าปริญญา ใฝ่ฝันขึ้นไปเป็นใหญ่
แล้วยังไง ?
กูจะรวยน่ะสิว่ะ ความรู้กูแน่นหนากูจะมาเป็นนายมึง
รำพึงรำพันน้อยใจวาสนา ไม่มีการศึกษาอนาคตสั่นไหว
จับกังคนงานยังฝันหวานเกินไป น้อยอกน้อยใจไม่ได้เป็นนักศึกษา
เข้าเทคเข้าบาร์ ดึ๊บดั๊บกันเข้าไป ชาติจะเป็นยังไงไม่ใช่เรื่องนักศึกษา
มึงเป็นใคร ?
กูเป็นนักศึกษานักล่าปริญญา ใฝ่ฝันขึ้นไปเป็นใหญ่
แล้วยังไง ?
กูจะรวยน่ะสิว่ะ ความรู้กูแน่นหนากูจะมาเป็นนายมึง ……..
ชาวบ้านถามว่าคุณจะทิ้งผมไปไหน ยากจนเข็นใจรอให้คุณนำพา
คุณขึ้นสวรรค์ผมไม่เคยคิดอิจฉา ขอเถอะคุณจ๋าอย่าทิ้งผมไปไหน
มึงเป็นใคร ?
กูเป็นนักศึกษานักล่าปริญญา ใฝ่ฝันขึ้นไปเป็นใหญ่
แล้วยังไง ?
กูจะรวยน่ะสิว่ะ ความรู้กูแน่นหนากูจะมาเป็นนายมึง
มึงเป็นใคร ?
กูเป็นนักศึกษานักล่าปริญญา ใฝ่ฝันขึ้นไปเป็นใหญ่
แล้วยังไง ?
กูจะรวยน่ะสิว่ะ ความรู้กูเหนือกว่า กูจะมาเป็นนายมึง
บทเพลงกระแทกใจคนหลาย ๆ คน (รวมถึงผมด้วย) ในวันที่เราเรียนหนังสือ และเข้าศึกษาในระดับต่าง ๆ เราไขว้ขว้าความสำเร็จ เราเหยียบหัวคนที่ มีความรู้น้อยกว่าตัวเองมาเท่าไหร่ คนบางคนที่มีความรู้ไม่มากเท่าเรา แต่เรากลับมองว่าเค้าเหล่านั้นไม่รู้ มองว่าโง่กว่าเรา แต่เราไม่มองว่า "ทำไม" เค้าเหล่านั้นถึงได้เป็นแบบนั้น อาจจะเพราะสภาพแวดล้อม ทั้งด้านการเลี้ยงดู และทางด้านการเงินในตอนเริ่มปฐมวัยมาแต่เด็ก หลังจากฟังเพลงนี้สิ่งที่ต้องนำมาฉุกคิดคือ เรากำลังเรียนเพื่ออะไรกันแน่ เรียนเพียงแต่สนองความอยากด้านการเงิน ที่เรียนเพื่อปรับฐานเงินเดือนตามวุฒิฯ และความมั่งคั่งเท่านั้น หรือเพื่อการพัฒนาต่อสังคมโลกที่ได้รับผลจากการที่เราเรียนรู้และต่อยอดทางความคิด
ทางสองสายที่บางครั้งไม่จำเป็นต้องเลือก เพราะมันไปด้วยกันได้ เพียงแต่ในสังคมไทย ทางทั้งสองกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น อาจจะเพราะสังคมไทยโดยส่วนใหญ่ต้องการผลงานที่ฉาบฉวย ต้องการเพียงวันนี้ พรุ่งนี้ ประมาณงานผักชีโรยหน้า ปีงบฯ เป็นปี ๆ ไป พลาญเงินไปเรื่อย ๆ สนุกสนานกันไป
น่าเสียดายสังคมการศึกษาสมัยนี้ยึดติดภาพลวงตา ทั้ง ๆ บางครั้งไม่มีอะไรเลยที่ได้กลับมา (แถมเสียเงินอีก -_-‘) แถมภาพลวงตาเหล่านั้น กลับมาดูถูกเพื่อนรวมโลกของตัวเอง แทนที่จะช่วยกันเพิ่มพูนความรู้ให้แก่กันและกัน แถมไม่ยอมรับฟังเหตุผล เพียงเพราะเรามีวุฒิการศึกษาสูงกว่า (แต่บางครั้งใช้งานไม่ได้ในโลกความเป็นจริง)
ผมอาจจะไม่ได้เป็นนักการศึกษา แต่ก็ไม่อยากทำตัวเป็นนักศึกษาความรู้มือสอง
ผมเคยช่วยพ่อผมทำโปรแกรมคิดเงินภายในร้านอาหาร และเป็นโปรเจ็คส่งอาจารย์ตอนปี 2 ด้วย แต่พอทำไป ดู ๆ แล้วใช้งานไม่ได้ในความเป็นจริงแม้จะลองเก็บ requirement เต็มที่ ข้อมูลครบ จริง ๆ ทำเลียนแบบคล้าย ๆ MK ในด้านการสั่งอาหารและคิดเงิน แต่เราไม่ได้ทำส่วนของ flow นำเข้าห้องครัว แถมเราไม่มี Pocket PC ให้ลอง เลยทำ เป็น webbase แทน แต่กลับยุ่งยากและช้ากว่าวิธีเดิม ๆ เพราะเราไม่เข้าใจธรรมชาติของงานที่บางครั้งเขียน และกดเครื่องคิดเลขเองจะเร็วกว่า ถ้าจะทำให้ดี ต้องทำครบวงจรจริง ๆ คือมีระบบแจ้งเข้าครัวด้วย แต่ยากเข้าไปอีก เพราะครัวนั้นเอาคอมฯ เข้าไปคงพังภายในเดือนเดียว T_T เลยพับโครงการไป แต่ก็ยังคงคิดว่าจะทำยังไงกับตรงนี้ต่อดี เพราะถ้าทำได้ น่าจะนำออกจำหน่ายได้แน่ ๆ เพราะร้านอาหารแบบนี้มีเยอะมาก แต่ที่แน่ ๆ พ่อผมก็บอกไว้ว่า "ต้องไม่เบรคพฤติกรรมเก่า ๆ หรือปรับไม่มาก flow การทำงานต้องคงเดิม หรือปรับให้น้อยที่สุด เพราะเราทำงานร่วมกับคนหลากหลายแบบ หลากหลายวุฒิการศึกษา อย่าคิดว่าทุกคนฉลาดและเข้าใจเหมือนกับเรา" โดนเลยคำพูดนี้ เลยต้องนั่งปรับ ๆ แนวคิดเยอะมาก ๆ
จากตัวอย่างของผมเนี่ย บางครั้ง ถ้าเราเอาสิ่งที่เราเรียนมาพัฒนางานพื้น ๆ ภายในครอบครัวเรา และ/หรือนำเสนอต่อคนภายในสังคมเราก่อน ตอบโจทย์สังคมเราให้ได้ น่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะเท่าที่เห็น เรามักทำอะไรสนองตลาดที่กว้าง แต่มักลืมไปว่าช่องทางภายในสังคมเรายังมีอีกมากจนบางครั้งเราหลงลืมไปเยอะมาก
แถมด้วยปัญหาด้านลิขสิทธิ์ บางครั้งงานที่เรานำเผยแพร่ อาจจะดีกว่าของต่างชาติในเชิงความต้องการที่ตรงประเด็น แต่เพราะว่า option/feature เราอาจจะไม่มากมาย แต่โดนแนวคิดเก่า ๆ ทำลายไป เพราะเรามี option/feature น้อยกว่าเท่านั้น แนวคิดเดียวกับ "อาหารแช่แข็งไม่อร่อย"