ต้อนรับทีวีดิจิตอล กับ Set-Top Box “SAMART STRONG (DVB-T2)” สำหรับดูทีวีดิจิตอล

ก่อนอื่นต้องแนะนำเรื่อง “ทีวีดิจิตอล” สักหน่อยว่า ทีวีดิจิตอลที่เพิ่งประมูลเสร็จไปนั้น เป็นลักษณะของการออกอากาศในระบบภาคพื้นดิน (Digital Terrestrial Television) โดยเปลี่ยนรูปแบบการส่ง-รับสัญญาณไปบ้าง โดยส่วนหลักๆ คือเปลี่ยนสัญญาณภาพ-เสียงจากแอนะล็อกเป็นดิจิตอลทั้งหมด จากเดิมที่จำนวนช่องน้อย ใช้เสาแยกจากกัน และมักเกิดการกวนกันของสัญญาณถ้าช่วงความถี่ใกล้กันเกินไป ซึ่งการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวคิดหลายๆ ส่วนคือ

  1. การออกอากาศของทีวีดิจิตอลในไทยจะส่งด้วยมาตรฐานชื่อ DVB-T2 (Digital Video Broadcasting – Second Generation Terrestrial) โดยส่งผ่านผู้ให้บริการเครือข่าย (operator) โดยตอนนี้กำหนดไว้ 4 ราย ได้แก่ NBT, ททบ. 5, MCOT และ ThaiPBS โดยทั้ง 4 รายจะเป็นผู้รับผิดชอบส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินทั้งหมดกว่า 48 ช่อง ออกไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเจ้ามาตรฐาน DVB-T2 นี่ถือว่าใหม่ และทันสมัยมีประสิทธิภาพดี
  2. ตัวรับสัญญาณก็ต้องรองรับมาตรฐาน DVB-T2 ด้วยเช่นกัน โดยตอนนี้ทีวีรุ่นใหม่มากๆ ของปีนี้ ก็ได้ติดตั้งมาให้ภายในแล้ว แต่ถ้ารุ่นเก่าบางรุ่น หรือรุ่นทำตลาดล่วงหน้าสักปีสองปีอาจจะไม่มี ก็ต้องอาศัยกล่องรับสัญญาณทีวีระบบดิจิตอล (Set-Top Box) มาต่อเพิ่มเติม

แนะนำไปพอสมควร มาพูดถึงพระเอกของเราวันนี้ก่อนกับ SAMART STRONG (DVB-T2) ที่เป็นกล่องรับสัญญาณทีวีระบบดิจิตอลรุ่นแรกๆ โดยคนไทย ราคาเพื่อคนไทยกับ 1,155 บาท แน่นอนว่า ราคาไม่แพงสำหรับผมสักเท่าไหร่ โดยหลังจากการประมูลช่องทีวีดิจิตอลสำหรับธุรกิจทั้งหมด 24 ช่อง ในวันที่ 26-27 ธ.ค. 2556 ที่ผ่านไปแล้วทาง กสทช. ก็รู้รายได้จากการประมูลกว่าห้าหมื่นล้านบาท ซึ่งจะนำเงินบางส่วนมาช่วยประชาชนบางส่วนผ่านทางคูปองที่ กสทช. จะแจกให้แต่ละครัวเรือนเป็นส่วนลดในการนำไปซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีระบบดิจิตอล โดยระบุว่าราคาจะอยู่ที่ 690 บาท ส่วนตัวผม ซื้อก่อน เพราะรู้อยู่แล้วว่ากว่าจะได้คูปอง (ช่วงเดือน เม.ย.) กว่าจะออกข้อกำหนด ก็ไม่แน่ว่าจะได้หรือเปล่า เลยชิงซื้อ SAMART STRONG (DVB-T2) จาก Home Pro, The Power สาขาเพลินจิตมาลองของเสียเลย ต้อนรับทีวีใหม่ (เพราะช่วงเดือนมกราคม 2558 ตามแผน กสทช. จะยุติการส่งสัญญาณแอนะล็อกแล้ว)

มาดูหน้ากล่องกัน จะได้ไม่ซื้อผิดรุ่น จะมีป้าย DVB-T2 และป้ายน้องดูดีด้านหน้าชัดเจน

WP_20131224_19_57_21_Raw

WP_20131224_19_57_56_Raw WP_20131224_19_58_08_Raw

ภายในกล่องจะมีสาย RCA AV, สาย HDMI, รีโมท, power adapter, แบตเตอรี, คู่มือ (ทำออกมาดีมาก) และใบรับประกัน มาให้พร้อมในกล่องเลย

WP_20131224_20_00_39_Raw

ด้านหน้าจะเป็นส่วนรับสัญญาณรีโมท และไฟบอกสถานะ

ข้อสังเกต ส่วนของตัวกล่องนั้น ไม่มีปุ่มปิด-เปิด ต้องถอดปลั๊ก หรือสแตนบายอย่างเดียวเลย

WP_20131224_20_01_48_Raw

ด้านใต้ไม่มีอะไรมากนอกจาก S/N กับป้ายตรวจรับจาก กสทช. ฉะนั้นซื้อรุ่นนี้ ใช้ได้แน่นอน และถูกต้องตามกฎหมาย

WP_20131225_01_23_59_Raw

ด้านหลังมีช่องเสียบสายสัญญาณหลากหลาย (ไล่จากด้านซ้ายไปขวา)

  1. ช่องเสียบสายแผงเสาอากาศเพื่อนำสัญญาณเข้ากล่อง ส่วนตัวผมใช้เสาหนวดกุ้ง ราคา 200-300 บาท ซึ่งเป็นเสาขนาดเล็กแบบเดิมๆ ไม่ต้องใช้เสาแปลกประหลาดอะไร
  2. ช่องเสียบสายแผงเสาอากาศเพื่อนำสัญญาณออกจากกล่องต่อพ่วงกันตัวกล่องหรืออุปกรณ์ตัวอื่นๆ อันนี้เอาไว้พ่วงกับกล่องหรือทีวีตัวอื่นๆ เพื่อใช้เสาร่วมกันได้
  3. ช่องกลาง-ซ้ายบน ต่อสาย COAX
  4. ช่องกลาง-ซ้ายล่าง ต่อสาย RCA แบบ AUDIO (L)
  5. ช่องกลาง-ขวาบน ต่อสาย RCA แบบ VIDEO
  6. ช่องกลาง-ขวาล่าง ต่อสาย RCA แบบ AUDIO (R)
  7. ช่อง HDMI

WP_20131225_01_25_13_Raw

ด้านซ้ายจะเป็นช่องต่อ adapter ตัวนี้กินไฟประมาณ 6W เมื่อเปิดใช้งานและช่วงสแตนบายกินไฟประมาณ 0.5W

WP_20131225_01_25_01_Raw

ด้านขวาต่อ USB 2.0 ได้ด้วย มาดูกันว่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง

WP_20131225_01_24_12_Raw

ตัวรีโมทเป็นภาษาไทยอ่านง่าย เข้าใจไม่ยาก ไม่ต้องกลัวว่าผู้ใหญ่อายุมากๆ หรือคนไม่เก่งภาษาอังกฤษจะใช้งานลำบาก

แน่นอนภายหลังจากต่อครบแล้วต่อไปเวลาเราเปลี่ยนช่อง เราจะใช้รีโมทนี้ในการเปลี่ยนช่องแทนรีโมททีวีของเราหลังจากเลือกที่จะดูผ่าน input จาก HDMI ที่ต่อจากกล่องมา (เหมือนพวกเครื่องเล่น DVD หรือ Blu-ray)

WP_20131230_14_11_07_Raw

ต่อทุกอย่างเรียบร้อยก็วางไว้ด้านหน้าทีวีได้สบายๆ โดยผมต่อกล่องรุ่นนี้ผ่านช่อง HDMI เข้าทีวี เพื่อได้รับสัญญาณที่ชัดเจนระดับ HD จากช่อง Free TV ที่มีหลายๆ ช่องปล่อย HD ออกมาให้ชมกันแล้ว แล้วแน่นอนว่ามีช่องเสียบ USB 2.0 ก็จัดการต่อเข้ากับ HDD external ขนาด 2.5” เสียเลย

WP_20131224_23_20_36_Raw

WP_20131230_14_51_13_Raw WP_20131230_14_16_00_Raw

ต่อครบก็สแกนหาสัญญาณทีวีสักหน่อย ก็เจอว่ามี 2 ผู้ให้บริการเครือข่าย คือ MCOT และ ททบ. 5 เป็นผู้ให้บริการที่ใกล้ผมที่สุด (เจ้าอื่นไม่รู้ทำหรือยัง) จะเห็นว่ามีช่องให้เลือกทั้งแบบ SD และ HD เลยทีเดียว

WP_20131230_14_03_21_Raw

เมื่อรับเป็นดิจิตอลก็มีความสามารถหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแสดง EPG (Electronic Program Guide) ที่ช่วยแสดงรายการต่อไป หรือก่อนหน้านี้ ได้ การแสดงระดับสัญญาณ และความคมชัด เพื่อช่วยในการปรับตั้งเสาอากาศให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด

WP_20131230_14_03_46_Raw

เราสามารถตรวจสอบข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ ได้ว่าสัญญาณเป็นอย่างไร และส่งข้อมูลมาแบบไหน ข้อดีของระบบทีวีดิจิตอลคือ ถ้าสถานีส่งภาพแบบ 16:9 และเสียงมาแบบ Dolby Digital 5.1 ถ้าทีวีและระบบเสียงเรารองรับ เราก็ปรับภาพเป็น 16:9 และฟังแบบ Dolby Digital 5.1 ได้ทันที คนชอบดู The Voice คงชอบกันแน่ๆ มาเต็มๆ โดยทั้งภาพ และเสียง อย่าง TPBS HD ก็ส่งภาพมาเป็น 16:9 ยิ่งสารคดีบางตัวที่ถ่ายทอดมาก็รับชมได้ชัดเจนดี เสียงมาเต็มมากๆ

WP_20131225_01_29_06_Raw

WP_20131225_01_28_37_Raw

WP_20131230_14_02_54_Raw

สำหรับความสามารถทั่วๆ ไปอันนี้คงต้องไปลองเล่นดู มาต่อที่ความสามารถภายในกันสักหน่อย

ในเมนูของตัวกล่องจะมีการปรับตั้งค่าต่างๆ ได้ผ่านเมนูนี้ทั้งหมด การค้นหาสัญญาณภาพสามารถทำได้จากเมนู “การติดตั้ง” นี้

WP_20131230_14_04_32_Raw

การตั้งค่าและลำดับช่องในเมนู “ช่อง”

WP_20131230_14_04_27_Raw

เมนู “เวลา” แนะนำว่าควรตั้งไว้ให้เรียบร้อย เผื่อจะใช้ความสามารถอัดรายการ (ที่จะบอกต่อไป) จะได้ไม่พลาด

WP_20131230_14_04_22_Raw

ในส่วนของการ “ตั้งค่าทีวี” นั้นสามารถตั้งให้ส่งข้อมูลแบบ 16:9 หรือ 4:3 ก็ได้ อันนี้แล้วแต่การปรับ

WP_20131230_14_04_17_Raw

แน่นอนว่าทีวีดิจิตอลเราสามารถเลือกสัญญาณเสียงเป็นภาษาต่างๆ ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับทางผู้ส่งสัญญาณว่าจะใส่มาให้เรากี่ภาษา และแน่นอนว่าส่งคำบรรยายใต้ภาพมาให้ด้วย พูดง่ายๆ บ้านผมอาจจะชอบดูหนังเซาด์แทร็ก และอ่านคำบรรยายภาพ ส่วนข้างๆ บ้านอาจจะดูพากย์ไทย ก็ทำได้โดยการส่งสัญญาณภาพเพียงครั้งเดียว คนดูก็จะมีทางเลือกในการรับชมได้มากขึ้น

WP_20131230_14_04_10_Raw

แน่นอนว่าเมื่อมันเป็นดิจิตอล ในเมนู “อื่น ๆ” เราสามารถควบคุมการดูทีวีของเด็กๆ ได้ ในกล่องมีโปรแกรมเล็กๆ เช่นปฏิทิน เครื่องคิดเลขและเกม มาให้ด้วย (แต่ผมไม่ได้ลองนะ)

จุดสำคัญคือส่วนของการอัพเกรดตัวซอฟต์แวร์ เผื่อในอนาคตอาจจะมีความสามารถอื่นๆ เพิ่มมาอีก ก็สามารถอัพเกรดได้สบายๆ คล้ายๆ มือถือสมาร์ทโฟน

WP_20131230_14_04_06_Raw

ส่วนเมนูสุดท้าย อันนี้ชอบมาก คือ “USB” โดยเป็นเมนูสำหรับทำงานร่วมกับ HDD external ที่ต่อไว้ผ่านช่อง USB 2.0 นั่นเอง

WP_20131230_14_04_01_Raw

ในเมนูมัลติมีเดีย เราสามารถดูไฟล์วิดีโอ ดูรูปภาพ ฟังเพลง และยังรวมถึงดูไฟล์วิดีโอที่บันทึกรายการของทีวีดิจิตอลไว้ผ่านทาง HDD external ที่ต่อไว้ตั้งแต่แรก

WP_20131230_14_04_43_Raw

เข้ามาในเมนูนี้ ก็จะเห็นว่าเรามีไฟล์อะไรอยู่บ้างใน HDD external แล้วก็เลือกจะดูได้เลย

WP_20131230_14_05_07_Raw

ลองสักหน่อย เอาไฟล์ที่ rip 1080i จาก DVD ของ Bodyslam นั่งเล่น มาเปิดทดสอบสักหน่อย

ส่วนใครใช้ไฟล์ mkv โดยภายในเป็นเสียงแบบ DTS และ DTS-HD จะกล่องรุ่นนี้ไม่สามารถถอดรหัสเสียงได้ครับ

WP_20131230_14_06_54_Raw

WP_20131230_14_05_58_Raw

การ ”ตั้งค่าบันทึก” เป็นส่วนที่เราไว้ใช้บันทึกภาพและเสียงของรายการทีวีดิจิตอล

WP_20131230_14_07_12_Raw

การตั้งค่านั้นเราสามารถตั้งค่าบันทึกได้ทั้งตั้งเวลา หรือแบบกดปุ่มบันทึกที่รีโมททันทีเลยก็ได้

แต่จากการทดสอบ และเช็กๆ จากหลายๆ เว็บ เหมือนจะยังไม่สามารถบันทึกตามเวลาที่ตั้งได้ และหลายๆ คนคาดว่าความสามารถนี้จะใช้ไม่ได้ในรุ่นนี้ ตอนนี้อยากบันทึกรายการต่างๆ ก็ต้องทำผ่านปุ่มที่รีโมทเท่านั้นครับ

WP_20131230_14_07_24_Raw

WP_20131230_14_08_18_Raw WP_20131230_14_11_07_Rawc

เมื่อบันทึกแล้ว เราจะได้โฟลเดอร์ และไฟล์ที่เป็น .TS ซึ่งบันทึกลงใน HDD external ที่เราได้ต่อไว้ กะๆ ไว้ว่า 32 วินาที ได้ไฟล์มีขนาดประมาณ 19MB ได้ ฉะนั้น ต้องมี HDD ที่ค่อนข้างใหญ่สักหน่อยถ้าจะอัดรายการยาวๆ เป็นหลักชั่วโมงครับ

WP_20131230_14_09_59_Raw WP_20131230_14_10_03_Raw

WP_20131230_14_10_24_Raw

หลังจากรับชมช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ TPBS ทั้ง SD และ HD แล้ว ต้องบอกว่า HD ชัดเจนมาก โดยเฉพาะของ TPBS HD นี่คมดีเยี่ยมเลย ส่วน SD ก็ถือว่าดีในระดับพอไหวอยู่ ผมคิดว่าช่อง HD เนี่ยแหละ จะเป็นตัวทำให้เราใช้ทีวีจอใหญ่ๆ กันอย่างคุ้มค่าเสียที ><”

ทั้งหมดที่รีวิวมาเล็กๆ ก็หวังว่าจะได้รับข้อมูลการใช้งาน และเตรียมตัวกับการรับชมทีวีดิจิตอลกันแบบเต็มๆ ในช่วงปี 2014 นี้ครับ

ข้อมูลทางเทคนิค (อ้างอิง http://www.samartdigital.com/product/detail/5)

b3f6f986d9b9ff51982837a268db5432

  • ประหยัดค่าไฟฟ้า (กินกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 6 วัตต์) และในโหมดสแตนบายกินกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 0.5 วัตต์
  • รองรับการบันทึก (PVR), หยุดเวลา (TimeShift), อัพเกรดซอฟต์แวร์ และการเล่นมีเดียไฟล์ ผ่านพอร์ตยูเอสบี (USB)
  • รองรับการแสดงผลภาพแบบความละเอียดสูง (Full HD 1080p)
  • รองรับ SD/HD MPEG2 และ MPEG4 AVC H.264
  • ค้นหาช่องรายการอัตโนมัติ
  • รองรับการแสดงผังรายการล่วงหน้า 7 วัน
  • รองรับเสียง และคำบรรยายหลายภาษา
  • รองรับการแสดงสัดส่วนภาพแบบ 16:9, 4:3, Pan&Scan และ Leter Box
  • รีโมทฯ และหน้าจอแสดงผลภาษาไทย ใช้งานง่าย
  • รองรับระบบเสียงแบบ Dolby Digital (AC3)
  • รองรับคำอธิบายเสียง (Audio Description : AD)
  • รองรับการอัพเกรดซอฟต์แวร์โดยการ OTA หรือผ่านพอร์ต USB
  • รองรับฟอร์แมทไฟล์ภาพยนตร์, เพลง และรูปภาพ ดังนี้
    ภาพยนตร์ : MKV, AVI, DIVX, XVID, MOV, VOB, FLV, DAT, MPEG, MPG, MP4 และ TS
    เพลง : MP3, WMA
    รูปภาพ : JPEG, BMP, PNG
  • พอร์ตเชื่อมต่อขาเข้า และขาออก : USB 2.0, HDMI, สัญญาณเข้า, สัญญาณออก, Coaxial, ภาพและเสียงซ้าย-ขวา (RCA)

1 thought on “ต้อนรับทีวีดิจิตอล กับ Set-Top Box “SAMART STRONG (DVB-T2)” สำหรับดูทีวีดิจิตอล”

  1. ไปดูมาละครับ​ วันนี้ที่​ Home Pro เพลินจิตของหมดครับ

    ส่วนทีวีรุ่นนี้ไม่มี​ digital tuner จริงๆ​ นัานแหละ

Comments are closed.