จากทวีตที่ได้ทวีตไป
ผมอยากทำเว็บแนว Facebook แต่ผมมีงบ 50,000 บาท คุณพอช่วยผมได้ไหม" #อยากเอาหัวโขกข้างฝาตาย ><"
คือถ้าคุณต้องการทำเว็บแนว Social Network หรือจริงๆ ก็อะไรที่มีคนเข้าเยอะๆ หลักหมื่นหรือแสนคนต่อวันขึ้นไป มันไม่ใช่แค่คุณมีเว็บที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมมิ่งอย่างเดียวแล้วจบนะ มันมีเรื่องของการออกแบบหน้าตาของเว็บ (ซึ่งหลังๆ มืออาชีพในสายงานนี้มักจะคิดราคาแยกต่างหากกันอยู่แล้ว) และระบบ Server/Infra ที่มารองรับการใช้งานตัวเว็บซึ่งอยู่เบื้องหลังอยู่อีก
โดยต้องบอกก่อนเลยว่า ยิ่งคนเข้าเว็บที่คุณสร้างขึ้นมาเยอะเท่าไหร่ คุณก็ต้องจ่ายออกไปเป็นค่าระบบที่เอามารองรับการเข้าเว็บมากขึ้นไปด้วย นี่ยังไม่รวมค่า b/w ที่คุณต้องจ่ายให้ IDC ด้วยนะ เพราะถ้าคุณฝากตัวระบบไว้ในประเทศไทย link ระหว่างประเทศของคุณจะมีค่ามากๆ โดยราคาหลัก 1 Mbps อยู่ที่หลักหมื่นบาทหรือหลายหมื่นต่อเดือน (Link ของ IDC ต่อ inter connection)
นี่ยังไม่รวมสิ่งที่ผมมักผมเจอบ่อยๆ กับคนที่อยากได้เว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ไม่ทราบว่าต้องมีการจดชื่อเว็บ (Domain Name) และพื้นที่สำหรับฝากไฟล์เว็บที่จัดทำขึ้น (Web Hosting) ซึ่งมีค่าใช้ย้ายแบบเช่าใช้งานเป็นรายปี (หรือรายเดือน) ซึ่งเป็นราคาที่แยกต่างหากจากค่าเขียนระบบและงานออกแบบหน้าเว็บอีกด้วยนะ
ซึ่งทั้งหมดรวมกันแล้วจะมีการใช้เงินลงไปในเนื้องานอยู่พอสมควร ผมว่าคนที่เคยรับทำคงตีราคาคราวๆ ได้ว่าเท่าไหร่
จากที่บอกไป คงพอทราบภาพใหญ่ๆ แล้วว่าปรกติทำเว็บ 1 เว็บเนี่ยเรามีปัจจัยอะไรบ้าง (มันเยอะนะ แต่อันนี้ผมเอาแค่หลักๆ พอ)
แล้วเวลาผมเสนองานต่างๆ ผมคิดโครงสร้างและแบ่งส่วนงานในการเสนอราคาเป็น checklist ดังต่อไปนี้
- Data ETL.
เป็นค่าใช้จ่ายในการกรอกข้อมูลใหม่ หรือการแปลงข้อมูลเข้าระบบจากระบบหนึ่งมาที่ระบบที่พัฒนาใหม่ และรวมถึงการจัดระเบียบข้อมูลที่ลูกค้าส่งมาแล้วใส่ลงในระบบ อันนี้บางครั้งเราก็ไม่แน่ใจว่ามีข้อมูลตั้งต้นเยอะแค่ไหน บางครั้งเจอข้อมูลจำนวนมากๆ จนต้องจ้างคนมาช่วยใส่ข้อมูลให้ก็มี เพราะฉะนั้นต้องคิดถึงตรงส่วนนี้ไว้ - Translate UI
กรณีที่ระบบมีหลายภาษา ก็ต้องมีการแปลหรือจ้างคนมาแปล และในหน้า UI ก็ต้องมาไล่แก้ไขภาษากันทุกๆ String ซึ่งใช้เวลาอยู่พอสมควร - Theme and CSS Layout Design
งานออกแบบหน้าเว็บและการตัดหน้ากราฟฟิกต่างๆ ของเว็บ โดยอาจจะมีราคา Font ที่ใช้ในการทำ Theme และราคาของรูปภาพต่างๆ ที่นำมาใช้ในตัวเว็บใส่เสนอมาด้วย ซึ่งบางภาพอาจจำเป็นต้องซื้อจาก Stock Photo ต่างๆ ซึ่งทั้งราคาของ Font และ Stock Photo นั้นจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ในสื่อใดบ้าง และในส่วนรูปภาพก็ราคาตามขนาดของรูปภาพและระยะเวลาในการนำไปใช้ (ในกรณีที่ไม่ได้ซื้อขาดมาเลย) - General Implement
การ Implement ระบบ ถ้ามีการ Custom ก็เพิ่มเป็น 3.1 – 3.n ไป แต้ถ้าแยกจนเป็นระบบใหม่ ก็เป็นข้อใหญ่ 4. – N. ไปซึ่งการแก้ไขงานในส่วนนี้ก็ต้องคิดเป็นราย issue ไป รวมไปถึงการปรับเพิ่ม-ลดระยะเวลาของงานนั้น ต้องตามความเหมาะสมในการแก้ไขงาน โดยการแก้ไขงานแต่ละครั้งต้องมีขอบเขตชัดเจนและมีจำนวนครั้งจำกัดหรือกำหนดระยะเวลาในการรอการ feedback เพื่อปิด issue ไม่งั้นเจอลูกค้าลากยาวจนลืม และเป็นการกำหนดกรอบเวลาให้ลูกค้าด้วยว่าต้องใส่ใจในการส่ง feedback กลับมา - Domain Name
ชื่อเว็บ ถ้ามีอยู่แล้วก็ไม่ได้คิดเงินเพิ่ม อะไร นอกจากลูกค้าจะมีเรื่องการย้าย หรือเรื่อง support อื่นๆ ถ้าไม่ได้เยอะก็แถมๆ ไป แต่ถ้าต้องดำเนินเรื่อง หรือย้ายมาให้เราดูแลก็คิดเงินไปตามเนื้อผ้า - Web Hosting
หรืออาจจะเป็น Dedicated server, Colocation server or Cloud server อันนี้ปรกติตอนแรกก็ต้องดู scale เล็กกันก่อน แล้วค่อยไปเล่น scale ใหญ่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงาน - Training & Document
ค่าทำเอกสารคู่มือ และอบรบการใช้งานต่างๆ ตรงนี้ต้องคิด เพราะมีค่าเดินทางและค่าสอนด้วย จำไว้เสมอค่าทำระบบไม่รวมค่าทำเอกสารครับ ไม่งั้นคุณต้องใช้เวลาทำเอกสารพอๆ กับทำระบบกันเลยทีเดียว (ยิ่งมีการแก้ไขระบบก็ต้องกลับมาแก้เอกสารด้วย) - Maintenance
ค่าดูแลและแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบ ปรกติผมจะเน้นเรื่อง bug และ security เป็นหลัก ตรงนี้คิดเป็นรายปี ซึ่งไม่เกี่ยวกับ new feature ที่มันมาเพิ่มในข้อ 3. ด้านบน ตรงนี้ลูกค้าต้องจ่ายไม่อย่างนั้นก็ต้อง support ตัวเองไปหลังจากที่ระบบขึ้นไปแล้ว โดยปรกติผม Maintenance ให้แบบยังไม่คิดค่าใช้จ่ายในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยเป็นช่วงหลังจากส่งมอบงานแล้วขั้นต่ำ 1 เดือน สูงสุด 3 เดือน
อันนี้คือคราวๆ ที่ผมคิดไว้นะ ซึ่งจะเห็นว่าจะมีครบตั้งแต่ input, process, output และ maintenance ส่วนตัวแล้วคิดว่าครอบคลุมในสิ่งที่ลูกค้าส่วนใหญ่ที่รับๆ มา และบางอย่างเป็นสิ่งลูกค้านึกไม่ถึง ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่า บางอย่างไม่คิดเนี่ยขาดทุนแน่ๆ ครับ
หลายคนคงถามว่า ถ้าคิดรวมไปในราคาส่วนใดส่วนหนึ่งได้ไหม ก็ตอบว่าได้ครับ แต่ถ้าแยกแยะออกมาจะทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าลูกค้ามีค่าใช้จ่ายส่วนใดบ้างจริงๆ จะลดการตอบคำถามลงไปได้เยอะ เราจะอธิบายได้ชัดเจนมากๆ ว่าแต่ละส่วนเราทำอะไร และถ้าเค้าต้องการตัดออกจะลดค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่
2 thoughts on “ไม่รู้จะอธิบายยังไง? “สิ่งที่ควรจะมีในใบเสนอราคาตอนรับทำเว็บ””
Comments are closed.