@FordAntiTrust

มารู้จักกับ CAT Data Center และพาเยี่ยมชมภายใน ที่นี่มีอะไรน่าสนใจบ้าง

เมื่อต้นเดือนผมได้ไปเยี่ยมชม CAT Data Center ที่บางรักมา เลยมีเรื่องมาเล่าให้ฟังกันยาวๆ สักหน่อย โดยส่วนที่ผมเข้าไป เป็นโซนชั้นที่ 14 ซึ่งตกแต่งสวยงามเป็นระบบดีครับ

สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจว่าที่แห่งนี้ให้บริการอะไร ก็ต้องอธิบายไว้ว่า บริการ Data Center เป็นการให้เช่าพื้นที่ภายในศูนย์ข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีทั้งอุปกรณ์เครือข่าย ชุดวงจรสื่อสารทั้งใน-ต่างประเทศ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมภายในไว้ให้คงที่ เช่น ระบบป้องกันการเกิดอัคคีภัย อุณหภูมิ การไหลเวียนอากาศ ระบบสำรองไฟฟ้า การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และระบบรักษาความปลอดภัย

 

 

สำหรับที่ CAT Data Center แห่งนี้ ผ่านการรับรองมาตรฐานการให้บริการ ISO 27001: 2013 มั่นใจได้ทั้งระบบรักษาความปลอดภัย และมีระบบไฟฟ้าที่รับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถึง 2 แหล่งจ่าย พร้อมระบบชุดสำรองไฟ (UPS) 2 ชุด ที่จ่ายไฟสำรองได้นานกว่า 30 นาทีและมีระบบสำรองไฟแบบ Generator จ่ายไฟสำรองได้นานกว่า 48 ชม.ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

CAT data center มีให้บริการหลากหลาย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

บริการให้เช่าพื้นรับฝากเซิร์ฟเวอร์ (Server Co-location) มีตั้งแต่ 1 U จนถึง 42-U Rack ทั้ง Shared Rack และ Full Rack

 

โดยมีบริการขั้นต้นคือ

ทำความรู้จักกับ ISO 27001: 2013 ที่นำมาใช้ใน CAT Data Center

เป็นมาตรฐานระบบความปลอดภัยที่แน่นหนา และเข้มงวดโดยเน้นการปกป้องข้อมูลสารสนเทศ (Information) ให้มีคุณสมบัติ 3 ประการคือ

ฉะนั้นการเข้า-ออก CAT Data Center จะมีกระบวนการตามแบบที่ ISO 27001 กำหนดไว้โดยลูกค้าสามารถเข้า-ออกได้ตลอด24 ชม.โดยแต่ละบริษัทจะมีผู้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบ (Contact Point) จำนวน 2 ท่านโดยพื้นฐานและสามารถเพิ่มเติมได้ โดยการสแกนนิ้วมือและมีการ์ดเพื่อเข้าถึงระบบ กรณีมีผู้ติดตามจะต้องแจ้งรายชื่อกับเจ้าหน้าที่ก่อนเสมอ การนำอุปกรณ์เข้าออกต้องกรอกแบบฟอร์มและได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่เสมอกรณีที่ผู้ที่มีสิทธิ์มิได้มาด้วยต้วเองจะต้องส่งอีเมลหรือแฟกส์ล่วงหน้า 1 วัน

พอเรารู้ข้อกำหนดแล้วมาชมภาพภายในกันดีกว่าโดยภาพทั้งหมดนี้ได้รับการอนุญาตจากทาง CAT Data Center แล้วว่าสามารถเผยแพร่ได้

 

ทางเข้านั้นมีการกำหนดให้ใช้รหัส และการแสกนนิ้วก่อนเข้า เพื่อควบคุมการเข้าถึงภายในผ่านเจ้าหน้าที่ และผู้มีสิทธิ์ในการเข้าถึงเท่านั้น ภายนอก มีโต๊ะ และเก้าอี้สำหรับจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนนำเข้าห้อง พร้อมชุด console สำหรับต่อกับเครื่องภายในห้องไว้ให้บริการด้วย

 

เครื่องต่างๆ ที่ลูกค้าวางไว้ภายใน จะอยู่ใน Rack ที่มีกรงป้องกันการเข้าถึงหน้าเครื่องอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยมิได้รับอนุญาตจากลูกค้ารายอื่น ที่เข้ามาใช้บริการ

 

แน่นอนว่านอกจาก Rack ตามข้างต้นแล้ว ยังมีบริการแบบ

บริการห้องเปล่าที่ล้อมด้วยกรง หรือ Cage Co-Location

บริการห้องวีไอพี หรือ Suite Co-Location ที่มาพร้อมกล้อง CCTV และ Proximity Card Access Control สำหรับแต่ละห้อง

 

 

CAT ยังมีบริการห้อง Carrier room สำหรับวางวงจรสื่อสารที่เชื่อมต่อไปภายนอกโดยผู้ให้บริการ internet (ISP) รายอื่น ๆ ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้สามารถเลือกเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการโครงข่ายรายอื่นได้อย่างอิสระ

พื้นที่สำหรับให้เช่าพื้นที่สำนักงานชั่วคราว (Temporary Office) พร้อมอุปกรณ์สำนักงาน และ Internet ความเร็วสูงสำหรับลูกค้ามีความต้องการ

โดยบริการสำนักงานชั่วคราวขั้นต้นนั้นจะมีดังนี้

 

 

 

สำหรับการเข้าไปชมพื้นที่ในชั้น 14 นี้ ถือเป็นของใหม่ของผมพอสมควรเพราะปรกติผมเข้าไปชั้น 13 มากกว่า ส่วนในชั้น 14 นี้ถือว่าเป็นเฟสใหม่กว่าชั้น 13 (เปิดตัวประมาณปี 2554) จุดเด่นเท่าที่ได้สัมผัสคือ แอร์เย็นมาก ระบบไฟต่างๆเป็นแบบวางใหม่ ปลั๊กไฟ 2 เฟสเฟสละ 5 ช่อง การเดินสายสัญญาณสื่อสารไม่ได้เดินจากด้านใต้ของ Rack แต่เดินบนเพดานแทนทำให้การเดินสายทำได้ง่ายกว่ามาก แบ่งโซนระบบดับเพลิงด้วยสารเคมีที่แบ่งเป็นโซนแทนทั้งห้อง

และภายหลังจากเหตุไฟดับเมื่อ 2 ปีก่อน CAT data center ได้ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยและระบบไฟฟ้าใหม่

 

 

นอกจากนี้ CAT ยังสร้างศูนย์ Data Center แห่งใหม่ ในชื่อ CAT data center Nonthaburi II ที่มีการออกแบบและก่อสร้างให้มีเสถียรภาพสูงเพื่อเป็นอาคารที่ให้บริการ Data Center โดยเฉพาะ ผ่านการรับรองมาตรฐาน Trusted Site Infrastructure Certificate (TSI Certificate) Level 3 แห่งแรกและแห่งเดียวใน ASEAN รองรับการใช้งานในลักษณะ Mission Critical ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

สำหรับ CAT Data Center ในพื้นที่อื่นๆ ก็จะมีที่ นนทบุรี, ศรีราชา, เชียงใหม่, ขอนแก่น, ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี

ซึ่งต้องอธิบายสักนิดว่า Data Center แบ่งออกเป็น 4 Tier ด้วยกันคือ

อ้างอิงจาก Explaining the Uptime Institute’s Tier Classification System

โดยหากเราระบุเป็น SLA ภายใน 1 ปีนั้น ยอมให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้ตามปรกติ หรือมี  down time ได้ดังนี้

หากดูจากแต่ละพื้นที่ ที่ CAT data center ได้ให้บริการแล้วนั้น จะผ่านมาตรฐานตั้งแต่ Tier II ขึ้นไป ในเขตพื้นที่กรุงเทพ โดยเฉพาะส่วนที่ผมได้เข้าเยี่ยมชมคือ CAT data center บางรัก ชั้นที่ 14 นั้น อยู่ในระดับ Tier IV ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเลยทีเดียว

จากทั้งหมดที่ได้เล่ามานั้น ช่วยให้การเยี่ยมชมในครั้งนี้ ได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับส่วนของเฟสใหม่ของ CAT Data Center ชั้น 14 มากขึ้น โดยทาง CAT คาดหวังว่าการเข้าไปเยี่ยมชมและนำข้อมูลเหล่านี้นำมาเผยแพร่ จะช่วยให้ลูกค้า และคนที่กำลังตัดสินใจในการเลือก Data Center เพื่อนำระบบเข้าไปวางภายใน ได้มั่นใจในมาตรฐานต่างๆ ที่ทาง CAT ได้ผ่านการตรวจสอบ และพัฒนาระบบเพื่อให้บริการลูกค้าบนมาตรฐานสูงสุด

Exit mobile version