พอดีว่าอ่าน Studying Law is Important ของคุณ mk แล้วนั่งหา ๆ ค้น ๆ ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เราเข้าใจกับความเป็นจริงนั้นถูกต้องหรือไม่
นั่งอ่านแล้วไปเจอที่ http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3700&gid=9 เลยนำมาเผยแพร่เสียเลยแล้วกัน ;)
สิทธิบัตร คือหนังสือสัญญา หรือเอกสารที่ได้รับการยินยอมและตรวจสอบแล้วจากทางหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศนั้น ๆ ซึ่งมักจะเป็นจะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของงานด้านวิทยาศาสตร์ ที่มักเป็นการต่อยอดทางปัญญา จึงคุ้มครองชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเพียงพอที่จะเป็นรางวัลแก่ผู้ทรงสิทธิ์ และไม่นานเกินไปจนไม่เกิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับสิทธิบัตรยาประเทศไทยคุ้มครองไว้ 20 ปี (นานกว่าประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศเสียอีก)
ลิขสิทธิ์ จะเป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับงานวรรณกรรม เช่นเพลง โดยคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิ์และอีก 50 ปี ภายหลังจากผู้ทรงสิทธิ์เสียชีวิต โดยการดูแลของทายาทหรือผู้ที่ได้รับมอบมรดก
โดยแนวคิดแล้ว
ลิขสิทธิ์ มุ่งคุ้มครองการแสดงออก ไม่คุ้มครองสาระที่แฝงมากับการแสดงออกนั้น
สิทธิบัตร ก็จะคุ้มครองผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี โดยลิขสิทธิ์จะได้มาอัตโนมัติฟรี ๆ เมื่อแสดงออกต่อสาธารณะ (จดทะเบียนก็ได้ เพื่อให้มีหลักฐานแน่นหนาทางกฎหมาย) และมีผลในทุกประเทศที่ร่วมใน Berne Convention (รวมไทย) ส่วนสิทธิบัตรต้องขวนขวายลงทุนให้ได้มา มีขั้นตอน มีค่าใช้จ่าย มีผลเฉพาะประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น มีสูตรปรุงอาหาร ถ้าเผยแพร่เป็นหนังสือ จะได้ลิขสิทธิ์ คนอื่นไม่มีสิทธิคัดลอกเผยแพร่โดยพลการ แต่จะปรุงอาหารตามนั้นกี่จานก็ได้ แต่ถ้าจะไปขึ้นสิทธิบัตร (ถ้าได้) คนอื่นไม่สามารถปรุงอาหารตามนั้นเลย แม้จะสามารถเข้าไปคัดลอกสูตรดังกล่าวได้ก็ตาม
ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ระบุว่า
มาตรา 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบหรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
ใน พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
มาตรา 9* การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ
(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช(2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
(3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
(4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์(5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีอนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน*[มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]มาตรา 5 ภายใต้บังคับมาตรา 9 การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และ
(3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
รายละเอียด ควรศึกษาเพิ่มเติมจากข้อกฎหมายเอง จาก website ของ สนง กฤษฎีกา
http://www.krisdika.go.th
เอกสารอ้างอิง
http://www.krisdika.go.th
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=3700&gid=9