จากกระแส ว่าด้วยการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์อย่าง Microsoft Office 2007 และตามด้วย ซอพต์แวร์ผิดกฏหมาย (เพราะอย่างนี้ไง ไทยเลยไม่เจริญ) ที่ blognone.com จนเป็นที่มาของ สิ่งที่ห้ามพูดในสังคมคน IT ของไทยตอนนี้ ? มาในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ก็ได้มาถึง [ดราม่า] รู้จักกับ Activation Lock ฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 7 หายนะสำหรับผู้ลงแอพร้านตู้ จนเป็นที่มาของ [Ask Blognone] อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้คนลง “แอพตู้”? ที่ blognone.com
ส่วนตัวแล้วนั้น ตัวเรื่อง “แอพตู้” คงต้องให้เวลาสักพักคงดีขึ้น คนใช้งานคงเริ่มตระหนักกันเพิ่มมากขึ้น แบบเดียวกับ “ซอพต์แวร์ผิดกฏหมาย” ในโลก PC ที่เป็นกระแสเมื่อหลายปีก่อนจนตอนนี้กลายเป็นเรื่องปรกติไปแล้วในสังคมบางส่วน ที่มองว่าซอฟต์แวร์ที่ต้องจ่ายเงินซื้อ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จำเป็นในการคิดเป็นต้นทุนในการทำงาน หรือถ้าต้องการลดต้นทุนก็เลือกซอฟต์แวรทางเลือกใช้งานแทน เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์มากขึ้น ทำให้ทิศทางต่องานประเภทนี้ดีขึ้นบางส่วน อีกทั้งการหาซอฟต์แวร์ที่เป็นแบบกล่องก็หาได้ง่ายขึ้น มีขายตามหนังสือ-ร้านคอมพิวเตอร์ชั้นนำ ที่ขายหลากหลายประเภทมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีงานเปิดตัวในไทยแบบเดียวกับทั่วโลก มีประกาศตามสื่อต่างๆ มองว่าเป็นเป็นทิศทางที่ดีต่อสังคม ไม่ต้องโดนคำถามว่า “ก็ไม่รู้จะซื้อที่ไหน” ให้นั่งปวดหัวแบบเดิมๆ ส่วนการซื้อแบบดาวน์โหลดก็เป็นทิศทางที่ดีขึ้นและเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะซื้อง่าย โหลดใช้สะดวก ราคาถูกกว่าแบบกล่อง โดยมีทั้งแบบเช่าใช้ และแบบ Download version แล้วส่ง CD/DVD ตามหลังมา (จ่ายเงินเพิ่ม) ก็สุดแล้วแต่กำลังทรัพย์และความคุ้มค่าที่แต่ละคนเข้าใจ
สำหรับดราม่า “แอพตู้” จะได้รับการเผยแพร่ และช่วยสร้างมาตรฐานต่อไปในอนาคตในเรื่องของการเปิด Account/ID ที่ผูกติดกับตัวเครื่องที่มีทิศทางที่ดีมากขึ้น ร้านค้าต่างๆ ที่ขายเครื่องที่ต้องเปิด Account/ID เหล่านั้น (ทุกค่าย ทุกยี่ห้อ ที่ใช้หลักการนี้) จะถูกสังคมและบริษัทที่ดูแลเครื่องนั้นๆ สั่งให้ใส่ใจต่อเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น โดยมิใช่แค่มุ่งเน้นเพียงช่วยให้ซื้อและอัพเดทแอพได้สะดวกเท่านั้น แต่ยังช่วยในการสือค้นเครื่องเมื่อหาย ช่วยสำรองข้อมูลเมื่อเครื่องมีปัญหา หรือแม้แต่ช่วยให้การย้ายเครื่องไปใช้เครื่องใหม่ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
เมื่อดราม่าเกิดแล้ว ถ้าปล่อยเลยไปก็คงน่าเสียดาย ส่วนตัวควรใช้เหตุการณ์นี้ให้เป็นโอกาส โดยการออกเอกสารแนะนำการสมัครใช้งานอย่างถูกต้องที่อธิบายแบบง่ายๆ รวมถึงอบรมพนักงานและออกระเบียบในการช่วยลูกค้าสมัคร Account/ID เหล่านั้น เพื่อความต่อเนื่อง ทั้งยังใช้กระแสเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าต้องช่วยลูกค้าที่ไม่เป็น หรือไม่เข้าใจในการสมัครใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นมาตรฐานของการซื้อสินค้าแนวนี้ต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน (ใครโดนคิดเงินเพิ่มก็คงมีการฟ้องต่อโลก social network เป็นดราม่ากันต่อไปแน่นอน) ซึ่งข้อดีอีกอย่างของเรื่องนีต่อตัวร้านค้าคือการที่ลูกค้ามี Account/ID ที่ถูกต้องจะช่วยให้ได้รับการสนับสนุนด้านการสำรองข้อมูลกับระบบ Cloud ที่มือถือที่ผูกติดกับ Account/ID ในปัจจุบันนั้น มีความสามารถในการสำรองข้อมูลสำคัญเหล่านี้ไว้พร้อมแล้ว ซึ่งช่วยให้ร้านค้าและผู้ให้บริการไม่ต้องกังวลต่อข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่ที่จะเสียหายเมื่อเข้ารับบริการกับตนอีกด้วย โดยข้อมูลส่วนใหญ่ที่มักจะได้รับการสำรองข้อมูลบน Cloud นั้นได้แก่ Contact, Calendar, Message, App และค่า Settings ต่างๆ ซึ่งบางรุ่นหรือการตั้งค่าเพิ่มเติมสามารถสำรองข้อมูลพวกรูปภาพ ฯลฯ ได้อีกด้วย
ก็หวังว่า “แอพมือถือ” และกระแส “เปิดใช้งาน Account/ID อย่างถูกต้อง” จะมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังจากกระแสดราม่าดังกล่าวเช่นเดียวกับกระแสดราม่า “ซอพต์แวร์ผิดกฏหมาย” เมื่อหลายปีก่อนเช่นกัน ;)