@FordAntiTrust

Review – Lenovo ThinkPad X1

ทิ้งช่วงไปนานนับจาก สัมผัสแรก Lenovo ThinkPad X1 จากงาน ThinkPad X1 "Truly In A Class Of Its Own" อยู่นานเลยทีเดียวครับสำหรับ Review ตัวนี้

สำหรับ Lenovo ThinkPad X Series นั้น ในปัจจุบันนั้นแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ เลยคือตัว

ซึง ThinkPad X300 นั้นเป็นจอภาพ 13.1” เน้นความบางแต่แข็งแรงมากๆ โดนเน้นว่าต้องเบาแบบ X200 Series สิ่งที่โดดเด่นมากที่สุดคือมาพร้อมกับ Optical Drive ซึ่งเป็น Sub Series ที่แตกต่างที่สุดใน ThinkPad X Series ที่ใส่ Optical Drive มาให้ แต่สุดท้ายแล้วความต้องการของตลาด Notebook เบาและบางที่ไร้ซึ่ง Optical Drive นั้น ได้แสดงให้เห็นว่า Optical Drive ไม่จำเป็นกับตลาดนี้ เราจึงได้เห็น สิ่งเหล่านี้ใน ThinkPad X1 แทน

เหตุที่ตั้งชื่อเป็น ThinkPad X1 เพื่อลดความสับสนของ X300 ที่มี Optical Drive และให้ความหมายของ Exclusive Series อันดับ 1 ในตำแหน่ง Flagship ของ Series นี้นั้นเอง

  

สิ่งแรกที่สัมผัสได้เมื่อนำมาใช้งานจริงจังคือ เบา เบากว่า ThinkPad X220 เสียอีก แต่ว่าเบาที่ว่านั้นมาพร้อมกับความแน่นของงานประกอบครับ ส่วนนี้อาจจะต้องมาสัมผัสกันเองเล็กน้อย เมื่อนำมาวางทำงานแล้วนั้นตัวเครื่องไล่ระดับจากหนาสุดไปบางสุด เอียงลาดเล็กน้อยทำให้พิมพ์ถนัดใช้ได้ครับ

ตัวเครื่องมาพร้อมกับ Intel Core i5 2520M และหน่วยความจำ DDR3 SDRAM 1,333Mhz ขนาด 4GB โดยติดตั้งบนระบบปฎิบัติการ Microsoft Windows7 Professional 64-bit เพื่อพร้อมสำหรับขนาดหน่วยความจำให้ได้มากขึ้นในอนาคต เพราะในปัจจุบันนี้หน่วยความจำ 4GB ถือเป็นมาตรฐานของตลาด Notebook ทั้งระดับล่างถึงระดับบนไปหมดแล้ว

คะแนน Windows Experience Index นั้นดูจะไปตันๆ ที่ Graphic Card เพราะใช้ Mobile Intel QM67 Express (Sandy Bridge Family) ซึ่งก็จะใช้ Graphic Card บนตัว Chipset เป็นหลักไปเลย ทำให้คะแนนโดยรวมมาตันๆ ที่ Graphic Card แทน แต่ส่วนของ Primary Hard Disk นั้นคะแนนทะลุความแรงของ CPU ไปเสียอีก

ต้นเหตุของคะแนนทะลุความแรงของ Primary Hard Disk ก็คือ Mini PCI-Express SSD (mSATA) 80GB (SSDMAEMC080G2L) ของ Intel ที่ให้มาในเครื่อง ทำให้คะแนนั้นสูงมากนั้นเอง

ฝาหลังพ่นวัสดุคล้ายยางที่ใช้ชื่อว่า Soft-touch Matte Finish Coating เป็น Lenovo’s signature ตัวนึงในปัจจุบัน เหตุผลเพราะต้องการให้การจับถือเครื่องนั้นไม่ลื่นหลุดมือได้ง่าย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วชอบที่มันไม่ลื่นไม่มัน ไม่มีรอยนิ้วมือ แต่ข้อเสียที่ทุกรุ่นที่ใช้แบบนี้คือมันจะหลุดลอกได้ถ้าใช้ไปนานๆ ซึ่งที่หลุดลอกออกมามันจะเป็นมันๆ แทน (ยางมันจะค่อยๆ สึกและลึกลงไปถึงวัสดุด้านในแทน) ซึ่งถ้าคิดถึงคุณสมบัติที่ได้ก็ต้องดูกันว่าชอบหรือเปล่าอีกทีนึงครับ

ข้อมูลของและชื่อ Soft-touch อย่างเป็นทางการคือ Polyurethane Soft-touch Coatings อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากด้านล่างครับ
High-quality touch to plastic surfaces: polyurethane soft-touch coatings
Properties of polyurethane coatings

ความบางของตัวเครื่องเมื่อเทียบกับ Apple iPod Touch 4 นั้นอาจจะดูไม่บาง แต่ถ้าดูที่ตัวจอภาพเทียบกับตัวเครื่อง iPod ก็พอจะกะๆ ได้ว่าบางในระดับที่ดี จริงๆ โดยส่วนตัวน่าจะบางได้มากกว่านี้อีกนะ ซึ่งสอบถามจากคนที่ใช้ ThinkPad X301 มาก่อนแล้วนั้นบอกว่าหนากว่าเดิมเล็กน้อยและขนาดตัวเครื่องใหญ่กว่าเดิมอยู่นิดหน่อยด้วยซ้ำไป อาจจะผิดหวังสำหรับคนที่อยากได้เครื่องบางและเล็กกว่านี้

 

ลำโพงนั้นหลบมุมไปด้านข้างของทั้งสองด้าน เสียงที่ได้ก็ธรรมดาทั่วไปครับ ไม่มีอะไรพิเศษเท่าไหร่ เพราะลำโพงมันเล็กอันนี้ต้องทำใจครับ แม้จะใส่ High Definition Dolby Home Theater v4 มาให้ คิดว่าคงต้องต่อออกลำโพงแยกคงให้เสียงที่ดีกว่านี้

สำหรับระบบระบายความร้อนนั้น Lenovo บอกว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพระบายความร้อนของ ThinkPad นั้นเป็นอันดับต้นๆ ของตลาด Notebook คือเทคโนโลยี Owl wing reduce noise fan ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น Super low-noise cooling ที่สามารถช่วยลดเสียงของพัดลมเมื่อเทียบกับพัดลมทั่วไปลงได้ 3~5dBA เลยทีเดียวครับ อันนี้คนใช้ ThinkPad อยู่ก่อนแล้วจะทราบดีว่าเงียบและระบายความร้อนได้ดีเพียงไหน

 

ด้านซ้ายมีส่วนของที่ระบายความร้อน ช่องต่อ Combo Microphone Headphone Jack 3.5 mm และ USB 2.0 ติอย่างเดียวคือไม่น่าจะเป็นช่องที่มีแผ่นยางมาปิดทับ ดูแกะกะไปหน่อยครับ

ด้านขวามีสวิตซ์เปิด-ปิด All-in-One Wireless Connection, ลำโพง และ Card Reader แบบ 4 in 1 (SD, SDHC, SDXC, MMC)

 

พวก Port ต่างๆ เหมือนย้ายมาด้านหลังเกือบหมด เพราะรุ่นนี้ไม่มีแบตแบบถอดได้เองเลยย้ายมาด้านหลังเกือบหมดเลยนั้นเอง

ด้านซ้ายมาก็ Gigabit Ethernet, ช่องใส่ SIM Card, USB 3.0, HDMI, Mini Display Port, e-SATA, Adapter port และ Kensington Security Slot

ส่วนที่หน้าสนใจคือเจ้า Adapter port นี่จะเห็นว่ามีไฟอยู่ด้านข้างๆ เล็กเป็นเป็นไฟสถานะไว้ให้ ซึ่งยังไม่เคยเห็นในรุ่นอื่นๆ คิดว่าต่อไปคงจะเป็นแบบนี้หมดแน่ๆ

สำหรับ e-SATA นั้นเป็นแบบ Combo USB 2.0 ในตัวครับ สามารถใช้กับ HDD e-SATA แบบที่ต้องใช้ไฟเลี้ยงจาก USB ได้ทันทีเลย หรือถ้าใครไม่มี e-SATA ก็สามารถใช้ port นี้แทน USB 2.0 ได้อีก 1 port ครับ แต่การมี e-SATA มาให้ทำให้เราใช้ External HDD ที่มี port e-SATA เชื่อมต่อโดยตรงแล้วได้ความเร็วเท่ากับ Internal HDD ทันทีครับ ทำให้เราขยายขีดการเก็บข้อมูลและการทำงานได้บน External HDD โดยไม่ต้อง copy ไฟล์ไปๆ มาๆ บน Internal HDD (หรือ SSD) ครับ

ด้านล่างเครื่องเรียบ ไม่มีช่องถอดอะไร มีแต่ช่องไขควงเท่านั้น เอาไว้ถอดด้านบนเพื่อเปลี่ยน RAM, HDD และอุปกรณ์อื่นๆ ภายในแทนครับ สำหรับตัวแบตฯ นั้นทาง Lenovo บอกว่าสามารถเปลี่ยนเองได้โดยเป็นแบตเฉพาะที่ซื้อมาเปลี่ยนเองโดยบอกว่าแบตที่ใส่มาให้นั้นเป็นแบบ 1,000 full charge cycle ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน (เกือบๆ 3 ปี)

ส่วนที่ทดสอบแล้วประทับใจคือ RapidCharge คือระบบชาร์จไฟแบบด่วนสามารถชาร์จไฟเข้าแบตฯ ให้ได้ 80% ภายใน 30 นาที ที่เดี่ยวนี้อุปกรณ์พกพาเล็กๆ หรือมือถือบางรุ่นทำได้ ทาง Lenovo ก็นำมาใส่ใน ThinkPad X1 เช่นกันครับ สำหรับคนที่ลืมชาร์จแบตบ่อยๆ ใช้ตัวนี้แล้วน่าจะประทับใจ ไม่ต้องรอชาร์จแบตกัน 2-3 ชั่วโมงอีกต่อไป

 

 

 

 

สำหรับส่วนที่เป็นตัวชูโรงอีกตัวคือ บานพับของตัวเครื่องที่เลื่องลือมีชื่อเสียงของ ThinkPad และ Gorilla Glass ที่มาปิดไว้ด้านหน้าจอภาพอีกชั้นเพื่อป้องกันรอยขีดข่วนที่เกิดกับจอภาพได้ง่าย

บานพับนั้นแข็งแรงทนทานแน่นอนโดนมีพลาสติกสีดำครอบไว้ด้านนอกอีกชั้นให้ดูกลมกลื่น แต่ความแข็งแรงยังดีอยู่ สามารถกางได้ 180 องศาอย่างสะดวกคับ

สิ่งที่คล้ายกับ ThinkPad X220 และ ThinkPad Edge 11” ก็คือไม่มีตะขอเกี่ยวจอกับตัวฝาพักมือให้เห็นแล้ว ใช้แม่เหล็กเพื่อดูดให้ที่พักมือกับจอภาพประกบกันอยู่ตลอดเวลาที่ปิดฝากลงมา และไม่มี Think Light ให้เห็นด้วย

เจ้าตัว Gorilla Glass นี่ถ้าพูดถึงความแข็งแรงคงไม่ต้องพูดถึง เพราะเอาของแข็งๆ มาเคาะกะให้เกิดรอยก็ไม่มีรอยเลย และไม่แตกง่ายอีกต่างหาก แต่ข้อเสียก็คือสะท้อนแสงใช้ได้เลย ทำให้ต้องใช้จอภาพที่มีความสว่างมากกว่าปรกติถึง 350 NITS เลยครับ เพราะเอาไว้สู้กับแสงสะท้อนแน่ๆ

จอภาพที่ให้มานั้น เป็น 13.3” มี LED-backlit มาให้ โดย Resolution 1366x768px สัดส่วน 16:9 ให้พื้นที่ทำงานที่ดี สำหรับการวัด Gamut RGB color space ของจอภาพของ Lenovo ThinkPad X1 ที่ได้มาด้วย Spyder3Pro แล้วนั้น จอภาพเครื่องที่ได้มาทดสอบมันไม่ใช่ Wide Gamut แต่อย่างใดครับ แต่ก็ให้ขอบเขตสีแบบ Notebook ตามมาตรฐานโดยทั่วไป

ดูขอบเขตการแสดงผลของสีจอภาพเทียบกับ sRGB และ AdobeRGB ได้จาก Chart ด้านบนครับ

ด้านบนจอภาพมีกล้อง Webcam 720p HD Low-light sensitive camera  พร้อมไมค์ในตัว ให้พร้อมสำหรับใช้งานด้าน Video Conference ได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ อีก

 

 

สำหรับตัว Keyboard นั้นถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็คือ Chiklet Keyboard แต่ทาง Lenovo เรียกว่า Unique “Smile” Shape Keyboard โดยออกแบบมาให้มีส่วนเว้าด้านล่างของตัวคีย์ เพื่อให้เกิดช่องว่างของระยะคีย์ที่มากขึ้นเพื่อป้องกันการกดพลาด (forgiveness zone) โดยที่ตัวปุ่มเว้าลงไป เพื่อรับกับนิ้วทำให้ปลายนิ้วถูกบังคับให้อยู่ตรงกลางของตัวคีย์ระหว่างการกด ทำให้กดลงไปแล้วมั่นคงแบบเดียวกับ Classic Key เหตุที่ต้องออกแบบคีย์ใหม่เพราะต้องการลดความหนาของ Keyboard ลงอีกเล็กน้อยนั้นเอง จากที่ได้พิมพ์ทำงานแล้ว ความรู้สึกในระหว่างการพิมพ์นั้นต้องบอกเลยว่าการดีดของตัวคีย์ตอบรับตอนกดและเด้งย้อนกลับได้ดี เพราะในโครงสร้างโดยทั่วไปมีลักษณะเดียวกับ Classic Keyboard ตัวเก่า เพราะฉะนั้นจึงเป็นลักษะของการปรับเปลี่ยนแค่ตัวปุมเพื่อให้บางลงเป็นหลักมากกว่า

สำหรับรูปแบบการจัดวางปุมนั้นตรงส่วนนี้ผมขัดใจเล็กน้อย เพราะจัดวางในส่วนของปุ่ม PrtSc, PgUp และ PgDn ด้านล่างแทนที่ปุ่ม Windows Menu และ Back/Forward แทน เหตุผลนั้น ผมคิดว่า Lenovo มองว่าไม่ค่อยมีคนใช้ เลยเอามาแทรกแทนที่ เพื่อให้แถวของปุ่ม Function Key ด้านบนนั้นยังคงความใหญ่ของปุ่มให้ได้มากที่สุด แต่พอดีว่าผมใช้งาน Back/Forward เลยไม่ค่อยคุ้นเท่าไหร่ (เหตุผลส่วนตัว)

สำหรับปุ่ม Fn และ Ctrl ที่มีข้อกังขานั้น สามารถปรับสลับกันได้ในผ่าน BIOS ได้ทันที (ใช้รูปแบบนี้มาใน ThinkPad รุ่นเก่าๆ สัก 2 ปีมานี้แล้ว) สำหรับคนที่ชอบให้ Ctrl อยู่ด้านซ้ายสุดแทน เป็นความยืนหยุ่นสำหรับคนที่เคยชินกับยนี่ห้ออื่นๆ มาใช้เครื่องเรา

สำหรับตัว Touch Pad นั้น Lenovo ให้ชื่อ Touch Pad นี้ว่า Texturized Multi-touch Trackpad ต้องบอกว่าใหญ่ใช้ได้ โดยพื้นผิวเป็นแบบพื้นผิวขรุขระ (ใส่มาครั้งแรกใน ThinkPad T400s) เพื่อเพิ่มสัมผัสในการหยุดและการสัมผัสที่ดีกว่า โดยที่สัดส่วนนั้นเป็นแบบ 16:9 แบบเดียวกับจอภาพที่มาพร้อม Buttonless ในตัว ใช้งาน Multi-touch ได้ทันที

สำหรับปุ่มเพิ่มลดระดับเสียง สวิตซ์ปิด-เปิดเครื่อง, ปุ่ม ThinkVantage, ปุ่มปรับระดับเสียง, ปุ่มปิด-เปิดไมค์และเสียง อยู่ด้านขวามือแทนด้านบน อาจจะเพราะต้องการให้ตรงที่ Palm Rest มีพื้นที่เยอะๆ เพื่อใส่ Touch Pad ขนาดใหญ่ให้ได้มากที่สุด

ข้อกังขาอย่างนึงของ Keyboard ในตัว ThinkPad X1 ก็คือมันป้องกันน้ำและมีช่องระบายน้ำเหมือน ThinkPad Classic Keyboard หรือไม่ คำตอบคือ “มี” โดยมีช่องระบายน้ำให้ด้านล่างและมีส่วนของฉนวนกันน้ำหลุดลงไปด้านล่าง ที่ M/B ของเครื่องอยู่ รองรับน้ำและระบายน้ำที่หกลง Keyboard ได้จำนวนึงก่อนจะรองรับและระบายไม่ไหวครับ

ส่วนที่หลายๆ คนที่ใช้ ThinkPad คงรู้จัก Think Light กันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนที่ทำงานในที่แสงน้อยเป็นประจำ มาใน ThinkPad X1 มาพร้อมกับ Backlit Keyboard จากการพูดคุยกับทาง Lenovo เมื่อปีก่อน การทำ Backlit Keyboard และกันน้ำได้ด้วยนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทดสอบให้แน่ใจและมีราคาสูง เพราะมีระบบไฟอยู่ที่ Keyboard ด้วยการทำฉนวนกันน้ำไม่ดี อาจทำให้ Keyboard ช็อตและทำให้ส่วนอื่นๆ เสียหายไปด้วย การใช้ไฟแบบ Think Light จึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ตรงไปตรงมา และมีประสิทธิภาพที่ดี รวมถึงต้นทุนและราคาของ Keyboard ไม่แพงอีกด้วย (ถ้าใครเคยทำ Keyboard เสียคงเข้าใจว่าราคา Keyboard ของ Notebook ThinkPad ราคาไม่แพง) ซึ่งแน่นอนว่ามาใน ThinkPad X1 จึงมีมาให้พร้อม เพราะราคาตัวเครื่องโดยรวมที่แพงและเป็นตลาดที่ Lenovo วางไว้อยู่ในระดับบนทำให้ใส่มาได้อย่างเต็มที่

 

 

แกะเครื่องกันดีกว่า รอบนี้แกะเท่าที่จะทำได้ครับ เอาแค่คียืบอรืดดมาก็พอ เพราะส่วนใหญ่ก็แกะกันแค่นี้แหละครับ

ด้านในนั้นเปิดมาจะเจอกับ Magnesium Roll Cages คลุมทั้งตัว M/B และส่วนประกอบสำคัญต่างๆ ทั้งหมดครับ นี่เป็นความลับที่ทำให้เครื่องนี้ตกจากวามสูงประมาณตึก 2-3 ชั้นแล้วไม่พัง เป็นเหตุที่ทำไมถึงทำให้บางกว่านี้ไม่ได้นั้นเอง
Youtube: Lenovo ThinkPad X1 laptop gets dropped from ceiling

ด้วยชุดแผงระบายความร้อนขนาดไม่ใหญ่มาก พัดลมระบายความร้อนแบบ Owl wing reduce noise fan ทำให้การระบายความร้อนนั้นทำได้เงียบและมีประสิทธิภาพครับ แต่ด้วยเครื่องนั้นบางมี Magnesium Roll Cages ทำให้ส่วนประกอบต่างๆ อยู่ชิดติดกันเยอะกว่าปรกติ ทำให้ใช้ไปนานๆ มี Full Load เยอะๆ ก็ร้อนด้านล่างเครื่องอยู่บ้างครับ

สำหรับคนที่ต้องการ upgrade หน่วยความจำนั้นตัวเครื่องมี SODIMM Slot มาให้เพียง 1 ช่องเท่านั้นครับ ตรงนี้อาจจะต้องทำใจเสียหน่อย สำหรับคนที่ต้องการ upgrade เพิ่มเติม

 

ส่วนที่ผมชอบก็คือ เครื่องทดสอบใส่ Intel Mini PCI-Express SSD (mSATA) 80GB (SSDMAEMC080G2L) มาให้เลย เป็น SSD Drive แบบช่องต่อ mSATA ที่เสียบกับช่อง mini PCI-Express บน M/B ทำให้เรามีพื้นที่สำหรับใส่ SSD/HDD 1.8” e-SATA ได้อีก 1 ช่อง ซึ่งในรูปจะเห็นว่ามีช่องโล่งๆ อยู่นั้นแหละครับ

แต่ถ้าใครอยากใช้ WWAN เพื่อต่อ Internet แบบ 3G ก็ต้องถอด SSD ตัวนี้ออกแล้วใส่ WWAN Card ลงไปแทน และเปลี่ยนมาใช้ HDD แบบ 1.8” แทนครับ (อันนี้ต้องเลือกแล้วหล่ะครับ)

กล่าวโดยสรุป 

Lenovo ThinkPad X1 ถือเป็น Notebook สำหรับคนที่ต้องการความทนทาน เบาและบางที่สุด ในตำแหน่งสินค้าระดับบนของแบรนด์ ThinkPad ที่ใส่เทคโนโลยีล่าสุดเท่าที่จะมีในเวลานี้ โดยยังคงคุณสมบัติดั่งเดิมส่วนใหญ่ไว้ในรุ่น Classic ให้ได้มากที่สุด

จากคุณสมบัติและการออกแบบตัว ThinkPad X1 อาจจะเห็นแนวโน้มของคุณสมบัติหลายๆ ส่วนที่จะถูกจับมาใส่ไว้ใน ThinkPad Classic ในอนาคตนี้อยู่หลายๆ ตัวด้วยเช่นกัน ซึ่งจากการได้ลองใช้งานอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ต้องบอกว่าสะดวกสบายในการเปิดและทำงานได้ตลอดเวลาเพราะ SSD ที่ทำงานได้รวดเร็วและไม่ต้องกังวัลเรื่องการแตกหักของจอภาพและเครื่องแต่อย่างใด

ประทับใจ

ไม่ประทับใจ

ขอบคุณ Lenovo Thailand สำหรับ Lenovo ThinkPad X1 ที่นำมาให้เราทดสอบกันในครั้งนี้ครับ  
เยี่ยมชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Lenovo ThinkPad X1 Official Site

Lenovo ThinkPad X1 : Review Tech Spec

บทความ รูปและเนื้อหานี้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดทำหากต้องการนำไปใช้งานกรุณาติดต่อผู้จัดทำเนื้อหาก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่
รายการเว็บด้านล่างนี้คือเว็บที่เราให้นำบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อได้ 

ย้ำอีกครั้ง “หากต้องการนำไปเผยแพร่ต่อ กรุณาติดต่อผู้จัดทำเนื้อหาก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่ต่อไป”

Exit mobile version