@FordAntiTrust

Review – Lenovo ThinkPad Edge E325

DSC_9996

ผมได้รับ Lenovo ThinkPad Edge E325 มาต่อจาก Lenovo ThinkPad Edge E125 ทิ้งช่วงมาสักพักใหญ่ๆ ครับ โดยรวมแล้ว ในความคิดส่วนตัวนั้น ตัวเครื่องและวัสดุต่างๆ ไม่แตกต่างจาก ThinkPad Edge E125 เท่าไหร่นัก คล้ายๆ กับdkiขยายร่างขึ้นมามากกว่าครับ

 

แต่แน่นอนว่าสำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาอ่านในรีวิวนี้ครั้งแรกเลย คงต้องเท้าความปูพื้นก่อนว่า ThinkPad Edge Series นั้นออกแบบมาโดยที่ไม่ได้เอาทุกความสามารถของ ThinkPad Classic Series มาทั้งหมด โดยรวมนั้นถูกปรับเปลี่ยนให้ดูทันสมัยและเข้ากับแนวคิดแบบวัยรุ่นมากกว่า เนื่องจากตัว ThinkPad Edge เน้นสวย ไม่ได้อนุรักษ์นิยมแบบรุ่นพี่ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่สามารถทำให้แข็งแรงได้เท่ากับรุ่นพี่แน่ๆ ซึ่งส่วนที่แตกต่างหลักๆ คือ

โดยตัวฝาหลังของตัวเครื่องนั้นพ่นวัสดุคล้ายยางที่เป็นสีดำ โดยชื่อโดยทั่วไปนั้นถูกเรียกว่า Soft-touch Matte Finish Coating เป็น Lenovo’s signature ตัวนึงในปัจจุบัน เหตุผลเพราะต้องการให้การจับถือเครื่องนั้นไม่ลื่นหลุดมือได้ง่าย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วชอบที่มันไม่ลื่นไม่มัน ไม่มีรอยนิ้วมือ แต่ข้อเสียที่ทุกรุ่นที่ใช้แบบนี้คือมันจะหลุดลอกได้ถ้าใช้ไปนานๆ ซึ่งที่หลุดลอกออกมามันจะเป็นมันๆ แทน (ยางมันจะค่อยๆ สึกและลึกลงไปถึงวัสดุด้านในแทน) ซึ่งถ้าคิดถึงคุณสมบัติที่ได้ก็ต้องดูกันว่าชอบหรือเปล่าอีกทีครับ  
ข้อมูลของและชื่อ Soft-touch อย่างเป็นทางการคือ Polyurethane Soft-touch Coatings อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากด้านล่างครับ    
High-quality touch to plastic surfaces: polyurethane soft-touch coatings
Properties of polyurethane coatings

สำหรับรุ่นที่นำมาทดสอบนั้น ThinkPad Edge E325 เป็นตระกูลเดียวกับ ThinkPad Edge E320 ครับ โดยตัวที่ลงท้ายด้วย 0 จะเป็นรุ่นของ CPU ของ Intel ส่วนที่ลงท้ายด้วย 5 จะเป็นรุ่น CPU ของ AMD 

ThinkPad Edge E325 ตัวที่ผมนำมาทดสอบในวันนี้ เป็นรุ่นที่ใช้ CPU ของ AMD รุ่น E-450 (1.65GHz) ที่เป็นแบบ Dual Core มาพร้อม RAM จำนวน 2GB โดยให้ VGA AMD Radeon HD 6320 Shared Memory และ HDD Hitachi 5400rpm ขนาด 320GB  
จากความเร็ว CPU AMD รุ่น E-450 (1.65GHz) นั้นต้องบอกว่ายังให้คะแนนและความเร็วตอนใช้งานแพ้กับ ตัว ThinkPad Edge 11” เมื่อปีก่อน ที่ใช้ CPU ของ Intel รุ่น Intel Core Processor i3-380UM (1.33GHz) ที่เป็นแบบ Dual Core + Hyper Threading แต่ที่แพ้ในที่นี้อาจจะไม่ยุติธรรมเสียทีเดียว เพราะโดยเนื้อแท้แล้วเป็น CPU คนละระดับกัน แถมราคาก็แตกต่างกันเกือบเท่าตัว (ThinkPad Edge E325 ราคา 14,990 บาท ส่วน ThinkPad Edge 11” ราคา 22,900 บาท) หรือจะเทียบกับ ThinkPad Edge E320 ที่ขายคู่กันอยู่ในตอนนี้ก็ดูจะลำบาก เพราะราคาก็พอๆ กับ ThinkPad Edge 11” (รุ่นนี้ไม่มีจำหน่ายแล้ว) เพราะราคาเกือบจะเท่าๆ กัน  เพราะฉะนั้นตัว ThinkPad Edge E325 นั้นเป็นราคาสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ทำงานหนักหนาสาหัสและต้องการราคาย่อมเยาและจับใช้งานได้ง่าย ทนทานในระดับมากกว่ามาตรฐาน Notebook ขนาดเล็กที่ใช้จอภาพ 13” ทั่วไปเป็นหลัก

ด้านการเชื่อมต่อต่างๆ นั้นให้มาพร้อมทั้ง Gigabit Ethernet, Wireless a/b/g/n และ Bluetooth (เสียดายว่าไม่มี slot SIM Reader มาให้) 

จอภาพที่ให้มานั้น เป็น 13.3” มี LED-backlit มาให้ โดย Resolution 1366x768px สัดส่วน 16:9 ให้พื้นที่ทำงานที่ดี สำหรับการวัด Gamut RGB color space ของจอภาพของ Lenovo ThinkPad Edge E325 ที่ได้มาด้วย Spyder3Pro แล้วนั้น จอภาพเครื่องที่ได้มาทดสอบมันไม่ใช่ Wide Gamut แต่อย่างใดครับ แต่ก็ให้ขอบเขตสีแบบ Notebook ตามมาตรฐานโดยทั่วไป ดูขอบเขตการแสดงผลของสีจอภาพเทียบกับ sRGB และ AdobeRGB ได้จาก Chart ด้านบนครับ

ด้านบนจอภาพมีกล้อง Webcam 720p HD camera พร้อมไมค์ในตัว ให้พร้อมสำหรับใช้งานด้าน Video Conference ได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ อีก โดยที่ขอบขอด้านบนนั้นเนียนเรียบและไม่มีที่เกี่ยวจอให้ยึดติดกับที่วางมือแต่อย่าใด ใช้แม่เหล็กในการดูดให้เครื่องประกบกันแทน 

ด้านขวาเริ่มด้วย Combo Jack 3.5 mm มี port eSATA และช่องต่อ HDMI มาให้ ก่อนจะถูกกั้นด้วยช่องระบายความร้อน CPU สุดท้ายเป็นช่องเสียบสายชาร์จไฟที่มีไฟแสดงสถานะการชาร์จอยู่ด้านข้างเล็กๆ

ด้านซ้ายมี 4-in-1 media card reader (SD/SDHC/SDXC/MMC) ตามด้วย Gigabit Ethernet Port 10/100/1000Mbps มาให้ โดยมี USB 2.0 ที่เป็น port ปรกติ และถัดต่อมาด้วย Always On USB 2.0 ที่สามารถตั้งค่าให้จ่ายไฟไว้ตลอดเวลาแม้ปิดเครื่อง และจ่ายไฟที่มีจำนวน mA เยอะกว่าปรกติด้วย (1,000 – 2,000 mA) ข้างๆ กันมี ช่องเสียบสาย D-Sub/VGA และ Kensington Security Slot  เป็นช่องท้ายสุด

การกางจอภาพนั้นปรับมาแนวเดียวกับ IdeaPad เลยครับ แต่การกางแบบนี้ทำให้ไม่สามารถกางได้ 180 องศาได้ครับ สาวๆ หรือวัยรุ่นคงชอบลักษณะนี้มากกว่าเพราะดูสวยและทันสมัยดีก็ได้ อันนี้แล้วแต่คนชอบครับ ส่วนความแข็งแรงของบานพับนั้น จากที่ได้ลองเปิด-ปิดอยู่บ่อยๆ ก็ไม่พบอาการล้าหรือลื่นจนน่ากลัวว่าจะทำให้ปิดไม่สนิท รวมถึงทำให้จอตั้งตรงตอนใช้งานไม่ได้ครับ 

สำหรับตัว Keyboard เป็น Chiklet Keyboard ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับ ThinkPad X1 จาก Review ไปก่อนหน้านี้ครับ (ไม่รู้ว่าตัวเดียวกันหรือเปล่า) โดยทาง Lenovo เรียกว่า Unique “Smile” Shape Keyboard โดยออกแบบมาให้มีส่วนเว้าด้านล่างของตัวคีย์ เพื่อให้เกิดช่องว่างของระยะคีย์ที่มากขึ้นเพื่อป้องกันการกดพลาด (forgiveness zone) โดยที่ตัวปุ่มเว้าลงไป เพื่อรับกับนิ้วทำให้ปลายนิ้วถูกบังคับให้อยู่ตรงกลางของตัวคีย์ระหว่างการกด ทำให้กดลงไปแล้วมั่นคงแบบเดียวกับ Classic Key เหตุที่ต้องออกแบบคีย์ใหม่เพราะต้องการลดความหนาของ Keyboard ลงอีกเล็กน้อยนั้นเอง จากที่ได้พิมพ์ทำงานแล้ว ความรู้สึกในระหว่างการพิมพ์นั้นต้องบอกเลยว่าการดีดของตัวคีย์ตอบรับตอนกด และเด้งย้อนกลับได้ดี เพราะในโครงสร้างโดยทั่วไปมีลักษณะเดียวกับ Classic Keyboard ตัวเก่า เพราะฉะนั้นจึงเป็นลักษณะของการปรับเปลี่ยนแค่ตัวปุมเพื่อให้บางลงเป็นหลักมากกว่า โดยจากการพิมพ์แล้วไม่แตกต่างจากที่ใส่ใน ThinkPad X1 เท่าไหร่นัก

สำหรับรูปแบบการจัดวางปุมนั้นตรงส่วนนี้ผมขัดใจ เล็กน้อย เพราะจัดวางในส่วนของปุ่ม PrtSc, PgUp และ PgDn ด้านล่างแทนที่ปุ่ม Windows Menu และ Back/Forward แทน เหตุผลนั้น ผมคิดว่า Lenovo มองว่าไม่ค่อยมีคนใช้ เลยเอามาแทรกแทนที่ เพื่อให้แถวของปุ่ม Function Key ด้านบนนั้นยังคงความใหญ่ของปุ่มให้ได้มากที่สุด แต่พอดีว่าผมใช้งาน Back/Forward เลยไม่ค่อยคุ้นเท่าไหร่ (เหตุผลส่วนตัว)

สำหรับ ปุ่ม Fn และ Ctrl ที่มีข้อกังขานั้น สามารถปรับสลับกันได้ในผ่าน BIOS ได้ทันที (ใช้รูปแบบนี้มาใน ThinkPad รุ่นเก่าๆ สัก 2 ปีมานี้แล้ว) สำหรับคนที่ชอบให้ Ctrl อยู่ด้านซ้ายสุดแทน เป็นความยืดหยุ่นสำหรับคนที่เคยชินกับยี่ห้ออื่นๆ มาใช้เครื่องเรา

สำหรับตัว Touch Pad นั้น Lenovo ให้ชื่อ Touch Pad นี้ว่า Texturized Multi-touch Trackpad โดยพื้นผิวเป็นแบบพื้นผิวขรุขระ (ใส่มาครั้งแรกใน ThinkPad T400s) เพื่อเพิ่มสัมผัสในการหยุดและการสัมผัสที่ดีกว่า โดยที่สัดส่วนนั้นเป็นแบบ 16:9 แบบเดียวกับจอภาพที่มาพร้อม Buttonless ในตัว ใช้งาน Multi-touch ได้ทันที โดยผมต้องบอกว่าใน ThinkPad Edge E325 นั้นมีขนาดใหญ่และใช้งานสะดวกดี

แบตฯ เป็นแบบสไลด์จากด้านหลังเครื่องออกมาครับ ทำให้เราสามารถเพิ่มการใส่แบตจาก 6 cell เป็น 3 cell ได้ ตัวแบตจะแบนและราบมากกว่าที่เห็นในภาพครับ แต่อายุการใช้งานแบตก็สั้นลงด้วยเช่นกัน

มีช่องเผื่อสำหรับ SIM Card Reader ไว้ด้วย แต่ว่าตัวเครื่องที่ผมได้เอามาทดสอบไม่มีมาให้ครับ อาจจะต้องซื้อเพิ่มถ้าต้องการใช้งานจริงๆ

ด้านล่างตัวเครื่องนั้นเรียบๆ โล่งๆ ครับไขน๊อต 3 ตัวก็เปิดฝาเครื่องปรับและเปลี่ยนอะไหล่ที่ลูกค้าที่ซื้อไปเปลี่ยนเองได้ทันทีครับ ซึ่งเจ้าตัวฝาด้านล่างเมื่อเปิดออกมาเป็นนั้น เป็นโลหะอลูมิเนียม ไม่ใช่พลาสติกแต่อย่างใด ทำให้ไม่อมความร้อน และยังระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย

เมื่อเปิดมาเราจะสามารถเพิ่มเติม หรือปรับเปลี่ยนอะไหล่ต่างๆ ได้

 

 

  

 

สิ่งที่ผมแปลกใจอย่างก็คือผมหา Mini PCI-express ที่น่าจะมีให้ผมใส่เข้าไปเพิ่มได้อีก 1 slot ไม่เจอ ไม่แน่ใจว่ารุ่นที่ขายจริงจะมีมาให้หรือเปล่า ซึ่งจะอยู่ที่มุมบนขวามือตรงท้ายเครื่องครับ ซึ่งถ้ามีเราอาจจะใส่ SSD แบบ mSATA ลงไป หรือ WWAN Card ได้ แต่ถ้าเป็น WWAN Card อาจจะต้องซื้อ WWAN Atenna และ SIM Card Reader เพิ่มเติม ซึ่งผมมองว่าควรใส่ SSD SATA ดูจะคุ้มค่ากว่า 

ช่อง SODIMM ใส่ RAM ที่เหลืออีก 1 slot ใส่เพิ่มเติมได้ทันที

พัดลมระบายความร้อนจาก CPU และ GPU ด้านที่มุมบนขวามือ (วางเครื่องตอนใช้งานจริง) พอใช้งานจริงๆ อาจจะร้อนมือได้ ตรงนี้อาจจำเป็นต้องดูว่ายอมรับได้แค่ไหน

สิ่งที่น่าจะทำให้หลายๆ คนคิดหนักก็คือ HDD Internal 2.5” แบบความหนา 7mm นั้นเองครับ เพราะหาซื้อยากในบ้านเรามากครับ หลายๆ คนก็เอาไปเปลี่ยนใส่ SSD แทนก็มี แล้วก็เปลือย SSD เอาแทน ก็ยังไหว

กล่าวโดยสรุป

โน๊ตบุ๊ครูปลักษณ์ปานกลางอาจจะไม่เล็กกะทัดรัดมาก แต่ก็ถือว่าพกพาง่าย มาพร้อมกับจอภาพขนาด 13 นิ้ว หน่วยประมวลผลที่กินไฟต่ำอย่าง AMD Brazos และคุณสมบัติที่ได้จากพี่ใหญ่ในตระกูล ThinkPad รุ่นดั้งเดิมบางส่วน ทำให้โน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ได้ทั้งความทนทาน การทำงานที่คล่องตัว การออกแบบที่สวยงาม ในราคาไม่แพง เหมาะกับงานเอกสารทางธุรกิจ พกพาไปนำเสนองานตามที่ต่างๆ และความบันเทิงแบบเคลื่อนที่ได้อย่างสบายๆ 

ประทับใจ

ไม่ประทับใจ

ขอบคุณ Lenovo Thailand สำหรับ Lenovo ThinkPad Edge E325 ที่นำมาให้เราทดสอบกันในครั้งนี้ครับ

ราคาขายในไทย ณ.วันที่ 20 กันยายน 2554 อยู่ที่ 14,990 บาท (ราคารวม VAT 7% แล้ว)

Lenovo ThinkPad Edge E325: Review Tech Spec

บทความ รูปและเนื้อหานี้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดทำหากต้องการนำไปใช้งานกรุณาติดต่อผู้จัดทำเนื้อหาก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่
รายการเว็บด้านล่างนี้คือเว็บที่เราให้นำบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อได้      

ย้ำอีกครั้ง “หากต้องการนำไปเผยแพร่ต่อ กรุณาติดต่อผู้จัดทำเนื้อหาก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่ต่อไป”

Exit mobile version