@FordAntiTrust

เข้าใจงานของวิทยาศาสตร์, ปัญหาในการเลือกคณะในปัจจุบัน และการเรียนรู้

ต้องทำความเข้าก่อนว่า คณะวิทยาศาสตร์ มีแบ่งแยกออกเป็นหลายสาขา ที่เป็นหลัก ๆ ก็เห็นจะมี ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์, สถิติฯ, ฯลฯ แต่ละสาขาวิชา มีเนื้อหาแตกต่างกันออกไป

เรามาเข้าใจก่อนว่าวิทยาศาสตร์คืออะไรก่อน จริงๆ คำถามนี้ถามเด็ก ม. 6 แทบจะเกือบทุกคนยังตอบไม่ได้ก็มีนะ

วิทยาศาสตร์คือ “การเข้าใจปรากฎการณ์ต่างๆ หรือเข้าใจสิ่งต่าง ๆ” แต่ส่วนใหญ่เราจะเอาไปปะปนกับความหมายของวิศวกรรมคือ “การทำความเข้าใจวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ และนำมาประยุกต์ เพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นรูปธรรม”

ซึ่ง กล่าวโดยสรุป

วิทยาศาสตร์ คือ”การศึกษาเข้าใจธรรมชาต์”

ส่วนวิศวกรรม คือ “การประยุกต์วิทยาศาสตร์เพื่อนสร้างสรรค์งานต่าง ๆ”

แต่เดียวก่อน คนไทยเราชอบคิดว่า “วิศวกรรม เก่งกว่า วิทยาศาสตร์” หรือบางกลุ่มคิดว่า “วิทยาศาสตร์ เก่งกว่า วิศวกรรม”

ผมอยากให้คิดใหม่ว่า ทั้งสองสาขาวิชานี้ ไม่ได้มีใครเก่งกว่าใคร เพียงแต่ทุกๆ ครั้งที่เราเห็นวิศวกรรมเก่งกว่า หรือวิทยาศาสตร์เก่งกว่า เพราะ

“เราเห็นผลงานที่ออกมาของทั้งสองค่ายไปในคนละแบบ และคนที่ตีความก็ตีความไปในแนวทางต่าง ๆ กันไป”

นั้นหมายความว่าเรา

“มองคุณค่าของความรู้ในศาสตร์ทั้งสองด้วยผลงาน มากกว่าสิ่งที่เป็นเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดผลงานต่าง ๆ ที่ออกมา”

สังคมไทยในปัจจุบันนั้นต้องการคนที่เป็นคนเริ่มคิด จากความเข้าใจก่อน นั้นหมายความว่า การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานของสังคมชนชั้นของทุกประเทศ ดังจะเห็นได้จากประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีนักวิทยาศาสตร์ค่อนข้างเยอะ และเข้าใจหลักเหตุและผลมากๆ

แต่สังคมไทยเรา เรียนสิ่งที่ทำให้เกิดผลเร็วๆ โดยข้ามขั้นตอนของกระบวนการก่อร่างสร้างฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อต่อยอด และนำความรู้ไปสู่การสร้างทางวิศวกรรม

การมีงานวิจัยเป็นงานของนักวิทยาศาสตร์ การทำงานวิจัยเป็นงานที่ทำเพื่อศึกษา ทำความเข้าใจเหตุของปรากฎการณ์ต่างๆ ทั้งหลาย ทั้งในโลกความเป็นจริง และอุดมคติ รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ด้วย การจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเราต้องมีรากของปัญญา เสียก่อน การทำงานอย่างมีขั้นตอนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งหนึ่งที่คนเรียนคณะต่างๆ ที่เป็นที่นิยมจบออกมาแล้วมีงานทำดี ๆ เงินเดือนสูง ส่วนใหญ่จะทำด้วยความอยากได้ ใคร่มีของความเป็นอยู่ โดยมีปัจจัยทางเศรษฐกิจทางครอบครัว และค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกำหนด ทำให้เรามักเลือกการเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ จาก “ค่าของเงิน หรืองานที่จะทำตอนจบ” มากกว่าความสนใจ ใคร่รู้ของตัวเอง ซึ่งความผิดนั้นไม่ใช่มาจากตัวเด็กเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เกิดค่านิยม ของการนิยมวัตถุ หรือนิยมชื่อเสียงจอมปลอม แต่ผิดที่ผู้แนะนำแนวทาง ทั้งผู้อุปการะส่งเสีย การสั่งสอนของคุณครู รวมถึงวัฒนธรรมการติดเพื่อน และการเที่ยวแตร่ด้วย

ในปัจจุบันคนในสังคมไทยเรายังคงคิดว่าการ ent’ และจบมาทำงานดีๆ เป็นจุดสูงสุดของการเรียนรู้, การประสบความสำเร็จของโรงเรียนผู้สอน
นั้นหาใช่ “แก่นของสาระไม่” แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการก้าวเดินในสังคมยุคใหม่ที่ความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมาจากการเรียนเก่ง หรือการทำงานที่ดีๆ “คะแนน ent’, GPA ผมมองว่าเป็นตัวบอกความตั้งใจ ความขยันของคนในช่วงเวลานั้น ๆ แต่ หลังจากนั้นอีก 4 ปี ที่เรียนมหา’ลัย มันจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงเลยหรือ แล้วการจะวัดความเก่ง จากคะแนน ent’ ผมว่ามันผิวเผินเกินไป และมันคนละเรื่องด้วย”

มีหลายครั้งที่การแนะแนวมองคนที่คะแนน และลักษณะอันพึงประสงค์ต่อการเรียนในสาชาวิชานั้น แต่กลับไม่มองที่ “จิตสำนึก หรือเหตุของความอยาก อย่างแรงกล้าที่จะเรียนรู้ในสาขาวิชานั้น” มองเพียงแต่ “คุณเรียนเก่งต้องเป็นหมอ คุณเรียนอ่อนวิชาวิทย์ ต้องไปเรียนภาษา” กลายเป็นแบบนี้กันไปทั่วทุกโรงเรียน หรือทุกสังคมไปแล้ว ….

เรามามองกันต่อที่คำถามที่เป็นต้นเรื่องตรงนี้ที่ว่า “เรียนคณะวิทยาศาสตร์แล้วมีอนาคตมั๊ย และเรียนสาขาไหน หางานได้ง่ายสุด”

ถ้าจะถามว่า “เรียนแล้วมีอนาคตมั๊ย”

ขอตอบตรงนี้เลยว่า “เรียนอะไร ก็มีอนาคต ทั้งนั้นแหละ”

แต่มันขึ้นอยู่กับว่า คุณนำความรู้ที่เรียนมา ไปไช้ประโยชน์ได้มากหรือน้อยแตกต่างกัน แต่ถ้าจะให้เราเดา คำว่า “มีอนาคต” ของคนไทยเราๆ ก็คือน่าจะหมายถึง “เรียนคณะนี้ แล้วจะตกงานมั๊ย” ถูกต้องหรือเปล่า

แล้วอีกคำถามนึงที่จะมีคนถามแน่นอนคือ “เรียนสาขาไหน หางานได้ง่ายสุด”

ตอบได้เลยว่าเรียนสาขาไหน ก็หางานได้ไม่ยาก หากคุณมั่นใจว่า คุณจะเอาความรู้ความสามารถที่เรียนมา ไปใช้กับบริษัทที่คุณจะเข้าไปทำงานได้.. ตลาดแรงงานเปิดพร้อมเสมอสำหรับ ทุกๆ คณะ ที่เค้าบ่นๆ กันว่า หางานยาก คุณทราบหรือเปล่า ว่า คนที่เค้าบอกคุณ ว่าหางานยาก มันเกิดจากสาเหตุอะไร

คำตอบคือ
1. เค้าไม่ขวนขวายหาข้อมูลการรับสมัครงาน ที่ต้องการบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับเค้า
2. เค้าสมัครงาน ในบริษัท ที่ต้องการคุณสมบัติไม่ตรงกับเค้า
3. เค้าไม่พร้อมทั้งความรู้ หรือจบออกมาเพราะเรียนแบบผ่านๆ แต่ก็จบได้
4. เหตุผลอื่นๆ อีกเยอะ คิดไม่ออกอ่ะนะ

เราเชื่อว่า ไม่ว่าจะคณะอะไร แต่ถ้าคุณตั้งใจที่จะเรียน เรียนเพื่อเรียนรู้ ไม่ใช่เรียนไปวันๆ .. มั่นใจว่าเมื่อคุณเรียนจบมาแล้ว คุณต้องหางานทำได้แน่นอน รวมถึงอนาคตในอาชีพ ทั้งการเป็นลูกจ้าง หรือเจ้าของกิจการที่ดีได้ไม่ยากนัก

Exit mobile version