คำแนะนำการใช้จอคอมพิวเตอร์เพื่อถนอมสายตา ฯลฯ

ตอนนี้บทความต่างๆ ผมก็เริ่มๆ เอาออกมาบ้างแล้ว แต่ช่วงนี้ขอเก็บไว้ก่อนนะครับ อีกอย่างขอปรับปรุงเนื้อหาบ้างส่วนที่ล้าสมัยจะได้ทันต่อเห็นการณ์ด้วยครับ ส่วนวันนี้ก็เอาเรื่องการถนอมสายตา สำหรับคนใช้คอมฯมาฝากครับ จริงๆ ผมอ่านเจอมาเลยเอามาลงนะครับไม่ได้เป็นของผมแต่ประการใด แต่ว่าเป็นประโยชน์มากทีเดียวครับ ลองอ่านดูนะครับ

ทำอย่างไรเพื่อถนอมสายตาและป้องกันโรคจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

  1. การเล่นคอมพิวเตอร์ ควรนั่งให้ห่างประมาณ 1 ฟุต นั่งเอนหลังให้สบาย ควรใช้เก้าอี้นั่งที่มีพนักพิงรองรับเข้ากับรูปทรงของแผ่นหลัง เพราะจะช่วยลดอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรเล่นติดต่อกันแต่ละครั้งไม่มากกว่า 45-60 นาที ควรจะกระพริบตา, หลับตา หรือหยุดพักสายตาโดยมองต้นไม้ หรือ มองอะไรที่ไกลตาออกไป (มากกว่า 6 ฟุต – ก็คงต้องเป็นนอกหน้าต่าง) สัก 5-10 นาที แล้วค่อยกลับมานั่งหน้าจอกันใหม่ เนื่องจากการมองระยะใกล้นานๆ การโฟกัสตาต้องใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าการมองไกล ถ้ามองนานๆ ในบางคนอาจมีการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อตา ทำให้การมองเห็นระยะไกลมัวได้
  2. วางจอภาพ(ระดับ ของกึ่งกลางจอภาพนะครับ)ให้ต่ำกว่าระดับสายตา ถ้า case ของคุณเป็น Tower ตั้งจอกับพื้นโต๊ะ หน้าจอตรงๆ หรือก้มนิดหน่อย คุณจะได้ไม่ต้องเงยหน้า อันนี้จะมีผลระยะยาว ถ้าคุณเงยคอนานๆ นอกจากจะเมื่อยคอแล้ว กระดูกต้นคอคุณจะเสียรูปด้วย และไม่ต่ำไปกว่าระดับราวนม ในขณะที่คีย์บอร์ด ควรอยู่ระดับราวนม ถึงระดับเอว
  3. การเลือกสีพื้นหลัง ไม่ค่อยมีผลกับสายตามากครับ แต่ถ้าจะให้แนะนำก็เป็นสีเขียวเข้ม กะสีฟ้า-น้ำเงิน ที่ไม่สดนักครับ ส่วนสีตัวหนังสือควรเป็นสีดำ เพราะมีผลการวิจัยพบว่า การอ่านหนังสือบนกระดาษสีขาว ตัวหนังสือสีดำ อาจจะมีผลทำให้สายตาสั้นได้ ถ้าเป็นไปได้ควรใช้กระดาษสีขาวปนฟ้า หรือ สีฟ้า ตัวหนังสือสีดำ *** ไม่ยืนยันผลการวิจัยนะครับ ***
  4. ปรับจอภาพให้พอดีที่สุด ถ้าคุณใช้งานคนเดียว ปรับให้เนี๊ยบเลย แล้วไม่ต้องปรับอีกตลอดชาติ เช่น แสง (ความสว่าง) สำคัญที่สุด อย่าให้จ้าเกินไป ออกทึบนิดนึงก็ได้ เพราะคุณต้องอยู่กับมันครั้งละนานๆ สี ไม่ต้องให้จัดจ้านเกินไป เอาพอสวย ตัวหนังสือ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป เอาให้เราดูแล้วสบายตา (ของเราเอง) ตัวหนังสือใหญ่ ไม่ใช่จะดีเสมอไป บางครั้งดูเหมือนมันตะโกนใส่หน้าเรา หรือเราต้องแหกตาดูมัน จริงมั้ย
  5. Resolution setting ให้เหมาะ ขนาด 800×600 น่าจะกำลังพอดี Refresh Rate ประมาณ 75 Hzขึ้นไป คุณสามารถปรับ Refresh Rate ได้ตามคู่มือของจอครับ ไม่มีผลเสียหายอะไร ถ้าเขาบอกว่าทำได้ก็ทำไปเลยครับ เหตุที่มี Refresh Rate สูงๆ ก็เพื่อลดความพลิ้วของจอ ให้มองจอได้ชัด ๆ น่ะครับ
  6. การเซ็ตความคมชัดและแสงสว่าง ปกติขึ้นกับความพอใจนะครับ แต่หากจะให้สบายตาควรลด Brightness ลงสักหน่อย ส่วน Contrast สามารถเพิ่มได้เต็มครับ ภาพจะคมชัดขึ้น และถนอมจอถนอมสายตาด้วยครับ ควรป้องการไม่ให้เกิดแสงสะท้อนบนหน้าจอ โดยจัดหน้าจอไม่ให้หันเข้าหน้าต่าง
  7. ถ้ารู้สึกง่วง, ล้า หรือปวดตา เมื่อทำงานนานๆ ให้พักเสียบ้างดีที่สุด อย่าหักโหมหรือดันทุรัง สุขภาพก็เสีย งานก็ไม่ได้ ตาก็จะพังด้วย
  8. เมื่อเรานั่งอ่าน หรือนั่งหน้าคอมนานๆ ตาเราจะกระพริบด้วยความถี่น้อยกว่าปกติ (การกระพริบตาปกติ จะประมาณ 1 ครั้งทุก 5 วินาที ซึ่งเป็นการเอาน้ำตามาเคลือบด้านหน้าของกระจกตาดำ ให้คงความชื้นเสมอ และเป็นการล้างเอาสิ่งสกปรกออก) ดังนั้น ในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น มีต้อเนื้อ ต้อลม หรือเป็นโรคตาแห้ง น้ำตาขาดคุณภาพ ควรจะรักษาให้หาย และใช้คอมพิวเตอร์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ไม่แนะนำให้ใช้แผ่นกรองแสง เพราะ 1. เสียสตางค์ ซื้อแผ่นกรองแสง 2. เมื่อมีแผ่นกรองแสงมาบัง คุณต้องเร่งแสงและสี สู้กับแผ่นกรองแสง จอภาพจะต้องทำงานหนักขึ้น 3. คุณจะไม่ได้คุณภาพของสีที่แท้จริง …ขอย้ำว่า แผ่นกรองแสงไม่ได้ช่วยคุณได้ ความพอดีของคุณนั่นแหละจะช่วยคุณ
  9. วางแขนให้สบายๆ จัดวางต้นแขน ข้อมือ และมือให้อยู่ในท่าที่สบายๆ เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่รู้สึกเกร็งหรือฝืนๆ การพิมพ์ก็ให้กดแป้นพิมพ์อย่างนิ่มนวลไม่ควรกดกระแทกแป้นพิมพ์แรงๆ เพราะเมื่อทำต่อเนื่องไปนานๆ อาจจะทำให้รู้สึกเมื่อยและเจ็บนิ้วเร็วกว่าปรกติก็ได้
  10. ขยับตัว บิดซ้ายบิดขวาบ้าง ให้มีการหยุดพักบ้างเป็นครั้งคราว ขยับแขนขาและลำตัวเพื่อลดความเมื่อยล้าและอาการเกร็งลง หรืออาจจะเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่นบ้างเป็นช่วงๆ
  11. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแดดส่องถึงโดยตรง หรือแหล่งกำเนิดความร้อนอื่นใด เช่น ฮีตเตอร์,เตาไมโครเวฟ, เตาผิง,เตาแก๊ส,เตารีด
  12. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่เปียก มีความชื้นสูง หรือมีฝุ่นมาก หรือบนพื้นที่อ่อนนุ่ม ไม่แข็งแรง เช่นบนโซฟา,เตียง ยกเว้นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือปาล์ม
  13. ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ใต้แอร์(แอร์อาจมีน้ำหยดได้) หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถให้กำเนิดสนามแม่เหล็กแรงสูงเช่น พัดลมขนาดใหญ่, มอเตอร์ไฟฟ้า, ตู้เย็น,หม้อแปลงไฟฟ้า,ลำโพงที่ไม่ได้ชีลด์ป้องกันสนามแม่เหล็ก เป็นต้น เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นส่งสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนการทำงานของจอภาพ ทำให้จอสั่นได้
  14. ไม่ควรวางสิ่งของต่างๆบนจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะต้นกระบองเพชร เพราะอาจจะเศษดินทรายหรือมีหยดน้ำเข้าไปในจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ได้
  15. การความความสะอาดจอภาพและคอมพิวเตอร์ ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาทำความสะอาด หรือ ฟองน้ำชุบน้ำพอเปียกชื้นๆเช็ด ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาที่มีสารแอมโมเนีย เช็ด

 

12 thoughts on “คำแนะนำการใช้จอคอมพิวเตอร์เพื่อถนอมสายตา ฯลฯ”

  1. ขอเสริมนะครับ มอนิเตอร์ จะแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา ซึ่งมอนิเตอร์ทุหกตัว จะมีฟังก์ชัน Degauss ดีเกาส์ (ขจัดอำนาจแม่เหล็กให้หมดไป)ชึ่งเมื่อเลือกฟังก์ชัน Degauss แล้วจะมีคลื่นแม่เหล็กที่เป็นสีแผ่ออกมาจนหมด ทำให้ลดอาการปวดตาได้ ควรกดทุกๆ 5-10 นาที

  2. Pachara – Degauss เป็น function ในการล้างสนามแม่เหล็กที่ตกค้างในจอเนื่องจาก เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการแสดงผลที่ผิดพลาด เช่นจอสีเพี้ยน หรือจอบิดเบียวจากสนามแม่เหล็กโลก ไม่ใช่การล้างสนามแม่เหล็กที่แผ่ออกมา แล้วทำให้เกิดผลเสียต่อตาเราครับ มันคนละเรื่องกัน ส่วนใหญ่ทำ Degauss กันเดือนละครั้งเท่านั้นครับ แนะนำให้อ่านคู่มือในส่วนนี้ครับ จะมีบอกอยู่

  3. ขอบพระคุณมากคับ ขอให้ พุทธังคุ้มครอง ธัมมังปกป้อง สังฆังปลอดภัย อย่าได้เจ็บ อย่าได้จน มีอายุอย่างต่ำ 100 ปี สุดท้ายนี้ผมจะรออ่าน บทความบทใหม่นะคับ

  4. ขอบคุณค่ะ กำลังจะหาซ์้อแผ่นกรองแสงอยู่พอดี แต่พออ่านข้อแนะนำแล้ว ก็เลยคิดว่าทำให้ถูกวิธีตามคำแนะนำก่อนดีกว่า :)

  5. ขอบคุนนะคราฟ มีรัยดีดีเพิ่มขึ้นมาเยอะเรยคราฟ

Comments are closed.