เซต Editplus เพื่อ Compile และเปิดไฟล์ Java ให้ทำงาน

  1. ทำการลงโปรแกรม EditPlus และ SDK ของ JAVA ชื่อ J2SE Development Kit ลงในเครื่องก่อน เพื่อให้ในเครื่องมีตัว Compile และ Editor เพื่อใช้ในการทำงานเสียก่อน
  2. เปิดโปรแกรม EditPlus และไปที่ Tools และตามด้วยเมนู Configure User Tools
  3. ตัวโปรแกรมจะเปิดหน้าต่างใหม่ ที่ชื่อว่า Preferences และตัว Cursor อยู่ที่ User tools ให้คลิ้กที่ปุ่ม Groups Name เพื่อทำการเปลี่ยนชื่อ Groups เป็น JAVA ซึ่งระบบจะขึ้นหน้าต่าง Rename User Tool Group ให้กรอง และเมื่อกรองเสร็จแล้วกด OK ออกมา และเราจะเห็นชื่อ Group 1 จากของเดิม เปลี่ยนเป็น JAVA แล้ว
  4. ต่อมาเราจะมาทำการสร้างตัว Command ในการ Compile ในตัวโปรแกรม EditPlus โดยไปที่ปุ่ม Add Tools และไปที่ Program ซึ่งโปรแกรมที่เราจะ Add เข้านี้มีชื่อว่า JAVA Compiler หรือชื่อ javac.exe นั้นเอง โดยให้ Browse ไปที่อยู่ของ javac.exe ซึ่งส่วนมากจะอยู่ใน directory  bin ของ JAVA รุ่นนั้นๆ เช่น "C:\Java\jdk1.5.0_01\bin\javac.exe" ซึ่งแล้วแต่เราว่าเราจะเอาไว้ที่ไหนนั้นเอง เมื่อ Browse หาเจอแล้ว ตัว Path ของไฟล์ javac.exe จะถูกนำมาใส่ไว้ในช่อง Command ให้เราเลยทันที และใน Menu Text ให้ใส่ Compile เข้าไป
  5. จากนั้นในส่วนของช่อง Argument  จะใช้ในการใส่ค่าของชื่อไฟล์ของเรา ในที่นี้ให้ไปที่ปุ่ม   และเลือกที่ File Name ซึ่งตามหลักการ Compile ใน Command Prompt ใน Dos นั้นจะมีรูปแบบคือ "C:\javac HelloWorld.java" ตัวโปรแกรมจะทำการใส่ไปให้เราเองดังที่ได้กล่าวไปในตอนแรกแล้ว
  6. ในช่องของ Initial directory นั้นปกติใช้เพื่อทำการบอกตัวโปรแกรมว่าให้ทำการ compile ที่ไหน โดยไปทีปุ่มเครื่องหมายลูกศรชี้ลง แล้วเลือก File Directory เมื่อทำทั้งหมดเสร็จแล้วให้กด Apply
  7.  ต่อมาเราจะมากล่าวถึงในส่วนของการให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา JAVA นั้นสามารถทำงานได้หลังจากทำการ Compile แล้ว ให้ที่ไป Add Tools และไปที่ Program ซึ่งโปรแกรมที่เราจะ Add เข้านี้มีชื่อว่า JAVA Interpeter หรือชื่อ java.exe ซึ่งส่วนมากจะอยู่ใน directory  bin ของ JAVA รุ่นนั้นๆ เช่น "C:\Java\jdk1.5.0_01\bin\java.exe" นั้นเอง เมื่อ Browse หาเจอแล้ว ตัว Path ของไฟล์ java.exe จะถูกนำมาใส่ไว้ในช่อง Command ให้เราเลยทันที และใน Menu Text ให้ใส่ Run เข้าไป
  8. จากนั้นในส่วนของช่อง Argument  จะใช้ในการใส่ค่าของชื่อไฟล์ของเรา ในที่นี้ให้ไปที่ปุ่ม   และเลือกที่ File Name Without Extension ซึ่งตามหลักการ Interpeter Running ใน Command Prompt ใน Dos นั้นจะมีรูปแบบคือ "C:\java HelloWorld" ตัวโปรแกรมจะทำการใส่ไปให้เราเองดังที่ได้กล่าวไปในตอนแรกแล้ว
  9. เมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้ว เราก็จะได้คำสั่งในการ Compile และ Run ออกมา
  10. ทดสอบโดยการเขียนโปรแกรมทดสอบ HelloWorld
    class HelloWorld {
          public static void main(String[] args) {
               System.out.println("Hello World!");
          }
    }
  11. และทำการ Save เป็น HelloWorld.java (หรือให้ชื่อไฟล์เหมือนกับชื่อของ Class ที่ทดสอบ)
  12. เมื่อ Compile จะได้ผล
    ———- Compile ———-
    Output completed (1 sec consumed) – Normal Termination
  13. และเมื่อ Run จะได้ผล
    ———- Run ———-
    Hello World!
    Output completed (0 sec consumed) – Normal Termination
  14. เมื่อได้แบบนี้แล้วแสดงว่าติดตั้งแต่สมบูรณ์เรียบร้อย ……

ทำความสะอาดเครื่อง Printer เพื่อนยากของเราสักหน่อย ………

ทำความสะอาดเครื่อง Printer สักหน่อย ………

เมื่อวานนี้เพิ่งเอารางที่รองรับน้ำหมึก ที่ใช้ในการล้างน้ำหมึกออกจากหัวพ่นออกมา ซึ่งถ้าใครแกะออกมาคงตกใจว่าหมึกทำไมมันเยอะมหาศาลมาก ขนาดที่ว่าเอามันแข็งมากๆ กว่าจะแงะออกมาได้ มันเป็นก้อนๆ เลยครับ

จริงๆ HP DJ 930c ของผมเนี่ยมีอายุได้ 4 ปีแล้ว แต่พิมพ์งานได้เนียบเหมือนเดิม แต่มาระยะหลังๆ ตัวอักษรที่พิมพ์เป็นสีดำมันออกมาลายๆ แรก ๆ ก็ว่าน่าจะเป็นที่ตลับหมึก แต่พอไปให้ช่างที่เติมหมึกดูหัวก็บอกว่าใช้ได้นิ เลยสัญนิฐานว่าเป็นที่เครื่อง ช่างแนะนำว่าให้ถอดออกมาเอาหมึกที่คั่งออกมาหรือ เช็ดทำความสะอาดบริเวณ ที่พักตลับหมึกดูน่าจะหาย

ผมก็จัดการแงะเครื่องเลย คือไม่กลัวมันหมดประกันหรอก เพราะว่ามันหมดไปตั้งนานแล้ว และจากที่สอบถาม HP ก็ได้คำตอบว่ารุ่นนี้ไม่ support อะไหล่แล้ว คาดว่าไม่ได้ spare part ไว้แล้วในไทย คือถ้าเครื่อง HP DJ 930c ของผมเสียก็ซื้อใหม่ได้เลย โดยเอาเครื่องไปเทิร์นในราคาส่วนลดเครื่องใหม่ 400 – 500 บาท ครับ ซึ่งผมนี่งงเลย เครื่องผมซื้อมา 9,000 กว่าๆ ได้ แต่ขายเทิร์นได้แค่เนี้ย แต่เอาเหอะ ช่างมัน ไม่คิดมากเพราะว่าไม่ได้คิดจะเทิร์นอยู่แล้ว เลยลองแกะมาทำความสะอาดบริเวณที่พักตลับหมึกก่อน ดีกว่า เพราะจากการสัญนิฐานของตัวเองน่าจะเป็นบริเวณที่สัมผัสกับตัวหัวพ่นหมึกมากที่สุดที่หนึ่ง การประกอบกับที่พักตลับหมึกและที่ล้างหัวพ่นอยู่ที่เดียวกันเลยทำทีเดียวได้สองอย่างเลย แต่รุ่นเล็กอีกตัวของผมคือ HP Deskjet 3325 ของผมมันอยู่กันคนละที่ ก็เลยว่าจะทำเหมือนกัน เพราะว่าหมดประกันแล้ว ตอนนี้ก็เลยทำดูดีกว่า ที่กว่าไปซ่อม หรือให้ที่ ศ. ล้างให้คงเสียค่าบริการอีกมากเลยหล่ะ และการทำแบบนี้ก็อาจทำให้การพิมพ์งานของผมดีขึ้นเหมือนซื้อเครื่องใหม่ได้เลย เพราะจากที่ได้เอาไฟฉ่ายสังเกตุดูมันมีคราบเยอะมากๆ และมีก้อนของน้ำหมึกจับกันเป็นก้อนแข็งขนาด 1″ x 0.5″ ตับตัวอยู่ 1 – 2 ก้อน โดยประมาณ

การแกะก็ทำไม่ยาก ใช้ความรู้ทางช่างนิดหน่อย ประกอบกับทักษะการประกอบหุ่นยนต์ เล็กหน่อย คือมันคล้ายๆ กันน่ะ ถ้าอ่านในคู่มือ ก็คงมีแต่อันนี้มันเร่งๆ เพราะมีงานต้อง print อยู่ เลยจัดการสำรวจ และแงะ แกะ เกามันออกมาซึ่งก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร เพราะว่าตัวเครื่องนี่มีน็อตแค่ 2 ตัว และมีสลักยึกตัวเครื่องระหว่างด้านฐานตัว Printer กับตัวฝาครอบ อยู่ 4 จุด และฝาครอบถาดกระดาษอีก 2 จุดก็แกะมันออกมาได้แล้ว เลยเห็นที่พักตลับหมึก และบริเวณสำหรับล้างหัวพ่นอยู่ก็ใช้ แอลกอฮอลในการเช็ดๆ ส่วนที่เป็นที่พักหมึก แนะนำว่าอย่าใช้ทินเนอร์ เด็ดขาด เพราะว่าบางรุ่นเป็นยาง อาจทำให้ละลายได้ ให้ใช้แอลกอฮอลผสมน้ำอ่อนๆ เช็ดจะดีกว่าครับ เช็ดออกมาได้ หมึกที่เป็นก้อนขนาดใหญ่รวมๆ กันแล้วขนาดประมาณ 1″ x 2″ ได้ครับ นี่สะสมมา 4 ปีนะครับ …. และทำการเช็ดทำความสะอาดบริเวณแท่นพักตลับหมึกด้วย บริเวณนั้นส่วนมากจะเป็นยาง ครับ ใช้แอลกอฮอลผสมน้ำนิดนึง ก็ออก ทำความสะอาดอีกหน่อยก็เสร็จ …….

และทำการทดสอบการพิมพ์ได้ผลในการพิมพ์เป็นเยี่ยมครับ ตัวอักษรที่ลายๆ กลับมาคมดั่ง laser เหมือมเดิมครับ …… ใครที่ใช้ HP หรือ Epson ลองๆ สักเกตุดูนะครับ ….. และไม่แนะนำให้แกะเครื่องถ้ายังอยู่ในประกันครับ แต่ว่าถ้าหมดประกันแล้วก็ตามสบายท่านแล้วกัน

อ่อ อีกเรื่องครับ การที่แท่นพักตลับหมึกมีคราบมากๆ เป็นสาเหตุ อีกสาเหตุที่ทำให้หัวพ่นหมึกของ inkjet ตันครับ ……

และหัวพ่นของ inkjet ห้ามใช้ ทินเนอร์ในการเช็ดนะครับ ให้ใช้น้ำประปาอุ่นๆ สะอาดๆ เช็ดโดยใช้สำลีจุ่มน้ำเช็ดออกครับ เพราะว่าผมเคยใช ทินเนอร์เช็ดหัวพ่นของตลับหมึก HP ที่เกือบหมดแล้ว ตลับพังเลย เพราะว่าหัวพ่นมันเสียครับ ….. T_T