@FordAntiTrust

“รู้อะไรให้กระจ่างแต่อย่างเดียว ขอให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล”… สำนวณ ที่ไม่มีวันเป็นจริง ในปัจจุบัน และอนาคต

ในปัจจุบัน ความรู้ และความเชี่ยวชาญทุกอย่าง ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว และเดียวดาย อีกต่อไป ทุกศาสตร์ และความรู้นั้น มีความเชื่อมโยงกันอยางแยกไม่ออกแล้ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามที การที่หลายๆ คนคิดว่าเก่งเพียงอย่างเดียวก็อยู่รอด ผมกลับคิดว่าเค้ากลับกลายเป็นคนที่มองอะไรเพียงด้านเดียว เท่านั้น คือมองในด้านที่เค้าเหล่านั้นถนัด เช่น

เสนาธิการทหาร กับขุนผลออกรบ มักไม่ลงรอยกัน ดั่งในการทำศึกษาสงคราม ในเรื่องเล่าสามก๊ก นั้นข่งเป้ง กับกวนอู และเตียวหุ้ย ในตอนแรกๆ ไม่ใคร่จะชอบหน้าข่งเป้ง เพราะอ้างอิงหลักวิชาการบ มากมาย ก่อนที่จะเสนอทำการรบ มีการคำนวณโน้นนี่ก่อนเสมอ ผิดกับกวนอู และเตียวหุ้ยที่ประจันหน้า และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเสมอๆ มากกว่า และมักไม่เตรียมการมากมายนัก ซึ่งหลักการคิดทั้งทั้งสองฝ่ายนี้เอามาเปรียบเทียบกับคนที่มองอะไรเพียงด้านเดียว มีความรู้เพียงด้านเดียว กับคนที่มีความรู้หลายๆ ด้าน ซึ่งด้วยความมีความรู้ในด้านต่างๆ เอามาเปรียบเทียบ และใช้ในการตัดสินใจต่างๆ ได้อย่างมากมายกว่าได้ชัดเจน

หรืออย่าโจโฉ มีความรู้ความสามารถทั้งการต่อสู้ และการวางแผนที่แยบยนมาก รู้จักใช้คน รู้จักที่จะต่อสู้ จนสามารถที่จะกุมอำนาจได้ในยุคสมัยที่ตนเองยังคงมีชีวิตอยู่

หลายๆ คนคง งง ว่าทำไมผมถึงเอาเรื่องราวนี้มาเปรียบเทียบกับกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ จริงๆ ผมอยากให้มองภาพให้ชัดเจนว่า เวลาเรามีเพียงความรู้เพียงด้านเดียว ย่อมมีทางเลือกในการตัดสินใจงานต่างๆ ได้น้อยลง มุมมอง น้อยกว่าที่ควรจะเป็นมาก บางคนแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยวิธีที่น้อย

บางคนที่เรียนด้านคอมฯ ไม่ว่าจะด้าน Software หรืองานการผลิต Hardware ทุกสายงานด้านนี้จะใช้หลักการประยุกต์ต่างๆ ที่เรียนมาในการนำมาใช้งานทั้งสิ้น ผมว่าไม่ควรมีการเรียนการสอนที่จัดทำขึ้นมาโดยตรง แต่อย่างใด ถ้าไม่ใช่สายอาชีพ มีหลักการเรียน การสอนเพื่อผลิตบุคลากรออกมาเพื่อรองรับการทำงานแบบนี้โดยเฉพาะ ผมว่าในตอนนี้คนไทยที่มักพูดและบอกแบบนี้ น่าจะลองคิดดูใหม่ว่ามันถูกต้องแล้วหรือ ในการที่จะนำความรู้ความสามารถต่างๆ ที่ไม่ได้รับการปรับปรุง ประยุกต์มาสอนกัน การเรียนการสอนแบบนั้นเป็นการทำเพื่อการเฉพาะจะมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ว่างจ้าง หรือคนที่หวังผลทางด้านนี้จะต้องกระทำเองกับบุคคลที่จะรับเข้ามาทำงาน “ไม่ใช่” สถาบันการศึกษาต่างๆ มิเช่นนั้นแล้ว คนที่จบออกมาจากสถาบันการศึกษา จะคิด และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาในรูปแบบผลงานใหม่ๆ ไม่ได้

วิชา และศาสตร์ทุกศาสตร์ ควรนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลงานที่ต่อยอดความคิด มากกว่าที่จะเป็นผลงานเฉพาะด้าน จากที่ได้ยกตัวอย่างในงานด้านคอมฯไป ผมขอยกตัวอย่างในเรื่องของการออกแบบ Software ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมถนัดมากที่สุด

การออกแบบ และสร้างซอฟต์แวร์นั้น จะใช้หลักวิชาการมากมาย และขึ้นอยู่กับงาน ที่ได้รับ หรือสิ่งที่จะทำว่ามีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ในด้านใดบ้าง เช่น การที่จะเรียนโปรแกรมในการจัดการข้อความ หรือเอกสารนั้น ควรมีความรู้ในการจัดการหน้ากระดาษ, แบบตัวอักษร, ฯลฯ ซึ่งเป็นงานทางฝ่ายออกแบบ และสิ่งพิมพ์ซึ่งไม่ใช่ส่วนที่คอมฯ จะได้เรียน นั้นหมายถึงคนที่จะมาลงมาเขียน และพัฒนา ต้องมีการนำความรู้ หรือบุคลากรที่มีความรู้เข้ามาเพื่อทำให้งานมีความสมบูรณ์ และเป็นไปตามสิ่งที่ควรจะเป็นให้มากที่สุด

ตัวอย่างต่อมา ในเรื่องการออกแบบ โปรแกรมทำงานด้าน กราฟฟิก นั้น ก็ควรจะมีความรู้ในเรื่องการจัดออกประกอบภาพต่างๆ , การจัดารสี, การจัดการระบบเส้นสาย ,ฯลฯ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่ควรที่จะไม่มีความรู้ หรือมีทีมงานที่ไม่มีความรู้ในด้านนี้มาทำงานด้านนี้ได้

ถึงแม้ว่าในการทำงานปัจจุบัน จะมีการแบ่งทีมในการทำงานเป็นฝ่ายๆ แต่ทุกๆ ฝ่ายนั้นก็ควรมีพื้นฐานทางความรู้ที่สามารถสื่อสารระหว่างบุคคลได้เช่นกัน เช่นฝ่าย implement กับฝ่ายออกแบบ interface ก็ควรจะพูดคุย และเข้าใจในหลักการออกแบบ ของกันและกัน และเข้าใจความหมาย และความเป็นไปได้ในการพัฒนาด้วย ถึงแม้จะมี SA หรือ SD มาจัดการขั้นทีหนึ่งก็ตามที แต่อย่าลืมว่า บางครั้งการพูดคุยโดยตรงกลับได้ผลที่ออกมาได้ดีกว่ามากทีเดียว ซึ่งบางครั้งการผ่าน SA/SD ก็ไม่ได้ผลที่ออกมาดีเท่านี้ด้วย

ในการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน จึงต้องการคนที่รู้จริง และรู้กว้าง คือรู้ในทุกๆ ศาสตร์ หรือพอเข้าใจ และพื้นฐาน และรู้ลึก ในสายงานที่ต้นได้ร่ำเรียนมา

การรู้ลึกทำให้เราทำงาน และเข้าใจในงานที่เราทำได้ดีมากขึ้น

การรู้กว้างเป็นประโยชน์ในการสื่อสาร และพูดคุย รวมถึงมีมนุษยสัมพันธ์ กับคนในสังคมเดียวกัน และต่างสังคมได้ดีกว่า รวมถึงมุมมองในการทำงาน ที่หลากหลายมากขึ้นด้วย

Exit mobile version