การละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญามีผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทย ?

ช่วงนี้เขียน entry เรื่องลิขสิทธิ์กันบ่อยเหมือนกัน อาจจะเพราะตัวเองผลักดันเรื่องนี้อยู่บ้าง เลยมีแนวคิด และหาแนวร่วมเพื่อนำแนวคิดอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กันมาเผยแพร่ครับ เดี่ยวว่าจะเขียนบทความอีกสักตัวนึง ซึ่งเป็นการสรุปจากวัน Blognone’s Writers Meeting 2008 อีกทีนึงครับ

จากกระทู้ การละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญามีผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทยมั้งครับ ?

ขอคัดลอกความคิดเห็นหนึ่งมาซึ่งผมมองว่าสรุปและให้ข้อคิดได้ดีสั้น และได้ใจความมาก ๆ ครับขอจดบันทึกไว้ใน blog แล้วกัน เนื่องจากกระทู้ของ Pantip.com คงโดนลบไปในไม่ช้านี้

ความคิดเห็นที่ 4

ลองคิดง่าย ๆ นะครับ

15 ปีก่อนเรามี CU writer ตอนนี้เรามีอะไร
13 ปีก่อนเรา RW ตอนนี้เรามีอะไร

การ ใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ก็คือการตกเป็นเมืองขึ้นดี ๆ นั่นแหละครับ เพราะทำให้เราไม่สามารถพัฒนาซอฟท์แวร์ของเราขึ้นมาเองได้ เนื่องจากแข่งกับซอฟท์แวร์ระดับโลกที่มีราคาถูกหรือฟรีไม่ไหว

อย่า นึกว่าการใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์แล้วทำให้ชาติเจริญนะครับ เพราะยังไงเวลาต้องใช้ในการทำธุรกิจหรือใช้ในราชการก็ต้องจ่ายเงินซื้อของ แท้อยู่ดีครับ

สรุปก็คือ การใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นการฝึกประชากรไทยทุกคนให้กลายเป็น ลูกค้าที่ดีของบริษัทซอฟท์แวร์โดยที่ไม่ต้องเสียเงินโปรโมทสินค้า

จากคุณ : Roh_Z – [ วันพ่อแห่งชาติ 18:47:10 ]

เจอสมาชิกท่านนี้สรุปเข้ามาทำให้เห็นภาพมากขึ้นเลยทีเดียว จริง ๆ ในกระทู้ดังกล่าวมีอีกหลายความคิดเห็นที่น่าสนใจครับลองเข้าไปอ่านดูนะครับ

ต่อจากความคิดเห็นด้านบนที่สรุปได้ดี ก็มีการสรุปส่วนต่อท้ายที่น่าสนใจ และขยายความได้ดีเข้ามาครับ

ความคิดเห็นที่ 5

เห็นด้วยกับคุณ Roh_Z อย่างมากๆ นะครับ ที่ว่า
"การ ใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นการฝึกประชากรไทยทุกคนให้กลายเป็น ลูกค้าที่ดีของบริษัทซอฟท์แวร์โดยที่ไม่ต้องเสียเงินโปรโมทสินค้า"

ผม อยากจะใช้คำที่แรงกว่านี้คือทำให้ชาวไทยกลายเป็น"ทาส"ทางซอฟต์แวร์ของบริษัท เหล่านี้ เป็นผู้ที่รอคอยบริษัทเหล่านี้ทำให้ อยากได้ฟังค์ชันใหม่หรือการทำงานอะไรใหม่ๆ ก็ขึ้นกับทางบริษัท เหมือนทาสที่รอเจ้านายมาโปรด อำนาจต่อรองก็ไม่มีเพราะไม่ได้ซื้อของเขา ไม่ใช่ลูกค้าโดยตรง พอเขาออกของใหม่มา จะเหมาะหรือไม่เหมาะกับการทำงานของเราก็ไม่สนหรอก ของใหม่ได้ฟรีย่อมดีกว่า แห่ไปซื้อไปหามาใช้ โปรโมตให้เขาทางอ้อมซะอีก

การตกเป็นทาสเริ่ม ตั้งแต่ส่วนตัวเลยนะครับ พอเรานำของเถื่อนมาใช้ฟรีๆ ใช้ไปก็ชินเพราะมันหามาง่ายไม่เสียทรัพท์ ก็ใช้มันอยู่อันเดียวนี่แหละ เช่นส่วนมากก็จะใช้ MS Windows + Office กัน ใช้ Photoshop ตัดต่อภาพกัน พอจะไปทำงาน ก็จะคุ้นเคยกับโปรแกรมเหล่านี้ ไม่อยากเรียนการใช้โปรแกรมอื่น ทางที่ทำงานก็ต้องไปหามาให้ใช้ ถ้าไปซื้อก็ถือว่าคุณโปรโมทให้นายสำเร็จ ถ้าไปหาของเถื่อนมาก็คือคุณหาทาสให้นายต่อไปได้อีก

ทำให้มีผลต่อ เนื่องคือบริษัทส่วนมากจะมองข้ามเรื่อง IT ไป ไม่ได้นำมาคิดเป็นการลงทุน ไม่ได้เตรียมเงินไว้สำหรับเรื่องนี้ เพราะโปรแกรมมันฟรีว่ากันง่ายๆ ก็ส่งผลกระทบว่ามองต้นทุนเรื่อง IT ต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้พัฒนาโปรแกรมไทยหรือผู้สร้างระบบ IT ไทยประสบปัญหามากว่าผู้ซื้อกดราคามากๆ เพราะไม่เข้าใจเรื่องราคาที่แท้จริง ผลกระทบอีกด้านก็คืออาจโดนเก็บเงินค่าโปรแกรมเถื่อนเอากันอย่างไม่รู้ตัว ตอนนี้มีการส่งจดหมายเตือนรวมไปถึงเข้าตรวจค้นกันบ้างแล้วนะครับ

นอก จากนี้การใช้ของเถื่อนคนเราก็จะใช้แต่โปรแกรมที่(จริงๆแล้ว)แพง ที่เขาขายแพงก็เพราะมีประสิทธิภาพ มีฟังค์ชันการทำงานหลากหลาย แต่เมื่อเป็นของเถื่อนราคามันเท่ากันหมด ดังนั้นผู้ใช้จึงไม่มีและไม่เคยทำการประเมินประสิทธิภาพต่อราคาของโปรแกรม นั้นจริงๆ ไม่รู้หรอกว่าจริงๆแล้วโปรแกรมนั้นคุ้มไหม พูดง่ายๆก็คือเลือกโปรแกรมไม่เป็น บางคนตัดต่อรูปภาพแบบง่ายๆ ปรับปรุงภาพที่ถ่ายมาด้วยกล้องติจิตัลเพื่อเอาลงเวป ใช้ Photoshop CS4 ครับ โปรแกรมนั้นมันราคาเป็นหมื่นๆ เขาสร้างมาเพื่อให้มืออาชีพใช้ คุณสามารถทำสิ่งที่คุณต้องการได้ด้วยโปรแกรมราคาแค่พันสองพัน หรือฟรียังมี

แล้ว ใครมาเถียงว่าโปรแกรมเถื่อนทำให้เราเรียนรู้ได้รวดเร็ว ผมขอเถียงหัวชนฝาเลย คนส่วนมากไม่รู้หรอกว่าโปรแกรมที่ใช้อยู่นั้นทำอะไรได้บ้าง รู้แค่คร่าวๆ รู้เหมือนเป็ด นั่นเป็นเพราะเขาไม่ได้ใช้โปรแกรมเถื่อนทั้งหลายอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่รู้ข้อจำกัดหรอกครับ คนที่รู้จริงคือผู้ที่ใช้โปรแกรมทำงานจริงๆ ต้องศึกษาใช้เวลากับโปรแกรม ลงทุนลงแรงลงเวลาไปกับโปรแกรม ซึ่งผมเชื่อว่าคนกลุ่มนี้ยินดีซื้อของแท้ เพราะโปรแกรมที่เขาใช้นั้นสำคัญต่องานของเขา

ถ้าอยากพัฒนาเรียนรู้ ด้านโปรแกรม ไม่ต้องไป reverse engineer โปรแกรม MS Office หรอกครับ เข้าไปดู source code ของ openoffice (โปรแกรมแบบ opensource) เลยไม่ดีกว่าหรือ รับรองได้เรียนรู้ได้ทำจริงแน่นอน ที่เด็ดกว่านั้นคือสามารถเข้าไปปรับปรุงให้มีฟังค์ชันที่เราต้องการได้เลย ด้วย แต่ส่วนมากคนไทยไม่ทำหรอกครับ เพราะอะไร ก็เอาของเถื่อนมาใช้มันง่ายกว่าเยอะ รอนายมาโปรดดีกว่า

นี่เป็นปัญหา เรื่อง mentality ของคนใช้ของเถื่อนทั้งหลาย เสพมันง่ายกว่าสร้าง โดยเฉพาะถ้าของที่เอามาเสพนั้นมันเป็นของดีและแพง แต่เราได้มาเกือบฟรี ใครมันจะอยากไปเสพของที่คนไทยพึ่งเริ่มทำกันเอง มีข้อบกพร่องตั้งเยอะ แถมขายแพงกว่าของเถื่อนที่เราหาได้ซะอีก

จากคุณ : HotChoc – [ 6 ธ.ค. 51 13:12:36 ]

สรุปง่าย ๆ ลดละเลิกการใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์เริ่มที่ตัวเอง ไม่ต้องรอคนอื่น ไม่ต้องหาแนวร่วมก่อนที่ตัวเองจะทำ อยากทำ ก็ทำเลย แล้วทำได้ ทำสำเร็จ แม้จะเริ่มต้นจาก 1% ไปถึง 100% ก็ดีกว่าไม่ได้เริ่มต้นเลย ไม่ต้องถึง 100 % ก็ได้ แต่ก็ไม่ใช่เป็น 0% เข้าใจว่ามันยาก แต่อยากให้ทำ เข้าใจว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ละอายแก่ความผิด ดีกว่าหน้าชื่นตาบานกับความผิดที่ตัวเองกำลังกระทำอยู่ และปรับตัวไปเรื่อย ๆ ครับ

การเปลี่ยนแปลงทุก ๆ ครั้งมักต้องเจ็บปวดอยู่เสมอครับ

 

4 thoughts on “การละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญามีผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทย ?”

  1. เรื่องแบบนี้ คุยกันสามวันก็ไม่จบ ตราบใดที่คนยังเข้าใจว่า จะใช้ของแท้ให้เสียเงินทำไม ใช้เถื่อนก็เหมือนกัน เอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่า

    และคนพวกนี้ก็อาจไม่คิดถึงว่า จะเกี่ยวอะไรกับประเทศไทย เพราะประเทศไทยไม่ใช่เรื่องของตูประมาณนั้น

    เหนื่อยใจ ใช้ Ubuntu ดีกว่า :D

  2. เสียดาย CU Writer มาก ๆ เลย … สุดท้ายก็กลายเป็น จุฬาจารึก แล้วก็หายสาบสูญ

  3. เรื่องโดนลูกค้ากดราคา เพราะไม่เข้าใจในเรื่องของราคา Software นี่ผมก็เจอหลายครั้งเลยครับ SA ประเมินมาว่าใช้เวลา 3 เดือนเสร็จ บอกราคาไปโดนลูกค้าบ่นเละ บอกว่าแพงไป ซัก 2 หมื่นกว่าๆก็นี่แพงเต็มที่แล้วกับโปรแกรมตัวนึง – 3 เดือน 2 คน หมื่นกว่าบาท :(

    กว่าจะพูดให้เข้าใจได้ ใช้เวลานานเลยทีเดียว

Comments are closed.