รูปแบบของ Tablet เบื้องต้นที่ควรรู้?

เป็นเนื้อหาพื้นๆ ครับ (หลายคนรู้แล้วก็ปล่อยผ่านไป)

  • Tablet PC นั้นต่างจาก Desktop PC, Notebook PC และ Smartphone ตรงที่ใช้จอภาพแบบ Touchscreen ในการสั่งงานและป้อนข้อมูลเป็นหลัก โดยอาจจะใช้ Virtual keyboards สำหรับป้อนข้อมูลแทน Keyboard ปรกติ หรือใช้ handwriting recognition แปลงการเขียนลายเส้นแทน Keyboard ก็ได้ ซึ่งนำมาใช้ทำงานในเชิงทดแทนคอมพิวเตอร์มากกว่าโทรศัพท์ (แม้บางรุ่นจะโทรศัพท์ได้ แต่ไม่ใช่จุดประสงค์หลักในการใช้งาน)
  • Tablet PC ในปัจจุบันแบ่งเป็นสองกลุ่มหลักๆ ในการป้อนข้อมูลคือ Pen (Stylus) Base กับ Fringer (Touch) Base เพราะงั้นจุดประสงค์ในการใช้งานต่างกัน โดยแบ่งเป็นลักษณะรูปแบบตัวเครื่องใหญ่ๆ อยู่ 3 แบบ
    1. Convertibles
    2. Multimedia Tablet
    3. Hybrids Tablet
  • Tablet PC แบบ Pen Base ในด้าน Computer Science เรียก Pen Computing ที่เป็นระดับผู้ใช้ทั่วไปนั้น รู้จักครั้งแรกในชื่อว่า Microsoft Tablet PC และคนได้รู้จักคำว่า Tablet PC ในวงกว้างตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเครื่องที่ถูกผลิตเป็นรุ่นแรกคือ HP Compaq Tablet PC ทำงานด้วย Windows XP Tablet PC Edition ในปี 2001 ในไทยดังๆ คนใช้เยอะๆ น่าจะเป็น Acer และ Fujitsu ถ้าใครจำได้ นึกดีๆ (ดักแก่ ;P)
  • Tablet PC แบบ Pen Base ออกมาหลายรูปแบบ ที่เจอกันเยอะๆ ถูกเรียกว่า Convertibles คือรูปร่างคล้าย Notebook (Laptop) โดยที่จอภาพเป็นแบบ touchscreen ใช้ stylus ในการสั่งงานแทน Mouse ได้ และจอภาพหมุนกลับด้านและใช้งานผ่านจอภาพอย่างเดียวได้โดยมี Keyboard/TouchPad สั่งงานตามปรกติด้วยเหมือน Notebook ทั่วไป

    image
    ThinkPad X220 Tablet

  • Tablet แบบ Fringer Base ที่เป็นระดับ Mass ผลิตโดย Apple โดยแย้งความคิดเรื่อง Pen Base อย่างชัดเจน และเป็นแนวทางมาตั้งแต่เปิดตัว iPhone ในปี 2007 แล้ว โดย OS ที่ถูกนำมาใช้คือ iOS (ในตอนแรกเรียก OS X) สุดท้ายก็มาจบที่ iPad จนกลายเป็นที่มาของ Multimedia Tablet โดยเน้นที่มีจอภาพขนาดใหญ่โดยไม่มี Keyboard หรือ Stylus มาเกี่ยวข้อง ใช้นิ้วของผู้ใช้ในการสั่งงานบนจอภาพ Touchscreen เป็นหลัก

    image
    iPad

  • ระหว่างนี้ก็มีการใช้ Android OS ที่อยู่บนมือถือมาจับใส่ Tablet แบบ Multimedia Tablet มากมายหลายยี่ห้อ Samsung Galaxy Tab, Toshiba Folio, Dell Streak, ViewPad 7 หรือ Motorola Xoom เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว Android OS รุ่นที่ Google บอกว่าเหมาะกับ Tablet จริงๆ จะเป็น Android 3.0 Honeycomb ถึงจะใช้งานได้อย่างดี แต่รุ่นต่ำกว่า ก็ถูกปรับแต่งให้สามารถใช้งานได้ดีพอสมควร จากผู้ผลิตเช่นกัน
    image
    image
    image
    Samsung Galaxy Tab Dell Streak Motorola Xoom
         
  • ต่อมา Microsoft ประกาศเรื่อง Slate PC (ชื่อ Mass ของ UMPC ที่เป็น Multimedia Tablet ตอนปี 2006 ที่จะใช้ Windows CE สุดท้ายก็เงียบไป) มี HP, Acer, Asus และค่ายต่างๆ นำเครื่องมาโชว์ ที่มีลักษณะคล้ายกับ iPad เหตุผลง่ายๆ เพื่อแยกความแตกต่างของ Tablet PC แบบ Convertibles ที่เป็น Pen Base ให้ชัดเจนมากขึ้น และใช้ OS แบบที่ PC ทั่วไปใช้ นั้นคือ Windows 7 นั้นเอง แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ค่อยเห็นอะไรเป็นรูปร่างเท่าไหร่ มาแป็บๆ แล้วก็หายไปจากหน้าข่าวและการพูดถึง (ประกาศก่อน iPad เสียอีก)

    image
    Asus Eee Pad EP121

  • ล่าสุดก็คงเป็น RIM ที่ออก PlayBook ซึ่งเป็น Multimedia Tablet ที่ใช้ OS ไม่เหมือนคนอื่นๆ คือ BlackBerry Tablet OS (QNX) แต่ก็มีการออกแบบมาให้รองรับ App จาก Android OS ได้ด้วย

    image

  • ต่อมาก็มีการนำแนวคิด Tablet แบบ Hybrids ที่รวมแนวคิดทั้งสองแบบคือ Slate PC/Tablet PC กับ Notebook เข้าด้วยกันอีกครั้ง ที่ฮือฮาก็คงเป็น Lenovo U1 base (ใช้คู่กับ Lenovo IdeaPad Tablet) และต่อมาก็ ASUS Eee Pad Transformer นั้นเอง แต่ ASUS ดูจะปล่อยของ และขายในวงกว้างได้ดีกว่า เล่นเอา ASUS ผลิตไม่ทันเลยทีเดียว โดยใช้ลักษณะของ Lapdock เข้ามาประกอบคู่กับตัว Multimedia Tablet แบบปรกติ ทำให้เมื่อนำมาใช้งานได้เหมือนกับ Notebook และเมื่อต้องการใช้งานในรูปแบบ Tablet ก็เพียงถอดออกจาก Lapdock ก็ใช้งานได้ทันที
    image image
    Lenovo U1 Base + IdeaPad Tablet ASUS Eee Pad Transformer (TF101)
       

ทั้งหมดเป็นคราวๆ เผื่อไว้เป็นความรู้สำหรับคนที่กำลังจะซื้อ Tablet ไว้เป็นแนวว่ามีรูปแบบไหนบ้างให้เราเลือกซื้อใช้งานกัน

การเรียนด้านคอมพิวเตอร์

ผมฟังรายการ ช่างคุยกับหมอ เป็นประจำ แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นแนว ๆ สูตินารีแพทย์ แต่บางตอนก็เป็นเรื่องการเรียนของแพทย์ ที่รายการนำมาเล่าสู่กันฟังไว้ได้อย่างน่าสนใจ แล้วประกอบกับไปอ่านใน G2K ใน blog ของ ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ แล้วอ่าน reply ของ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา) แล้วชอบมาก ๆ กับข้อส่วนนี้ครับ

  • ที่ผ่านมาในห้องเราเรียนหลักการ ทฤษฎีมากมาย  ผมเห็นด้วยครับว่าต้องเรียน  แต่เรียนเล้วต้องเปิดโลกสังคมจริงให้เขาเอาหลักการนั้น ทฤษฎีนั้นไปใช้ ไปปฏิบัติ ไปทำ ไปฝึก
  • ผมชอบหลักสูตรของแพทย์ เมื่อเรียนแล้วปีท้ายๆเป็นแพทย์ฝึกหัด (Intern) ภายใต้การดูแลของอาจารย์แพทย์  ก่อนที่จะออกไปประกอบอาชีพ
  • วิชาชีพอื่นๆก็เหมือนกัน  ต้องออกไปฝึก ไปทำ ไปปฏิบัติ จึงจะรู้ว่าชีวิตจริงนั้นเป็นอย่างไร เข้าใจเขาซะให้ลึกซึ้ง ก่อน เหมือนหมอหาข้อมูลคนไข้ แล้วบันทึก วินิจฉัย แล้วเยียวยารักษา และดูอาการต่อเนื่อง วิชาชีพอื่นก็เช่นกันต้องทำในทำนองเดียวกัน เอาหลักการไปใช้เอาทฤษฎีไปใช้ในสถานการณ์จริง จึงจะรู้ว่า หลักการนี้ ใช้ได้หรือไม่ได้ ได้มากได้น้อยอย่างไร 
  • อาชีพครูมีการฝึกการสอน  ทุกวิชาชีพต้องใช้ศิลปะควบคู่ไปกับวิชาชีพ ทราบว่าบางประเทศจะต้องออกไปปฏิบัติจริงอย่างน้อยหนึ่งปี จึงกลับมาเรียนต่อจนจบในทุกวิชาชีพ
  • การเรียนในห้อง—–>ออกไปปฏิบัติ—–>เอาบทเรียนมาแลกเปลี่ยนแล้วศึกษาค้นคว้าต่อไป นี่คือการฝึกให้คิดเป็น ทำเป็น ติดดิน และสร้างสรรค์ อยู่บนของจริงไม่ลอยละล่อง
  • ครูออกไปสอน
  • เรียนกฏหมาย ออกไปฝึกกับอัยการ นักกฏหมายข้างโรงข้างศาล สถาบันศาลต่างๆ
  • นักเกษตรออกไปอยู่กับชาวบ้านสักปีหนึ่ง
  • เภสัช ออกไปอยู่ที่โรงพยาบาล ไปเรียนสมุนไพรโบราณกับพ่อนั่นพ่อนี่ ไปเดินป่าดงหลวง ดูกวางเครือของจริงมันเป็นอย่างไรขึ้นตรงไหน ต้นตะไคร้ต้นมันเป็นอย่างไรในป่าของจริง อยู่สักปีหนึ่ง
  • นักวิศวกร  ออกไปอยู่กับโรงานต่างๆ บริษัทก่อสร้าง หน่วยงานก่อสร้างจริง ฯลฯ
  • …..ฯลฯ.  อาจารย์ก็ออกไปด้วย ไปแลกเปลีย่นกับนักศึกษา ไปแลกเปลี่ยนกับเจ้าของกิจการ ไปแลกเปลี่ยนกับลูกค้า…โอย..ข้อมูลบานตะไทที่มาจากสังคมจริง  ของจริง  ไม่ใช่สมมุติกันอยู่นั่นแหละ 10 ปีมาแล้วยังยกตัวอย่างเดิมอยู่เลย  อิอิ
  • การออกไปสนามจริงทุกสาขาวิชานั้นจะช่วยให้เกิดการถกเถียงว่าหลักการที่เรียนมากับของจริงมันไปด้วยกันได้ไหม อาจะก่อให้เกิดการสร้างหลักการใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ ทฤษฎีใหม่ๆที่มาจากฐานสังคมจริงของไทยเรา ไม่ใช่เอาแต่แปรมาจากตำราต่างประเทศ อ้างกันอยู่นั่นแหละ มิสเตอรนั่น มิสสิสนี่  ไม่เห็นอ้างพ่อบัวไลผู้ตอนผักหวานป่าได้ผล พ่อแสนผู้ทำเล้าหมูเคลื่อนที่ ไม่เห็นอ้างครูบาสุทธินันท์ …
  • เรียน—->เอาไปปฏิบัติจริง——>เรียนรู้แบบยกระดัยขึ้นไปอีกจากของจริง
  • เราจะได้เด็กที่ติดดิน ทำเป็น คิดเป็น สร้างสรรค์เป็น ดัดแปลงได้ มีความสนใจเฉพาะส่วนตัวตามความถนัดของตัวเอง
  • เราจะได้เด็กที่ยืนอยู่บนของจริง

แต่จุดหนึ่งที่ผมกลับมาย้อนดูวิธีการสอนฝั่งสาขาคอมพิวเตอร์บ้างสิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ ในส่วนของนักศึกษาแพทย์นั้นในช่วงเริ่มต้นอาจจะได้เรียนวิชาพื้นฐานต่าง ๆ เหมือน ๆ กับคณะอื่น ๆ แต่พอขึ้นปีสูง ๆ สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัคคือผู้สอนที่ มาสอนนักศึกษาแพทย์จะเป็นผู้เชียวชาญหรือแพทย์ที่ทำงานมาแล้วและคัดมาเพื่อเป็นอจารย์ที่สอนนักศึกษาแพทย์อีกทีนึง สิ่งนี้เองที่ทำให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะผู้ที่สอนนั้นมีประสบการณ์ตรงในการทำงานมาสอน ทำให้ได้แง่มุมต่าง ๆ มากมายในการทำงานจริงมาให้กับนักศึกษาเพื่อสืบทอดวิชาทางการแพทย์ต่อไป พอถึงปีท้าย ๆ ก้ต้องออกไปฝึกงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ อีก 1 ปีและกลับมาสอบทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฎี ซึ่งการออกไปฝึกงานก็เหมือนกับนักรบที่ฝึกฝีมือมาแรมปี ได้ออกศึกลองฝีมือตัวเองว่าที่ตัวเองฝึกฝนมานั้นฝีมือเกร่งกล้าแค่ไหน

พอกลับมาดูฝั่งสาขาคอมพิวเตอร์บ้าง เท่าที่ได้คุยกับเพื่อน ๆ ตัวเอง หลากหลายมหาวิทยาลัยสิ่งที่น่าตกใจคือ ผู้ที่เรียนด้านนี้แทบไม่ได้ลงมือปฎิบัติจริงกันเลย มีส่วนน้อยมาก ๆ และมักเป็นหัวหน้ากลุ่มทำงานซะมากกว่า นอกนั้นไม่ออกเงิน ก็นั่งดูกันไป  แถมด้วยบางที่ ไม่มีแม้แต่ให้นักศึกษาออกไปฝึกงาน เพื่อเผชิญหน้ากับโลกภายนอกบ้าง ว่ามันโหดร้ายยังไง โดนด่าเป็นไง อะไรแบบนั้น เอาแค่หา Lab วิจัยแบบพี่เดฟ ก็ยากเต็มทนแล้ว สำหรับในมหาวิทยาลัยในบ้านเรา พูดง่าย ๆ ก็คือเรียนเสร็จกลับบ้าน แล้วบางครั้งก็ไม่รู้ไปไหน ส่วนใหญ่ก็เลยไปเที่ยวกัน อย่างผม ไม่รู้ไปไหน นอกจากห้องสมุด หรือไม่ก็อยู่หอ (เที่ยวกับแฟนก็มีบ้าง แต่พอดีว่าเป็นเด็กเรียนด้วยกันทั้งคู่เลยก็ดีไป) นั่งเล่นเน็ต หรือไม่ก็รับงานมานั่งทำคนเดียว เพราะส่วนใหญ่เวลาเราทำงานด้วยแล้ว บางครั้งไม่ได้ดั่งใจอ่ะ -_-‘ (พูดตรง ๆ ) แค่ present หน้าชั้นเรียนตอนทำงานส่งผมก็ต้องนั่งเตรียม keynote เอง เอกสารทุกอย่างทำเอง เพราะจัดรูปแบบเอกสารไม่มีการวางแผนเลย ใช้ Style ใน Word Processer ยังไม่เป็นเลย ตอนหลัง ๆ ผมทำ LateX ซะเลยหมดเรื่องช้าหน่อย แต่มั่นใจได้เลยว่าสวยงามแน่นอน แถม Keynote เนี่ยบางครั้งสิ่งที่เราจะพูดเราต้องเตรียมเอง ให้คนอื่นเตรียมมันจะมีปัญหาตามมานั้นคือนั่งอ่าน keynote เอาแล้วพ่นออกมา เพราะว่าเราไม่ได้ทำเอง (หรือไม่ก็ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย อ่านที่ copy/paste) มันเลยไม่รู้ว่าจะมีอะไรโผล่มาบ้าง พอโดนอาจารย์ถามก็อึ้ง ๆ กันไปแถมด้วยความที่นักศึกษาส่วนใหญ่ที่ผมพบเจอที่เรียนในสายนี้มักจะไม่ได้ลงมือทำจริง เวลาอธิบายก็อธิบายแบบรู้คนเดียวคนอื่นไม่รู้ด้วย แถมเวลาผมพูดอะไรไปมักนึกภาพตามไม่ออก สิ่งที่ทำคือ กระดาษกับดินสอครับ ร่างให้อ่านกันเลย ว่ามันเชื่อมโยงกันยังไงบ้าง

ผลจากการที่ไม่ได้ทำจริง มันเลยส่งผลตอนออกมาทำงาน แถมด้วยนิสัยความที่ไม่ได้เป็นคนชอบค้นคว้า ค้นหาความรู้ เลยมีผลต่อมาว่า ถ้าเราอยากรู้เรื่องที่เราไม่รู้ จะไปหาจากที่ไหน ถ้าเดี่ยวนี้ก็ Google, Live หรือ Yahoo ปัญหาต่อมาคือ นึก keyword ไม่ออก กลายเป็นว่าหาไม่เจอ ทำไม่ได้

อีกเรื่องก็คือ ไม่มีใจในสิ่งที่เรียน ผมอาจจะเป็นคนที่โชคดีคนนึงที่เรียนในสิ่งที่ชอบ และรู้ว่าตัวเองชอบอะไร จริง ๆ แล้วต้องบอกว่าที่บ้านผม แม่ผมสนับสนุนเรื่องพวกนี้เต็มที่เลย อย่างตอนผม ม.1 ตอนนั้นผมไปซื้อวิทยุสื่อสารคลื่น 27MHz มา พอดีว่ามันพังตอนแรกก็ส่งให้เค้าซ่อม ต่อมาก็ซื้อหนังสือพวกวิทยุสื่อสารมา ในนั้นมันมีเรื่องพวกโม เครื่องให้ส่งไกล ๆ ด้วย (แต่ผิดกฎหมายนะ คลื่น 27MHz ห้ามขึ้นเสาสูงเด็ดขาด แต่ไม่รู้เดี่ยวนี้ได้หรือยัง เพราะไม่ได้เล่นมาจะ 6 ปีแล้ว) เลยสนใจด้านอิเล็คทรอนิกส์มาก ก็เลยไปซื้อพวกนักสื่อทำพวกนี้มา ซื้อชุดคิตมานั่งต่อ พวกเครื่องชาร์จแบต Ni-CD/Ni-MH (ทำให้ผมเขียนบทความเรื่องชาร์จแบตได้ไงหล่ะ เพราะผมทำเครื่องชาร์จไฟเข้าแบตมาก่อน) แล้วตอนนี้ Li-ion ยังใหม่มาก ๆ ได้แต่อ่านผ่าน ๆ เพราะตัว cell แพงมาก แต่ตัวเครื่องชาร์จไม่แพง แต่ไอ้ Ni-CD/Ni-MH เนี่ย มันถูกทั้งตัว Cell และตัวชาร์จเลย ส่วนใหญ่เอาไปใช้ในพวกวิทยุสื่อสาร (วอ) นั้นแหละ

จริง ๆ ในตอนนั้นโมเครื่องวิทยุให้มันส่งไกล ๆ แข่งกันในหมู่เพื่อนร่วมย่านความถี่ เคยส่งได้ไกลที่สุดก็ประมาณ 20 กิโลเมตรได้ จริง ๆ มีคนส่งได้ไกลกว่าเยอะนะ แต่เราเอาแค่นี้แหละ ตัว Transitor กัล IC ภาคส่ง/รับมันแพง ตัวเป็นร้อย -_-‘ แถมกดส่งที Transitor แทบไหม้ ต้องเอาตัวระบายความร้อนมายัดใส่อีก (ไม่ต่างอะไรกับ CPU เลย นึกแล้วก็ข่ำ ฮา …. )

พอทำ ๆ ไป อ่าน ๆ ไปก็สนุกดี แต่ที่ทำให้ผมทำเว็บเนี่ย ไม่ใช่ว่าผมไปอ่านหนังสือคอมฯ แล้วทำนะ ผมอ่านหนังสือวิทยุสมัครเล่นเนี่ยแหละ มันมีบทความสอนทำเว็บอยู่ เลยมานั่งเขียนใน notepad แล้วแสดงบน Netscape 3.0 เอา (ภาษา HTML ล้วนๆ) แล้วก็ลองทำไปเรื่อย ๆ บน http://www.geocities.com/SiliconValley/Garage/8818/ เนี่ยแหละ

เลยเริ่มต้นเขียนเว็บตั้งแต่ตอนนั้น จริง ๆ ผมเรียนคอมฯ ตั้งแต่ ป.5 จับคอมฯ ตั้งแต่ตอนนั้นแหละ แล้วก็เรื่อย ๆ กับมัน จน ม.1 – 2 ก็ทิ้ง ๆ ไปนิดหน่อย แต่ก็เรียนอยู่ พอเริ่มเข้า ม.3 ตอนนั้นคอมฯ ก็ ok นะแข่งกันภายในโรงเรียนก็ได้ที่ 3 มา ตอนนั้นช่วงเลือกทางเดินว่าจะไปทางไหนดี ตอนนั้นชอบด้านอิเล็คทรอนิคส์มากกว่า เลยว่าจะไปเรียนเทคนิค ซื้อใบสมัครมาแล้ว แต่จนแล้วจนรอด ก็ได้เรียนต่อ ม.ปลาย ที่โรงเรียนเดิม เพราะคุณครูศิลป์ณรงค์ (ครูสอนคอมพิวเตอร์ ตอนนั้นครับ) เค้าไม่อยากให้ไปอ่ะ เสียดายฝีมือ จริง ๆ ตอนนั้นก็ไม่ได้เก่งอะไรมาก เป็นพวกลองจนเครื่องพัง แล้วก็ซ่อม ซ่อมแล้วก็พังอีก ย้ำคิดย้ำทำจนทำได้เองอ่ะแหละ ตอนเรียน ม.ปลาย ก็ไม่ได้ตั้งใจเรียนหรอก (และก็เลิกบ้าเรื่องอิเล็คทรอนิกส์ไปเลย มาจับด้านคอมฯ แทน แล้วก็แนว ๆ เดียวกัน) คนที่เป็นเพื่อนผมตอน ม.ปลาย คงเข้าใจดีว่านอกจากผมมันจะบ้าอิเล็คทรอนิคส์แล้วเนี่ย มันยังบ้าคอมฯ อีก เข้าห้องเรียน ส่วนใหญ่จะหลับ เพราะตอนกลางคืนนั่งเล่นคอมฯ อยู่บ้าน อ่อ ลืมบอกไปว่า ผมซื้อคอมฯ เครื่องแรกตอน ม.4 ครับ ก่อนหน้านั้น อยากเล่นต้องหาที่เล่นเอง ทั้งไปเช่าร้านเน็ตนั่งเล่น (ทำเว็บตอนนั้นก็ไปเช่าตามหน้านั่งทำเว็บวันละ 1-2 ชั่วโมง) พอมีเป็นของตัวเอง คราวนี้บ้าคอมฯ เลย แล้วก็เลยมีกลุ่ม LABBOY อยู่ที่โรงเรียน กลุ่มผมจะมี 4 คนมีไอ้เอฟ (ตอนนี้จบป.ตรี Computer Sci และต่อโทอยู่ม.รังสิต), ไอ้ตง (กำลังเรียนป.ตรี Computer Sci อยู่ ม.ราม) และไอ้ทัก (ตอนนี้เป็นตำรวจอยู่ 3 จังหวัดภาคใต้ครับ ไม่รู้ว่ามันเป็นไงบ้างไม่ได้โทรหามันเลย) แล้วจริง ๆ ก่อนจบก็มีรุ่นน้องชื่อไก่ (ผู้ชายนะ) คนนึงเข้าร่วมด้วย ส่วนคนอืน ๆ ก็เข้า ๆ ออก ๆ จำชื่อไม่ได้

ห้องทำงานครูคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนเก่าครับ ตอนนั้นโคตรรกเลย

ภาพถ่ายร่วมกับเพื่อน ๆ ตอนไปแข่ง Intel Tri-Contest เขตภาคกลางครับ

เห็นภาพพวกนี้แล้วคิดถึงเพื่อน ๆ เหมือนกัน แต่ตอนนี้สนุกมาก ๆ เพราะคอเดียวกัน คุยกันอย่างมัน แบบว่าถ้าไอ้กลุ่มนี้รวมตัวมีแต่คำว่า Computer เท่านั้น ตอนนี้ก็จะ 5 ปีแล้ว ไม่ได้เจอกันพร้อม ๆ หน้ากันสักที T_T

คือตอนอยู่ที่โรงเรียนเก่าเนี่ย พวกผมจะเป็นเหมือนช่างอ่ะ เครื่องเสียพวกผมก็ช่วยซ่อม Network มีปัญหาพวกผมก็ช่วยกันทำ สาย LAN ต้องการเพิ่มพวกผมก็เข้าสายกันเอง (เป็นเหตุให้ผมเข้าสาย LAN เป็นจนทุกวันนี้) แถมออกแบบระบบ Network แบบ LAN ทั่วไปอ่ะแหละ Share-internet ภายในโรงเรียนอะไรแบบนั้น (ติดตั้ง Windows 2000 Server + ISA Server 2000 ทำ Firewall + NAT ออก internet)

แล้วยิ่งบ้าหนักเมื่อตอน ม.6 หก ตอนนั้นแทบไม่ได้เรียนเลย เพราะพวกผมมัวอยู่แต่ห้องคอมฯ ไม่ได้เข้าห้องเรียนครับ โดด ห้องคอมฯ อย่างเดียวจนครูคนอื่นเค้าก็ว่าเช้า ว่าเย็น เกรดก็ต่ำสุด ๆ แล้วมันจะ ent’ ติดไหมเนี่ย ฮา …… (สรุปมันก็ไม่ติดแหละ ฮา …… )

แต่ช่างมัน หาทางเรียน computer science จนได้แหละ แล้วก็จบออกมาแล้วเนี่ยไง

คือที่ร่ายยาวเอาประวัติพวกนี้มาเล่าเนี่ยไม่ได้อะไรหรอก เพียงแต่อยากจะบอกว่า ถ้าเรียนแล้วไม่มีใจรักมันจะไม่มีความสุขอ่ะ อย่างผมทำงานด้านคอมฯ เนี่ย ผมทำไป ผมไม่รู้สึกว่าเหนื่อยเท่าไหร่ นอกว่าเครียด ๆ เพราะงานมันกดดันนี่ก็เหนื่อย แต่ถ้าทำเรื่อย ๆ อย่าง Framework ที่ผมทำเนี่ย มันไม่เหนื่อย แต่กลับสนุกได้ทำอะไรที่มันเป็นความคิดของเราเอง ลองโน้นลองนี่ รู้สึกว่ามันได้เล่นอ่ะ (แปลกคนจริงแมะ)

พอเรารู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมันเหมือนเล่น มันก็สนุก ไม่เครียด ตอนเรียน ป.ตรี computer science ก็เหมือนกันผมก็ไม่ได้เรียนแตกต่างจากคนอื่น แถมตอนสอบ ผมก็อ่านน้อยกว่าคนอื่นด้วยซ้ำ อาจจะเพราะผมมีพื้นมาตั้งแต่ตอน ม.ต้น-ม.ปลาย ที่ได้ประสบการณ์ และการทำงานจริงมา เลยเข้าใจ และนึกภาพออก อ่อ ผมลืมบอกไปว่าตอนม.ปลาย ผมไปเป็นลูกมือร้านประกอบคอมฯ อยู่ 2-3 ร้าน รับจ้างประกอบคอมฯ เลือกเสปคให้ลูกค้า (เดี่ยวนี้ก็ยังมีคนโทรฯ มาถามเรื่องพวกนี้อยู่เลย) เลยได้พื้นพวกนี้มาด้วยมั้ง

พอเราได้ลองของจริง เยอะ ๆ ความคิดมันเลยเริ่มแตกต่างเวลาทำรายงานกับนำเสนองานหน้าชั้นเรียน อย่างตอนเรียน คนที่เรียนกับผมคงรู้ว่าผมมันพวกแปลกแยก แตกต่างจากชาวบ้าน เค้าทำด้วย Word 2000 ผมก็ใช้ OpenOffice เค้าใช้ Access เขียนโปรแกรมฐานข้อมูล ผมก็เขียน PHP ติดต่อกับ MySQL แทน อะไรแบบนั้น (บ้าไปแล้ว)

เป็นพวกพยายามหาอะไรใหม่ ๆ มาทำมากกว่ามั้ง

อีกอย่างคือ ด้วยความที่เราชอบคอมฯ มากด้วยมั้งเลยอ่านมาก ก็รู้ว่าบางอย่างเวลาเราทำแล้ว มันเอาไปใช้งานจริง ตอนเรียนจบยาก เลยหาทางเอาแนวคิดตัวเองมาใส่ในงานที่ส่งแทน

อ้าว ….. กรำ … ท่าทางผมจะออกนอกเรื่องเยอะไป (เยอะดิ เกือบครึ่ง ฮา … )

กลับมาพูดเรื่องการเรียนการสอนต่อครับ …

จากที่เล่า ๆ มาเนี่ย จะเห็นว่าถ้าคนเรียนมีใจแล้ว อะไรมันก็ง่ายขึ้นเยอะ และในกรณีการเรียนการสอนด้านคอมฯ ในไทย ที่ส่วนใหญ่อาจารย์ที่สอนมักจะมีประสบการณ์ตรงในส่วนที่ตัวเองสอนยังน้อยอยู่ ทำให้ไม่รู้จะยกตัวอย่างยังไง ให้เห็นภาพในโลกของความเป็นจริง แบบอาจารย์ของนักศึกษาแพทย์น่ะครับ (แนวนั้นนี่เห็นกันจะ ๆ ดูกันเห็น ๆ)

และผมคิดว่างานด้านคอมฯ จำเป็นที่จะต้องมีคนที่มีความสามารถในเชิงทฤษฎีและปฎิบัติ มาทำงานควบคู่กัน เก่งแค่ทฤษฎีก็ได้แค่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไปวัน ๆ เพราะว่าไม่ได้ลงมือทำ (เพราะทำไม่ได้) ส่วนเก่งแต่ปฎิบัติแต่ทฤษฎีไม่แน่นก็มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพและประยุกต์ใช้ที่แหวกแนวแตกต่างจากของเดิม ๆ ที่ทำจนชิน

คือมันต้องสมดุลกันทั้งสองด้าน น่าจะเป็นทางออกที่ดี ผมว่าคนเรียนคอมฯ รุ่นใหม่ ๆ น่าจะเปลี่ยนแนวทางจากเรียนทฤษฎี 80 ปฎิบัติ 20 มาเป็น 50:50 หรือ 40:60 ซะ คืออะไรปฎิบัติเกินครึ่ง คือเรียนแล้วต้องเอามาใช้ เหล็กมันต้องตีตอนแรกมันถึงจะแข็งแรง ทนทาน

คือะไรประมาณว่าเขียนโปรแกรมพื้น ๆ ได้ แต่เข้าใจ ดีกว่าเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่ยัก แต่แค่คัดลอกเค้ามา ผมว่ามันไม่เกิดประโยชน์เท่าไหร่ แล้วพวกโปรแกรมพื้น ๆ เนี่ยแหละ เอามาต่อยอดกันไป ๆ มา ๆ เดี่ยวมันก็ดี และใหญ่ขึ้นมาเอง น่าจะเป็นทางออกที่ดีในการเรียน การสอนครับ

ประวัติคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

  • [ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ] ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)


ลูกคิด ( Abacus)

  • [ พ.ศ. 2158 ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
  • [ พ.ศ.2173 ] วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก
  • [ พ.ศ.2185 ] เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด

Pascal’s Calculato

  • [ พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)


กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )

  • [ พ.ศ.2288 ] โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ


บัตรเจาะรู

  • [ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

    Differnce Engine
  • [ พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
  • [ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

    Atansoff


    ABC computer


    Berry

  • [ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
  • [ พ.ศ.2485-2495 ] มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงในบัตรเจาะรู

    ENIAC

  • [ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้


EDVAC
(first stored program computer)

  • [ พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )

    หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube)


    ทรานซีสเตอร์ (Transistor)

  • [ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง

    IC
  • [ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor)

    Microprocessor
  • [ พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
  • [ พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507


ก่อกำเนิด ไมโครโปรเซสเซอร์

เมื่อก่อนนั้น Intel เป็นบริษัทผลิตชิปไอซีแห่งหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนักเท่าในปัจจุบันนี้ เมื่อปี ค.ศ.1969 ได้สร้างความสะเทือน ให้กับวงการอิเล็คทรอนิคส์ โดยการออกชิปหน่วยความจำ(Memory)ขนาด 1 Kbyte มาเป็นรายแรก
บริษัทบิสซิคอมพ์(Busicomp) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขของญี่ปุ่นได้ทำการว่าจ้างให้ Intel ทำการผลิตชิปไอซี ที่บิสซิคอมพ์เป็นคนออกแบบเองที่มีจำนวน 12 ตัว โครงการนี้ถูกมอบหมายให้นาย M.E. Hoff, Jr. ซึ่งเข้าตัดสินใจที่จะใช้วิธีการออกแบบชิปแบบใหม่ โดยสร้างชิปที่ให้ถูกโปรแกรมได้ หมายถึงว่าสามารถนำเอาชุดคำสั่งของการคำนวณไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำก่อนแล้วให้ไอซีตัวนี้อ่านเข้ามาแปล ความหมาย และทำงานภายหลัง
ในปี 1971 Intel ได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Intel 4004 ในราคา 200 เหรียญสหรัฐ และเรียกชิปนี้ว่าเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ก็เพราะว่า 4004 นี้เป็น CPU (Central Processing Unit) ตัวหนึ่ง ซึ่งมีขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จำนวน 2250 ตัว และเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 4 บิต
หลังจาก 1 ปีต่อมา Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า 8008 มีชุดคำสั่ง 48 คำสั่ง และอ้างหน่วยความจำได้ 16 Kbyte ซึ่งทาง Intel หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดทางด้านชิปหน่วยความจำได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อปี 1973 ทาง Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ที่มีชุดคำสั่งพื้นฐาน 74 คำสั่งและสามารถอ้างหน่วยความจำได้ 64 Kbyte

ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของโลก

เมื่อปี 1975 มีนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง ชื่อว่า Popular Electronics ฉบับเดือน มกราคม ได้ลงบทความ เกี่ยวกับเครื่อง ไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องแรกของโลกที่มีชื่อว่า อัลแตร์ 8800 (Altair) ซึ่งทำออกมาเป็นชุดคิท โดยบริษัท MITS (Micro Insumentation And Telemetry Systems) ลักษณะของชุดคิท ก็คือ จะอยู่ในรูปของอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยให้ คุณนำไปประกอบขึ้นใช้เอง
บริษัท MITS ถูกก่อตั้งเมื่อปี 1969 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำตลาดในด้านเครื่องคิดเลข แต่การค้าชลอตัวลง ประธานบริษัท ชื่อ H. Edword Roberts เห็นการไกล คิดเปิดตลาดใหม่ซึ่งจะขายชุดคิด คอมพิวเตอร์ ประมาณเอาไว้ว่าอาจขาย ได้ในจำนวนปีล่ะประมาณ 200-300 ชุด จึงให้ทิมงานออกแบบบและพัฒนาแล้วเสร็จก่อนถึงคริสต์มาส ในปี 1974 แต่เพิ่งมา ประกาศตัวในปีถัดไป สำหรับ CPU ที่ใช้คือ 8080 และคำว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ จึงถูกเรียกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อชุดคิทคอมพิวเตอร์ชุดนี้
ชุดคิทของ อัลแตร์ นี้ประกอบด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ของบริษัท Intel มี เพาเวอร์ซัพพลาย มีแผงหน้าปัดที่ติดหลอดไฟ เป็นแถวมาให้เพื่อแสดงผล รวมถึงหน่วยความจำ 256 Byte ( แหม.. เหมือนของเล่นเราในสมัยนี้ จังงง ) นอกนั้น ยังมี สล๊อต (Slot) ให้เสียบอุปกร์อื่น ๆ เพิ่มได้ แต่ก็ทำให้ MITS ต้องผิดคาด คือ ภายใน เดือนเดียว มีจดหมายส่งเข้ามาขอสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง 4,000 ชุดเลยทีเดียว
ด้วยชิป 8080 นี่เองได้เป็นแรงดลใจให้บริษัท ดิจิตอลรีเสิร์ช (Digital Research) กำเนิดระบบปฏิบัติการ(Operating System) ที่ชื่อว่า ซีพีเอ็ม(CP/M หรือ Control Program For Microcomputer) ขึ้นมา ในขณะที่ Microsoft ยังเพิ่งออก Microsoft Basic รุ่นแรกเท่านั้นเอง

ถึงยุค Z80
เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี 1974 ได้มี วิศวกรของ Intel บางคนได้ออกมาตั้งบริษัทผลิตชิปเอง โดยมีชื่อว่า ไซล๊อก (Zilog) เนื่องจาก วิศวกรเหล่านี้ ได้มีส่วนร่ามในการผลิตชิป 8080 ด้วยจึงได้นำเอาเทคโนโลยีการผลิดนี้มาสร้างตัวใหม่ที่ดีกว่า มีชื่อว่า Z80 ยังคงเป็น ชิปขนาด 8 บิต เมื่อได้ออกสู่ตลาดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน 8080 จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายต่อหลายยี่ห้อ หันมาใช้ชิป Z80 กัน แม้แต่ซีพีเอ็ม ก็ยังถูกปรับปรุงให้มาใช้กับ Z80 นี้ด้วย *** แม้ในปัจุบันนี้ Z80 ยังคงถูกใช้งาน และนำไปใช้ ในการเรียนการสอน ไมโครโปรเซสเซอร์ ด้วย เช่น ชุดคิดหรือ Single Board Microcomputer ของ ETT, Sila เป็นต้น และ IC ตัวนี้ยังผลิตขาย อยู่ในปัจจุบัน ในราคา ไม่เกิน 100 บาท น่ะจะบอกให้)
Computer เครื่องแรกของ IBM
ในปี 1975 ไอบีเอ็ม ได้ออกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกออกมา แต่ทางไอบีเอ็มได้เรียกเครื่องนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลแบบชาญฉลาด ที่สามารถโปรแกรมได้ (Intelligent Programmable Terminal) และตั้งชื่อรุ่นว่า Model 5100 มีหน่วยความจำ 16 Kbyte แล้วยังมีตัวแปลภาษาเบสิก แบบอินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) ด้วย และมี ไดรฟ์สำหรับใส่คาร์ทิดจ์เทปในตัว แต่ก็ยังขายไม่ดีเอามาก ๆ เลย เพราะว่าตั้งราคาไว้สูงมากถึง 9,000 เหรียญสหัฐ
ในปลายปี 1980 บริษัทไอบีเอ็มได้เกิดแผนกเล็ก ๆ ขึ้นมาแผนกหนึ่งเรียกว่า Entry Systems Division ภายใต้ทีมของคนชื่อว่า ดอน เอสทริดจ์ (Don Estridge) และนักออกแบบอีก 12 คน โดยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของไอบีเอ็มโมเด็ล 5100 นั้นเอง โดยนำเอาจุดเด่นของเครื่อง ที่ขายดีมารวมไว้ในการออกแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และผลิตจำหน่ายได้ภายในปีเดียวภายใต้ชื่อว่า ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ซึ่งถูกเปิดตัวในเดือน สิหาคม ปี 1981 และยอดขายของเครื่องพีซีก็ได้พุ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอื่น ๆ จับตามอง

กำเนิด แอปเปิ้ล

ในปี 1976 หลังจาก Stephen Wozniak และ Steve Jobs ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) และได้นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขายโดยใช้ชื่อว่า Apple I ในราคา 695 เหรียญ บริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่อง Apple I ออกมาไม่มากนัก ภายในปีเดียวได้ผลิต Apple II ออกมา
และรุ่นนี้เป็นรุ่นเปิดศักราชแห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่ไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด


อ้างอิงจาก
http://www.sanambin.com
http://www.wikipedia.com