@FordAntiTrust

วิเคราะห์ และ ถาม-ตอบ ปัญหาการจัดซื้อ แท็บเล็ต OTPC โซน 1-2 ป่วน เหตุบริษัทเสิ่นเจิ้นปิดกิจการ

เนื้อความด้านล่างต่อไปนี้ เป็นเนื้อความที่อ้างอิงคำถามที่ได้จากข่าว แท็บเล็ต OTPC โซน 1-2 ป่วน บริษัทเสิ่นเจิ้นปิดกิจการยอมเสียเงินค้ำประกัน 120 ล้านบาท โดยอ่านความคิดเห็นบางส่วน แล้วนำมาเป็นคำถาม และให้มิตรสหายข้าราชการท่านหนึ่งที่มีประสบการณ์ในด้านจัดซื้อ ออก TOR และตรวจรับ ซึ่งทั้งหมดที่ตอบทั้งหมด เพื่อสร้างความเข้าใจบางส่วนที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงครับ


ผมขออนุญาตในการเขียนถามตอบเนื่องจากยังมีหลายท่านที่เข้าใจในระบบราชการที่คลาดเคลื่อนไปเสียส่วนมาก อนึ่งในการเขียนถามตอบครั้งนี้ มิได้หวังให้มุ่งเน้นในเรื่องของการเมือง แต่เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และระเบียบราชการ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่น่าอยู่ แก่ลูกหลานเราในอนาคต

เริ่มแรก ขอให้ท่านรู้จัก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 โดยระเบียบ 2 ตัวนี้ เป็นเหมือนกฎหลักที่ทุกหน่วยงานในประเทศไทยจะต้องใช้เพื่อการจัดซื้อจัดจ้าง จัดหา ให้ได้มาเพื่อ วัสดุสิ่งของ

Q: มาเลเซียเค้าดีลกะกูเกิ้ลโดยตรงเลย ทำไมไทยไม่เอาแบบนั้นหละ กูเกิ้ลเค้าไม่ปิดหนีหรอกมั้ง
A: การที่ไทยไม่ดีลกับ Google โดยตรง ต้องพิจารณาว่า เมื่อมีปัญหาในการส่งซ่อม ส่งเคลม ทาง Google สามารถจะสนับสนุนในส่วนนี้ได้หรือไม่ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่จะพิจารณากันอีกครั้ง

Q: ดีลกับกูเกิ้ลตรงไม่ได้ครับ ต้องศึกษาระบบจัดซื้อจัดจ้างของรัฐก่อนนะครับ มันต้องร่าง TOR และประมูลหาคนมาดำเนินการ โดยจะต้อง “ประหยัดเงินต่อรัฐ” ได้มากที่สุด ถ้าไปดีลกับกูเกิ้ลโดยตรง ถึงจะได้ของดี แต่รัฐโดนฟ้องแน่นอนครับ ปล.อันนี้ในกรณีตัดเงื่อนไขเรื่องโกงหรือไม่โกงออกไปเลยนะครับ
A: ถูกต้องครับ เพิ่มเติม สิ่งที่จะตามมาคือ การกีดกันทางการค้า ยกตัวอย่างในวงการคอมพิวเตอร์แบนด์ไทย ATECH หรือ POWELL พยายามต่อสู้ในส่วนนี้อยู่ หากเรายึดถือแบนด์ต่างชาติมากไป โอกาสที่จะไม่เกิดการแข่งขันย่อมมีสูง แบนด์ไทย เราจะตายเลยครับ

Q: TOR ก็ออกมาจากคนที่ฮัวะประมูล แบบก็เขียนมาจากคนฮัวะ… ตั้งเงื่อนไขให้ตัดชาวบ้านได้มากสุดต้องมีพอร์ทดีลกับรัฐมูลค่า xxx นู่นนี่ พอถึงเวลาก็จัดบ.ที่เข้าเงื่อนไขไปซื้อซองประมูล บ.ที่หลุดเข้ามาได้ก็เคลียร์จะเอาเท่าไหร่ไม่ต้องมาเสียเวลาแข่ง ตอนยื่นประมูลก็นัดกันว่า จะกดกี่คลิ้กพอ… จบการประมูลใครชนะจ่ายเองก่อน 20-30… แล้วไปรอเงินค่าทำที่ตามงวดเบิกนะจ้ะ
ปล. ทั้งหมดเดาเอา…ตัดเรื่องเป็นไปได้หรือไม่ ออกได้เลยครับ
A: ในวงการอย่างนี้มีไหม บางครั้งคำตอบก็ไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่เราสามารถแก้ไขได้ครับ ในการเขียน TORที่วงเงินเกินกว่า 2 ล้านบาทและต้องจัดหาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องมีคณะกรรมการร่าง TOR เมื่อคณะกรรมการร่างเสร็จ ก็จะประกาศให้ประชาชนมาพิจารณ์ ร่างว่า ร่างดังกล่าวมีความถูกต้องเหมาะสม หรือมีการฮั้วประมูลหรือไม่ ส่วนนี้ ประชาคม Blognone ก็สามารถมีส่วนร่วมในทุกโครงการเกี่ยวกับงานไอทีได้ทั้งหมดครับแต่การจะมีส่วนร่วมในร่างดังกล่าว จะต้องทำอย่างเปิดเผย คือเปิดเผยว่าเราเป็นใคร มีความเห็นกับร่างดังกล่าวอย่างไร และความเพิ่มหรือลดข้อความไหน โดยปราศจากอคติ และมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน

Q: แล้วทำไม Tablet สส ยึดสเปคเป็น iPad ได้ละครับ ทั้งที่มาตรฐานราคาแพงหูฉี่เลยละนั่น แถมไม่ยักโดนฟ้องด้วยนะ
ถ้าจะอ้างความน่าเชื่อถือ แล้วทำไม Tablet เด็ก ไม่เลือกที่น่าเชื่อถือได้มากกว่านี้ล่ะ ของพวกนี้มันกำหนดสเปคใน TOR ตามใจคนจะซื้อได้อยู่แล้ว แถมบริหารจัดการห่วยๆ จนเค้าด่ากันทั้งบ้านทั้งเมือง
A: เรื่องของ tablet ของสส.ที่เป็น iPad อย่างแรกออกตัวไว้ก่อนว่า ตัวผมเองไม่เห็น TOR จริงแต่สามารถให้ข้อคิดเห็นได้ว่า การเขียนสเปคของ iPad สามารถทำได้เนื่องจากถึงแม้เราจะกำหนดระบบปฏิบัติการ แต่เราไม่ได้กำหนดเครือข่ายที่ใช้ นั่นก็ทำให้เกิดการแข่งขันในเบื้องต้น ก็ทำให้ tablet ของ สส. จึงสามารถเป็น iPad ได้
อย่างที่ สอง ในการประมูล tablet ของสส. ย่อมมีวงเงินเกินกว่า 2 ล้านบาท ก็ย่อมเข้าการจัดหาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการพิจารณ์ TOR เมื่อไม่มีการแก้ไข TORในส่วนที่สำคัญ ก็สามารถประมูลได้อย่างถูกต้องครับ

Q: ส่วนตัวผมคิดว่า ก่อนการประมูลน่าจะมีการประเมินผู้เข้าร่วมประมูลก่อน และหลังจากการประมูลถ้ าราคาประมูลถูกหรือแพงกว่าราคากลางมากๆ ก็ควรจะมีการทบทวนอีกภายหลังครับ
A: เราสามารถกำหนดใน TOR ได้ครับว่า ผู้รับจ้าง จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร เช่น จะต้องมีประสบการณ์ในการรับจ้างโครงการในลักษณะเดียวกันในวงเงิน กี่ล้าน จำนวนกี่โครงการ แต่การเขียน TOR ในลักษณะนี้ ก็จะสามารถมองได้ว่าเป็นการกีดกันรายใหม่ๆ ที่จะเข้าประมูลได้เหมือนกันครับ

Q:บริษัท เสิ่นเจิ้นชนะการประมูลด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาตั้งต้นมาก ต่ำกว่าเจ้าอื่นมากๆ และถ้ามีแนวโน้มที่จะเกิดเหตุแบบนี้ ผมจึงมองว่าน่าจะมีอะไรที่ควรพิจารณามากกว่าแค่เรื่องราคา เป็นตัวหลักในการตัดสินใจ ครับ
A: โดยปกติการประมูลด้วยการเคาะราคาทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่ บริษัทที่ชนะการประมูล ประมูลได้ในราคาต่ำมาก เช่น วงเงินที่ตั้งไว้เป็นงบประมาณ 2,500,000 บาท แต่ผู้ชนะการประมูล ประมูลได้ที่ 190,000 บาท ซึ่งมาจากการเคาะราคาที่ผิดพลาด คณะกรรมการ สามารถพิจารณายกเลิกการเคาะราคา หรือกำหนดให้มีการเคาะราคาครั้งใหม่ได้ ในส่วนของเสิ่นเจิ้น กรณีนี้ไม่เข้าในส่วนแรกที่กล่าวมา ในเรื่องของการพิจารณาความน่าเชื่อถือของบริษัทที่เข้าประมูล ก็จะพิจารณาจากคุณสมบัติที่กำหนดในคราวแรกครับ ดังนั้นไม่ว่ากรณีใด ก็ไม่สามารถจะห้ามมิให้เสิ่นเจิ้นเข้าทำสัญญาในฐานะผู้ชนะการประมูลได้เลย

Q: อ่านข่าวแล้วปลง จำได้ว่าเคยมีเรื่องกับฝ่ายพัสดุอยู่ครั้งหนึ่งเรื่องจัดซื้อครุภํณฑ์คอมพิวเตอร์ คำตอบที่ได้จากหัวหน้าฝ่ายพัสดุตอนนั้นคือ “ของแพงคุณภาพดีให้ซื้อไว้ใช้เองที่บ้าน แต่นี่หน่วยงานราชการเค้ากำหนดให้ซื้อของถูกที่สุด” เขียน spec HP ส่งไป…แต่ได้ของเป็นคอมฯประกอบ…เหตุผลคือมันถูกที่สุด.
A: ข้อแนะนำจากประสบการณ์ การเขียน TOR เพื่อกันไม่ให้เครื่องประกอบชนะการประกวดราคา สามารถทำได้อย่างถูกต้องตามระเบียบครับ
โดยเพิ่มคำว่า “ตัวเครื่อง, จอภาพ, คีย์บอร์ด และเมาส์ ต้องมีเครื่องหมายการค้าเดียวกัน โดย 
ประทับตราเครื่องหมายการค้านั้นไว้บนอุปกรณ์อย่างถาวร”
ถ้าอยากได้แบรนด์ดี ก็เพิ่มว่า “ผู้รับจ้างจะต้องได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากบริษัทที่มีเครื่องหมายการค้าของอุปกรณ์ข้างต้น”

Q: เคยคุยกับข้าราชการ คือมันมีระเบียบอยู่ว่าซื้อของที่แพงกว่าราคาประมูลถูกสุดได้ครับ แต่คณะกรรมการที่อนุมัติต้องโดนสอบแน่ๆ (เพราะคนให้ราคาถูกสุดจะต้องร้องเรียน)
ทีนี้การที่คณะกรรมการโดนสอบมันใช้เวลาหลายปีครับ กว่าจะสรุป
ระหว่างนั้นข้าราชการที่โดนสอบก็แป๊กครับ ตำแหน่งไม่ขึ้น เงินเดือนไม่ขึ้น ย้ายไม่ได้
กรรมการเลยเลือกใช้เฉพาะถูกสุดแทนเพื่อไม่ให้มีปัญหาภายหลัง
A: จริงๆแล้วคณะกรรมการพิจารณาจากเอกสารที่ทำเสนอไปครับ และในวันที่เปิดซองสอบราคานั้น เราสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ ถ้าเคยค้าขายราชการจะทราบว่าซองที่จะเสนอมี 2 ส่วนคือ
1. ซองคุณสมบัติผู้รับจ้าง
2. ซองราคา
ถ้าท่านมั่นใจว่าท่านส่งเอกสารครบถ้วน ท่านสามารถเข้าไปนั่งดูการเปิดซองได้ครับโดยเฉพาะซองคุณสมบัติผู้รับจ้าง บ่อยครั้งส่งไม่ครบ แต่ที่ชนะการประมูลนั้นคณะกรรมการพิจารณาแล้ว ว่าก็ส่งกันไม่ครบหลายราย จึงไม่เอามาพิจารณาตัดตก ตามหลักการแล้ว จะต้องเปิดซองที่ 1 ซองคุณสมบัติผู้รับจ้างเสียก่อน ถ้าส่งเอกสารไม่ครบแม้แต่ 1 ใบอย่างใบจดทะเบียนบริษัท คณะกรรมการจะต้องไม่เปิดซองราคา ส่วนที่ 2 อย่างเด็ดขาด และปรับให้ ตกทันที

สรุป
กรณีศึกษานี้ ในความเห็นส่วนตัวที่โครงการล้ม น่าจะเกิดจาก

1. ปัญหาของ TOR ที่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องของ spec ไม่เกิดความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนในอนาคต ซึ่งพบบ่อย ยกตัวอย่างเช่น TOR ระบุ จะต้องส่งมอบ OS เป็น Windows 7 ลิขสิทธิ์ถูกต้อง พร้อมแผ่นติดตั้ง ซึ่ง ณ เวลาปัจจุบัน Microsoft ไม่มีแผ่นติดตั้ง Windows 7 ขายในไทยอย่างเป็นทางการแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ PC ณ เวลานี้มาพร้อม Windows 8 ผู้ขายก็เกิดปัญหา กรรมการก็เกิดปัญหาเพราะไม่สามารถตรวจรับให้ตรงกับ TOR ได้ทั้งๆที่รู้แก่ใจว่า Windows 8 นั้นใหม่กว่า
TOR ที่ถูกที่สุด ควรระบุ ไว้ว่า OS เป็น Windows 7 หรือสูงกว่า โดยได้รับสิทธิ์การใช้งานอย่างถูกต้องจาก Microsoft

2. เรื่องค่าปรับ โดยปกติในการจัดซื้อจัดจ้างจะมีในส่วนนี้อยู่แล้ว ตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อที่ 134 กำหนดไว้ว่า การซื้อ/จ้าง ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันอัตราตายตัว ระหว่างร้อยละ 0.01-0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ แต่ในข้อที่ 136 ของระเบียบเดียวกันก็สามารถแก้ไขได้ครับ โดยกำหนดว่าสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ(รวมทั้งรายละเอียดประกอบที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา)ที่ลงนามแล้วจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่

ในกรณีนี้ไม่สามารถแก้สัญญาได้เลยแม้ว่าเมื่อยกเลิกจะทำให้ราชการเสียหายเพราะ บ.เสิ่นเจิ้นขอลดค่าปรับ แต่ไม่ได้เพิ่มมูลค่า tablet หรือจะส่งมอบเนื้องานเพิ่มเติม ทำให้ยังไงทาง คณะกรรมการก็ไม่สามารถ ลดค่าปรับหรือละเว้นค่าปรับให้ได้เลย เมื่อไม่มีทางไป ผลก็เลยออกมาตามข่าวที่ปรากฏข้างต้นนี้เอง

Exit mobile version