จาก ปรัชญาเซน
เรื่องธรรมชาติมนุษย์ จีนเน้นเรื่องหยินและหยางแต่พุทธพูดถึงกุศลกับอกุศล โดยให้พยายามตัดอกุศลและมุ่งแสวงหากุศล แนวคิดของพุทธเช่นนี้ไม่ค่อยจะเข้ากับทัศนะของชาวจีน เพราะจีนถือว่าธรรมชาติของมนุษย์คือความสมดุลระหว่างหยินและหยาง ไม่เน้นด้านหนึ่งแล้วตัดอีกด้านหนึ่งเหมือนกับพุทธ ดังนั้น คนในอุดมคติจึงไม่เป็นที่ไม่ตัดกิเลสทีเดียวแต่เป็นคนที่ทำให้หยินและหยางสมดุลกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นคือ การทำให้ชีวิตเป็นไปตามธรรมชาตินั่นเอง
อิทธิพลเรื่องการทำตัวให้สอดคล้อง (เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ) อันที่จริงแนวนี้พุทธก็สอน แต่มักไม่มีใครให้ความสำคัญและใช้กัน นอกจากพวกเซน คือ พุทธมักคิดว่าเราอยู่ในธรรมชาติ แต่ให้พยายามตัดหรือจัดธรรม-ชาติ แต่ เซนสอนว่า ให้เราอยู่ในธรรมชาติตามที่มันเป็นอยู่
ปรัชญานิตินิยม ( ถือว่าเป้าหมายย่อมสำคัญกว่าวิธีการ ) ตัวอย่างเช่น โจโฉ ซึ่งรับอิทธิพลของฮั่นเฟย จึงมีชีวิตแบบพาตัวเองเข้าสู่วงการการเมืองเพื่อป้องกันสิทธิประโยชน์ของตัวเอง ทำงานโดยยึดเป้าหมายเป็นสำคัญกว่าวิธีการ ( แนวคิดแบบนี้ไม่ค่อยเข้ากับสังคมไทยเพราะคนไทยรับอิทธิพลของพุทธอย่างเหนียวแน่นกว่า )
อืมมมม เข้ากับสถานะการณ์ตอนนี้จริง ๆ
ปรัชญาเซน :
จะคล้ายของพุทธไม่อ่ะ ทางสายกลาง(มัญชิมา) ไม่สุดโต้งโอนเอียงทางใดทางหนึ่ง
พุทธ :
ธรรมะ มาจาก ธรรมชาติ เคยฟังพระเทศน์ให้ฟังสมัยที่แม่พาไปวัดน่ะ แต่จะคำนิยามไม่ได้แล้ว
ว่ามีหลายละเอียดอย่างไหร (น่าเศร้า ปัจจุปันไม่ค่อยมีโอกาสไปแล้ว)
วรรณกรรมของจีน :
ยึดเป้าหมายเป็นสำคัญกว่าวิธีการ
ไทยมีน่ะ ก็เด็กที่สนแต่เกรด(เป้าหมาย)ไง
แต่การจะทำให้ได้คะแนนเยอะ แล้วเกรดดีๆ มีแต่ทางที่ไม่ดี
จบออกมาทำอะไรไม่ได้
ไม่รู้เขาใจแต่ละอันถูกหรือปล่าว เพราะยังไม่ซึ่งในรสพระธรรม แล้วก็ไม่ค่อยได้ศึกษาเรื่องนี้
ปล. อย่าคิดมากๆ พูดเล่นๆ น่ะ
ผมคิดว่า หากจะพูดถึงสิ่งดีแล้ว มันก็หาทางให้ลงรอยกันได้ทั้งนั้น
เช่น เซนเน้นการสมดุลของหยินและหยาง แล้วก็ตัดการไม่สมดุลออก – การตัดการไม่สมดุลออก ก็สอดคล้องกับการตัดอกุศลออกอยู่ดี
พุทธ มีหลายกระแสครับ สายของท่านพุทธทาสก็กล่าวว่า ธรรมะ คือ ธรรมชาติ การปฏิบัติธรรม คือการทำให้ชีวิตเป็นไปตามธรรมชาติ อย่างเข้าใจธรรมชาติ
ผู้รู้จริงทั้งหลาย พูดเรื่องเดียวกันครับ